คำสั่งคำร้องที่ 667/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการปรับบทลงโทษของ ศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง อันเป็นการ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219จึงไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 เห็นว่า ฎีกาของจำเลยที่ 2 ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างเด่นชัดว่าจำเลยที่ 2 รับว่า แม้ข้อเท็จจริงจะฟังอย่างที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แต่ปัญหามีว่า จำเลยที่ 2จะมีความผิดตามกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือไม่ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายหาใช่เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการปรับบทลงโทษของศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณาต่อไปด้วย
หมายเหตุ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับสำเนาคำร้องหรือไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ประกอบ 174 วรรคสอง ให้จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี คำขออื่นให้ยก สำหรับจำเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 61)
จำเลยที่ 2 จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 62)

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2มีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ และหากเห็นว่าจำเลยที่ 2กระทำผิด ตามฟ้อง ก็ขอให้ลงโทษในสถานเบาโดยให้รอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา ของจำเลยที่ 2 ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ให้ยกคำร้อง

Share