แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า ทนายจำเลยมีอำนาจ ฎีกาได้ตามใบแต่งทนายความและยื่นฎีกาในกำหนดระยะเวลา ที่ศาลอนุญาต เมื่อพิเคราะห์ฎีกาฉบับนี้โดยตลอดแล้วเห็นว่า ฎีกาข้อ 3 ตั้งแต่บรรทัด ที่ 4 ของแผ่นที่ 5 จนกระทั่งถึง แผ่นที่ 11 ด้านหน้า เป็นฎีกาเกี่ยวกับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นจำเลยย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ด้วยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและฐานพาอาวุธปืน จำคุก 2 ปี และ 1 ปี ตามลำดับคดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของ จำเลย ข้อ 4 เกี่ยวกับความผิด ต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนตามแผ่นที่ 11 ด้านหลัง จึงต้องห้าม มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จึงให้รับฎีกาของจำเลยเฉพาะข้อ 3นอกนั้นไม่รับ
จำเลยเห็นว่า ฎีกาข้อ 4 เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาตรา 288 และไม่เคยมีอาวุธปืนพยานหลักฐานตั้งแต่เอกสารและบุคคลเป็นพยานเท็จ ที่ให้การกลับไปกลับมาจนเป็นเหตุให้การรับฟังพยานของศาลคลาดเคลื่อนไปด้วยเหตุที่จำเลยไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ และพยานเบิกความไม่ถูกต้องกลับไปกลับมาไม่น่าเชื่อถือโปรดมีคำสั่งให้รับประเด็นเรื่องอาวุธปืนของจำเลยไว้พิจารณาด้วย
หมายเหตุ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 46)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490มาตรา 7,8 ทวิ วรรคหนึ่ง,72 วรรคหนึ่ง,72 ทวิ วรรคสอง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา เห็นว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการกระทำที่อุกอาจต่อหน้า สาธารณชนแสดงให้เห็นถึงลักษณะจิตใจของจำเลยที่โหดเหี้ยม ไร้มนุษยธรรมไม่คำนึงถึงชีวิตผู้อื่น และไม่หวาดหวั่นต่อ กฎหมายบ้านเมืองเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นอย่างยิ่ง สมควรลงโทษสถานหนักยิ่งกว่าผู้ที่ร่วมกระทำ ความผิดด้วยกัน ให้ประหารชีวิต ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน จำคุก 2 ปี ฐานพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 1 ปี จำเลย ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่ การพิจารณาอยู่บ้าง นับเป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกฐานฆ่าคนตาย โดยเจตนาในความผิดกระทงแรกตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52(1) และเมื่อลงโทษจำคุกจำเลยไว้ตลอดชีวิตในความผิด กระทงแรกแล้ว จึงไม่อาจรวมโทษในความผิดกระทงหลังเข้ากับโทษ ในความผิดกระทง แรกได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาเฉพาะบางข้อดังกล่าว (อันดับ 45 แผ่นที่ 2)
จำเลยจึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 46)
คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อ 4 เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง มิใช่ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายศาลชั้นต้นสั่งไม่รับ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง