คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ข้อหาขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย500บาทซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดต้้งศาลแขวงฯมาตรา22จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยขับรถไปทางตรงในขณะที่มีไฟเขียวมิได้ขับรถฝ่าไฟแดงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวแต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้และพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา185โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้. ความผิดฐานขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจรและขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถอื่นเสียหายเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทคือพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา22,43,152,157ลงโทษตามมาตรา43,157ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด.(ที่มา-เนติฯ)

ย่อยาว

ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน ขับ รถยนต์ ฝ่าฝืนสัญญาณ ไฟจราจร และ ขับรถ โดย ประมาท เป็น เหตุ ให้ ชน รถ อื่น เสียหายตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22, 43, 152, 157 ฐานขับ รถยนต์ ฝ่าฝืน สัญญาณ ไฟจราจร ปรับ 500 บาท ฐาน ขับรถ โดย ประมาทเป็น เหตุ ให้ ชน รถอื่น เสียหาย ปรับ 1,000 บาท ศาลอุทธรณ์ เห็น ว่าข้อเท็จจริง ฟัง ไม่ ได้ ชัด ว่า จำเลย ขับรถ โดย ประมาท ฝ่าฝืน สัญญาณไฟจราจร ตาม ฟ้อง พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘คดี คง มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ โจทก์ว่า จำเลย ได้ กระทำ ผิด ฐาน ขับรถ ฝ่าฝืน สัญญาณ ไฟจราจร และ ขับรถโดย ประมาท เป็น เหตุ ให้ ชน รถอื่น เสียหาย ตาม ฟ้อง หรือไม่ สำหรับข้อหา ขับ รถ ฝ่าฝืน สัญญาณ ไฟจราจร นั้น ศาลชั้นต้น ลงโทษ ปรับ จำเลยเป็น เงิน 500 บาท ซึ่ง ต้องห้าม อุทธรณ์ ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ใน ศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ที่ แก้ไข แล้ว จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย ขับรถ ไป ทาง ตรงใน ขณะ ที่ มี ไฟเขียว มิได้ ขับรถ ฝ่า ไฟแดง เป็น การ อุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตาม บทกฎหมาย ดังกล่าว แต่ ศาลอุทธรณ์ รับวินิจฉัย ให้ และ พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ ใน ข้อหา นี้ ซึ่ง ศาลอุทธรณ์มี อำนาจ วินิจฉัย ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา185 โจทก์ จึง มี สิทธิ ฎีกา ได้
ทาง พิจารณา โจทก์ นำสืบ ว่า วัน เกิดเหตุ เวลา ประมาณ 18 นาฬิกานาย วรวุฒิ คุปต์ถาวรฤกษ์ ผู้เสียหาย ได้ ขับ รถยนต์ จาก คลองเตย มาตาม ถนน เลียบ แม่น้ำ เจ้าพระยา เมื่อ ไป ถึง สามแยก ซึ่ง มี ถนนนางลิ้นจี่ มา บรรจบ ผู้เสียหาย จะ เลี้ยว ขวา เข้า ถนน นางลิ้นจี่ผู้เสียหาย จึง หยุด รถ ที่ สามแยก นั้น รอ สัญญาณ ไฟเลี้ยวขวา เมื่อมี สัญญาณ ไฟเขียว ให้ เลี้ยวขวา ได้ ผู้เสียหาย ได้ ขับรถ เลี้ยวขวาเพื่อ เข้า ถนน นางลิ้นจี่ โดย ขับ ตาม หลัง รถยนต์ 2 คัน ซึ่งเลี้ยวขวา เช่นเดียว กัน เมื่อ รถ แล่น เลย กึ่งกลาง ถนน จะ เข้า ถนนนางลิ้นจี่ อยู่ แล้ว ก็ ถูก รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ขับ จาก แยกสาธุประดิษฐ์ มา ตาม ถนน เลียบ แม่น้ำ เจ้าพระยา มุ่งหน้า ไป ทาง คลองคลองเตย แล่น เข้า ชน เมื่อ ถูก ชน แล้ว รถ ผู้เสียหาย จอด อยู่ กับ ที่ไม่ ได้ เคลื่อน ไป ข้างหน้า
จำเลย นำสืบ ว่า วัน เกิดเหตุ ได้ ขับรถ มา ตาม ถนน เลียบ แม่น้ำเจ้าพระยา จาก ทาง ด้าน แยก สาธุประดิษฐ์ มุ่ง หน้า ไป ทาง คลองเตยเมื่อ มา ถึง ทางแยก นางลิ้นจี่ มี สัญญาณ ไฟเขียว ให้ รถ ซึ่ง แล่น ในเส้นทาง เดินรถ ของ จำเลย แล่น ผ่าน ทางแยก ดังกล่าว ไป ได้ มี รถโดยสารคันหนึ่ง ขับ ผ่าน ทางแยก ดังกล่าว ไป ก่อน รถ จำเลย รถ จำเลย ขับ ตามหลัง รถโดยสาร คัน นั้น พอดี รถ คัน ที่ ผู้เสียหาย ขับ ซึ่ง แล่น มาจาก ทาง ด้าน คลองเตย ได้ เลี้ยวขวา ข้ามถนน เลียบแม่น้ำ เจ้าพระยาเพื่อ เข้า ถนน นางลิ้นจี่ ตัดหน้า รถ คัน ที่ จำเลย ขับ จำเลย หยุด รถไม่ทัน จึง ชน รถ คัน ที่ ผู้เสียหาย ขับ ตรง ปาก ถนน นางลิ้นจี่ นั้น
พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ข้อแรก ว่า จำเลย ขับรถ โดย ฝ่าฝืนสัญญาณ ไฟจราจร หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ มี พระภิกษุ ผาสุข เป็น ประจักษ์พยาน เบิกความ ว่า ก่อน เกิดเหตุ เล็กน้อย พยาน ยืน อยู่ ที่ ตรง มุมสามแยก ปากทาง ถนน นางลิ้นจี่ ซึ่ง มา บรรจบ กับ ถนน เลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อ จะ ข้ามถนน เลียบแม่น้ำ เจ้าพระยา ไป ฝั่ง ตรงข้ามเมื่อ สัญญาณ ไฟแดง ขึ้น รถ ที่ แล่น มา ทาง ด้าน ที่ จำเลย ขับ จะ ต้องหยุด พยาน จะ ข้ามถนน แต่ ข้าม ไม่ ได้ เพราะ รถ จำเลย แล่น มา และกดแตร ขอ ทาง และ ขณะนั้น รถ ผู้เสียหาย ซึ่ง แล่น มา ตาม ถนนเลียบแม่น้ำ เจ้าพระยา จาก ทาง ด้าน คลองเตย กำลัง เลี้ยวขวา ที่ สามแยกซึ่ง เป็น ทางเลี้ยว เข้า ถนน นางลิ้นจี่ โดย มี สัญญาณ ไฟเขียว ให้ รถผู้เสียหาย แล่น เข้า ถนน นางลิ้นจี่ ได้ ถูก รถ คัน ที่ จำเลย ขับ แล่นไป ชน ตรง ปากทางแยก ที่ จะ เข้า ถนน นางลิ้นจี่ พยาน ไป ดู รถผู้เสียหาย ซึ่ง ถูก ชน เห็น มี คน ได้ รับ บาดเจ็บ เมื่อ ดูแ ล้ว ได้มา พูด กับ จำเลย ว่า ‘ลง มา ดู คนเจ็บ บ้างซิ’ จำเลย ตอบ ว่า ‘อยากตัดหน้า ทำไม ล่ะ’ ใน การ นำสืบ ของ จำเลย ก็ รับ ว่า พระภิกษุ ผาสุขได้ มา พูด กับ จำเลย หลัง เกิดเหตุ จึง น่าเชื่อ ตาม ที่ พระภิกษุผาสุข พยาน โจทก์ ที่ เบิกความ ว่า จำเลย ขับรถ ฝ่าฝืน สัญญาณ ไฟแดงไป ชน รถ ผู้เสียหาย การ นำสืบ ของ จำเลย ไม่ มี น้ำหนัก พอ หักล้างได้ ปัญหา ต่อไป มี ว่า จำเลย ขับรถ โดย ประมาท หรือไม่ นั้น เมื่อเส้นทาง เดินรถ ของ จำเลย มี สัญญาณ จราจร ไฟ สีแดง จำเลย จึง ต้องหยุด รถ หลัง เส้น ให้ หยุด การ ที่ จำเลย ไม่ หยุด รถ ยัง คง ขับรถต่อไป และ แล่น ไป ชน รถ ผู้เสียหาย ซึ่ง แล่น อยู่ ใน เส้นทาง รถ ของผู้เสียหาย จึง เป็น การ ขับรถ โดย ประมาท เป็น เหตุ ให้ ชน รถผู้อื่น เสียหาย ดัง ที่ โจทก์ ฟ้อง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ไม่ ต้อง ด้วยความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ฟัง ขึ้น
อนึ่ง ศาลฎีกา เห็นว่า การ กระทำ ความผิด ของ จำเลย ฐาน ขับรถ ฝ่าฝืนสัญญาณ ไฟจราจร และ ขับรถ โดย ประมาท เป็น เหตุ ให้ ชน รถ อื่น เสียหายตาม พฤติการณ์ แห่ง คดี นั้น เป็น การ กระทำ อัน เป็น กรรมเดียว เป็นความผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ต้อง ใช้ กฎหมาย ที่ มี โทษ หนัก ที่สุดลงโทษ’
พิพากษา กลับ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 22, 43, 152 และ 157 ลงโทษ ตาม มาตรา 43, 157 ซึ่ง เป็นบทหนัก ให้ ปรับ 1,000 บาท.

Share