แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีนี้มีทุนทรัพย์100,000 บาท โจทก์ยื่นฎีกาในประเด็นว่า โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยได้หรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนในประเด็นเรื่องคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3มีคำพิพากษาโดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2536 แต่โจทก์เพิ่งมายื่นฎีกาในวันนี้จึงพ้นระยะเวลาฎีกาดังนั้นจึงไม่รับฎีกา คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด โจทก์เห็นว่า ฎีกาที่ว่า พยานโจทก์เพียงพอรับฟังได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์อันจะเป็นเหตุเพิกถอนการให้ได้แล้วนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฉบับลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่ได้พิพากษาตามประเด็นแห่งคดี การที่โจทก์ยื่นฎีกา คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฉบับลงวันที่ 20 กันยายน 2537 อันเป็นอุทธรณ์ฉบับที่มีคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดี โจทก์ ย่อมฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณานี้ได้ โปรดมีคำสั่ง ให้รับฎีกาโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป หมายเหตุ จำเลยยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง โจทก์ฟ้องเพิกถอนการให้ที่ดินเพราะจำเลยประพฤติเนรคุณ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นแห่งคดีเสียใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แล้วพิพากษาให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 106) โจทก์จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 107)
คำสั่ง พิเคราะห์แล้ว คดีนี้มีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกา 100,000 บาทการที่โจทก์ฎีกาในประเด็นว่า โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยได้เพราะคำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ น่าเชื่อถือกว่าพยานหลักฐานของจำเลย เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ส่วนในประเด็นเรื่องคำสั่งระหว่างพิจารณา ปรากฏว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2536 แต่โจทก์เพิ่งยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2538 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกา ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา จำเลยชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง