คำสั่งคำร้องที่ 1741/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า โจทก์ฎีกา คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2536 หากโจทก์ จะฎีกา จะต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 13 มกราคม 2537 ปรากฏว่านายสมชาย ศรีโลธร ทนายความโจทก์ตามใบอนุญาตว่าความเลขที่ 13834 ซึ่งสภาทนายความได้ออกใบอนุญาตว่าความเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2529 และได้ยื่นขอต่ออายุใบอนุญาต ว่าความครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2530 ขอต่ออายุใบอนุญาตว่าความครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2532 และขอต่ออายุใบอนุญาตว่าความ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ซึ่งใบอนุญาต ว่าความครั้งที่ 3 นี้จะหมดอายุลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2536 แต่นายสมชาย มิได้ยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2536 และต่อมา จึงได้ยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตว่าความต่อสภาทนายความเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2537 ปรากฏตามเอกสาร ท้ายคำร้อง ดังนั้น คำร้องที่นายสมชาย ศรีโสธร ยื่นต่อศาลเพื่อขออนุญาตให้โจทก์ขยายเวลายื่นฎีกา จึงไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะนายสมชาย ศรีโสธร ไม่อยู่ในฐานะเป็นทนายว่าความให้แก่ผู้ใดได้ ขอศาลได้โปรดมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ได้อนุญาตให้โจทก์ขยายเวลายื่นฎีกาและมีคำสั่ง เพิกถอนการรับ ฎีกาของโจทก์ และถือว่าคดีถึงที่สุด แล้วเพราะไม่มีฎีกา
หมายเหตุ นายสมชาย ศรีโสธร ทนายโจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 233)
ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แล้วพิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา (อันดับ 225)
จำเลยยื่นคำแก้ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับแล้ว ต่อมา จำเลยยื่นคำร้องนี้ ศาลชั้นต้นนัดพร้อมเพื่อสอบถาม ในวันนัด นายสมชาย ศรีโสธร แถลงรับว่าในขณะยื่นคำแถลงขอขยายระยะเวลาฎีกา ใบอนุญาตว่าความ ขาดต่ออายุเนื่องจากหลงลืมและนายสมชายได้เป็นทนายความของโจทก์ดำเนินคดีมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ประกอบกับไม่พบตัวความจึงได้ยื่นคำแถลง ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาไว้ก่อน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งศาลฎีกาเพื่อพิจารณา (อันดับ 231,234)

คำสั่ง
คดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาไว้โดยไม่ชอบ ด้วยกระบวนพิจารณานั้นแม้ก่อนที่ศาลชั้นต้นส่งสำนวน ไปศาลฎีกา ศาลชั้นต้นยังมีอำนาจสั่งเพิกถอน กระบวนพิจารณาเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งตามที่จำเลยยื่นคำร้อง ขอนี้ กลับส่งสำนวนและฎีกาพร้อมคำร้องไปให้ ศาลฎีกาพิจารณา กับศาลฎีกาได้นำคดีลงสารบบความ ของศาลฎีกาไว้แล้วเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่ศาลฎีกา จะได้วินิจฉัยในชั้นทำคำพิพากษาต่อไป ในชั้นนี้ จึงไม่จำต้องสั่งคำร้องนี้ ให้ยกคำร้อง

Share