แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยที่ 3 ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีนี้ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรือ อาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ที่แก้ไขใหม่ฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นการโต้แย้งในข้อเท็จจริง จึงไม่รับฎีกา
จำเลยที่ 3 เห็นว่า ฎีกาของจำเลยที่ 3 ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะจำเลยที่ 3 ได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ และฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่ว่าโจทก์ใช้สิทธิในการออกโฉนดที่ดินไม่สุจริตเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย โปรดมี คำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยที่ 3 ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป
หมายเหตุ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับสำเนาคำร้องหรือไม่
คดีสามสำนวนนี้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกันโดยเรียกนางอุดมน้อยปาน ว่าจำเลยที่ 1 นายสมบูรณ์เนื่องทับ ว่าจำเลยที่ 2 และนายเฉลย สัญจร ว่าจำเลยที่ 3ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 11152 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ของโจทก์ห้ามเกี่ยวข้องต่อไป ให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายปีละ 323.70 บาท 112.50 บาท และ 3,395.70 บาท นับแต่วันที่ 11 กันยายน 2530 จนกว่าจะออกไป
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลยที่ 3 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา(อันดับ 167)
ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 172)
คำสั่ง พิเคราะห์แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อที่ว่าโจทก์ได้สละทิ้งที่ดินพิพาทไปแล้วจำเลยเข้าครอบครอง โจทก์กลับไปขอออกโฉนด โดยที่ไม่ได้ครอบครอง ปกปิดจำเลยไม่ให้รู้เป็นการใช้สิทธิ โดยไม่สุจริตนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ไม่ว่าจำเลยจะกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือไม่ ฎีกาของจำเลยทั้งสามจึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาชอบแล้วยกคำร้อง