แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ฎีกาของจำเลยตามที่ ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก เป็นฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 จึงไม่รับฎีกาในส่วนนี้ สำหรับฎีกาในข้อหาอื่น ไม่ต้องห้ามรับเป็นฎีกาของจำเลย จำเลยเห็นว่า ฎีกาทีว่า จำเลยมิใช่ผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เป็นปัญหาข้อกฎหมาย และคดีนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นการ แก้มากและเพิ่มโทษจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 โปรดมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 วรรคแรกด้วย หมายเหตุ โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับสำเนาคำร้องแล้ว(อันดับ 109 แผ่นที่ 1, ที่ 3) ระหว่างพิจารณา นายวัชระถิรภัทรพันธ์ บิดาของผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคท้าย,310 วรรคแรก และ 317 วรรคท้าย เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่แก้ไขแล้ว ฐานกระทำอนาจารแก่เด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี จำคุก 6 เดือน ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง จำคุก 6 เดือน ฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อ การอนาจาร จำคุก 5 ปี รวมจำคุกจำเลยมีกำหนด 5 ปี 12 เดือน ทางพิจารณาของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ทั้งจำเลย มีภาระที่จะต้องดูแลบุตรที่ยังเยาว์ วัยจึงมีเหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงลงโทษ จำคุกจำเลย 3 ปี 12 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง กรรมหนึ่ง ให้จำคุก 7 ปี ผิดตามมาตรา 310 วรรคแรก กรรมหนึ่ง ให้จำคุก 1 ปี ผิดตาม มาตรา 317 วรรคสาม กรรมหนึ่ง ให้จำคุก 7 ปี ให้เรียงกระทง ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวมจำคุก 15 ปี จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว (อันดับ 105) จำเลยจึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 107)
คำสั่ง พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรกนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้จากโทษจำคุก 6 เดือน เป็นจำคุก 1 ปี ถือได้ว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจ ร้องทุกข์ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย อันถือได้ว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชั้นต้น สั่งไม่รับฎีกาของจำเลยในข้อนี้ชอบแล้ว อุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ฟังไม่ขึ้น ให้ยกคำร้อง