แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกของผู้ตายโจทก์เป็นหลานของผู้ตายและมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายและวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความจำเลยฎีกาว่าที่ดินพิพาทถูกบุคคลอื่นแย่งการครอบครองไปแล้วโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิฟ้องและคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218 ฎีกาจำเลยที่ว่าฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ไม่ได้อ้างเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)อันจะทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายแม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่ก็ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ย่อยาว
ความ ว่า จำเลย ที่ 1 ฎีกา ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 เป็น ปัญหาข้อเท็จจริง ทั้งหมด และ ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ไม่อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง จึง ต้องห้าม ฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ไม่รับ ฎีกา
จำเลย ที่ 1 เห็นว่า ฎีกา ที่ ว่า ฟ้องโจทก์ เป็น ฟ้อง ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ ไม่ใช่ ผู้เสียหาย และ ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย โปรด มี คำสั่ง รับ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ไว้ พิจารณา ต่อไป
หมายเหตุ ไม่ปรากฏ หลักฐาน ว่า โจทก์ ได้รับ สำเนา คำร้อง หรือไม่
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 354, 83
ก่อน ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง โจทก์ แถลง ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 3 ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี มีมูล ให้ ประทับ ฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 ลงโทษ จำคุก 2 ปี และ ปรับ 10,000 บาท จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก ประกอบ ด้วย มาตรา 83 ลงโทษ จำคุก 1 ปี และ ปรับ 6,000 บาท จำเลย ทั้ง สอง เป็น หญิง ชรา อายุ มาก แล้ว ถึง 63 ปี และ 59 ปี ตามลำดับ และ ไม่เคย ต้องโทษ จำคุก มา ก่อน สมควร ให้ โอกาส จำเลย ทั้ง สอง กลับ ตน เป็น พลเมือง ดี โทษ จำคุก ให้ รอ ไว้ 3 ปี ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ประกอบ ด้วย มาตรา 354 ยกฟ้อง จำเลย ที่ 2 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา ดังกล่าว ( อันดับ 93)
จำเลย ที่ 1 จึง ยื่น คำร้อง นี้ ( อันดับ 103)
คำสั่ง
พิเคราะห์ แล้ว ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ว่า ที่ดินพิพาท เป็น มรดก ของ นาย เยื้อง ผู้ตาย โจทก์ เป็น หลาย ของ ผู้ตาย และ มีสิทธิ รับมรดก แทนที่ บิดา ซึ่ง เป็น บุตร ของ ผู้ตาย และ วินิจฉัย ว่า คดี โจทก์ ไม่ขาดอายุความ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า ที่ดินพิพาท ถูก บุคคลอื่น แย่ง การ ครอบครอง ไป แล้ว โจทก์ จึง ไม่ใช่ ผู้เสียหาย ไม่มี สิทธิ ฟ้อง และ คดี โจทก์ ขาดอายุความ แล้ว เห็นว่า เป็น ฎีกา ที่ โต้เถียง ดุลพินิจ การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาล เป็น ปัญหา ข้อเท็จจริง ฎีกา จำเลย ที่ 1 จึง เป็น ฎีกา ปัญหาข้อเท็จจริง หา ได้ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ดัง ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ไม่ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ส่วน ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ ก็ ไม่ได้ อ้าง เหตุ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) อัน จะ ทำ ให้ ฟ้องโจทก์ ไม่สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย แม้ จะ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย แต่ ก็ ไม่เป็น สาระ แก่ คดี อันควร ได้รับ การ วินิจฉัย ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ไม่รับ ฎีกา จำเลย ที่ 1 นั้น ชอบแล้ว ให้ยก คำร้อง