คำสั่งคำร้องที่ 3191/2535

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า ฎีกา ของจำเลยที่ 1 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาไม่รับฎีกา
จำเลยที่ 1 เห็นว่า ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าข้อความที่ปรากฏในข่าวหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์วงจร และรายวันสยามรัฐ จะเป็นการหมิ่นประมาท โจทก์ทั้งสองหรือไม่ โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยที่ 1 ด้วย
หมายเหตุ โจทก์ทั้งสองได้รับสำเนาคำร้องแล้ว(อันดับ 242 แผ่นที่ 3 ที่ 4)
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336,338,83,91และ 332(2) ฯลฯ
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีมีมูลให้ประทับฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,328 เป็นการกระทำความผิด2 กรรมต่างกัน ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดจำคุกจำเลยที่ 1 กระทงละ 1 เดือน ปรับกระทงละ 1,500 บาทรวม จำคุก 2 เดือน ปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอ การลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี จำเลยที่ 2 ปรับกระทงละ 1,500 บาทรวมปรับ 3,000 บาท ฯลฯ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,83,91 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว (อันดับ 234)
จำเลยที่ 1 จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 238)

คำสั่ง
พิเคราะห์ฎีกาของจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันให้สัมภาษณ์แก่นักข่าวหนังสือพิมพ์ด้วยข้อความที่เป็นหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสอง และข้อความที่จำเลยทั้งสองให้สัมภาษณ์มิใช่เป็นการติ ชมหรือแสดงความคิดเห็นจำเลยที่ 1 ฎีกาโต้เถียงว่าจำเลยที่ 1 ติ ชมด้วยความเป็นธรรมป้องกันตนและป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามทำนองคลองธรรมส่วนข้อความที่ลงประกาศในหนังสือพิมพ์มีลักษณะรุนแรง เป็นเรื่องของนักข่าวหนังสือพิมพ์นำไปเขียนขึ้นเองนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง

Share