คำสั่งคำร้องที่ 2966/2533

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยยื่นฎีกา ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2533 เป็นฉบับแรกต่อมาเมื่อจำเลยได้รับสำเนาเอกสารจากศาลจังหวัดเชียงใหม่ตามคำร้องขอคัดสำเนาเอกสารในสำนวนแล้วจำเลยจึงยื่นฎีกาลงวันที่ 24 ตุลาคม2533 เป็นฉบับหลัง ศาลจังหวัดนนทบุรีสอบถามว่าจำเลยประสงค์จะถือเอาฎีกาฉบับใด จำเลยแถลงเลือกเอาฎีกาฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2533ฎีกาที่จำเลยแถลงเลือกดังกล่าวมิใช่ฎีกาที่จำเลยประสงค์ถือเอาเป็นฎีกาของจำเลย ความประสงค์แท้จริงของจำเลยคือจะถือเอาฎีกาฉบับลงวันที่ 24 ตุลาคม 2533 โปรดอนุญาตให้จำเลยถือเอาฎีกาฉบับลงวันที่ 24 ตุลาคม 2533 เป็นฎีกาของจำเลยด้วย
หมายเหตุ โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(8),298,289(6)(7),340 วรรคท้าย,83 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289,83 อันเป็นบทหนัก วางโทษประหารชีวิต
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลยฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เมื่อวันที่ 7 กันยายน2533 และศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นฎีกาอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนดฎีกา (อันดับ 90 แผ่นที่ 9 หน้าหลัง,94)
จำเลยยื่นฎีกา ฉบับแรกลงวันที่ 5 ตุลาคม 2533 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์แก้ ต่อมาจำเลยยื่นฎีกาฉบับลงวันที่24 ตุลาคม 2533 ศาลชั้นต้นให้จำเลยตรวจดูฎีกาทั้งสองฉบับแล้วจำเลยแถลงว่าประสงค์จะถือเอาฎีกาฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2533เป็นฎีกาของจำเลย (อันดับ 97,101 และ 102)
จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าว (อันดับ 106)

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว คำร้องของจำเลยพอสรุปได้ว่า จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยฉบับลงวันที่ 24 ตุลาคม 2533 ใหม่โดยอ้างว่าคำแถลงของจำเลยเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2533 ที่ให้ถือเอาฎีกาฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2533 เป็นฎีกาของจำเลยนั้นผิดพลาดไป จำเลยต้องการให้ถือเอาฎีกาฉบับลงวันที่ 24 ตุลาคม 2533ซึ่งมีคำคัดค้านที่สมบูรณ์กว่าเป็นฎีกาของจำเลย จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะตรวจฎีกาของจำเลยฉบับลงวันที่ 24 ตุลาคม 2533ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลฎีกาหรือไม่ ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 223 บัญญัติไว้ ให้ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งต่อไป

Share