คำสั่งคำร้องที่ 418/2540

แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา

ย่อสั้น

คดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดี ถึงที่สุดก็ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดแล้วโจทก์ขอ ถอนฟ้องไม่ได้ ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 นั้น ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้อง อุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาในระหว่างที่ศาลฎีกา ยังไม่มีคำสั่งก็ถือว่าคดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์ยื่นคำร้อง ขอถอนฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่คัดค้าน ส่วนจำเลยที่ 3 หลบหนี ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวและยังไม่ได้ให้การแก้คดี โจทก์จึงถอนฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้

ย่อยาว

ความว่า จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาเนื่องจากโจทก์และจำเลยที่ 2 สามารถตกลงกันได้ โจทก์ไม่ติดใจ ที่จะดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสามในคดีนี้อีกต่อไป จึงขอถอนฟ้อง โปรดอนุญาต

หมายเหตุ จำเลยที่ 2 แถลงไม่คัดค้าน (อันดับ 121)

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องจำเลยที่ 3 หลบหนี ศาลชั้นต้นออกหมายจับและให้จำหน่ายคดีจำเลยที่ 3 ชั่วคราว

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4(2) จำเลยที่ 1 ปรับ 60,000 บาท จำเลยที่ 2จำคุก 2 จำคุก 3 เดือน จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา (อันดับ 106)

จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา (อันดับ 113)

โจทก์ยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 121)

คำสั่ง

พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้เป็นคดี ความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดแล้วโจทก์จะขอถอนฟ้องไม่ได้ ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 นั้น ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้น ต่อศาลฎีกา ในระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่มีคำสั่งก็ถือว่าคดี ยังไม่ถึงที่สุด โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 2ไม่คัดค้าน ส่วนจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 หลบหนีศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดี ชั่วคราวและยังไม่ได้ให้การแก้คดี จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกเสียงจากสารบบความ

Share