คำสั่งคำร้องที่ 1290/2533

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า เนื่องจากทรัพย์ที่ขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาก็ไม่เคยมอบอำนาจและไม่เคยแต่งตั้งให้ผู้ใดเป็นทนายความของจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ไม่เคยปรากฏตัวหรือมาคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เลย โจทก์จึงไม่เชื่อว่าจำเลยที่ 1 จะมอบอำนาจให้นางรุ่งศรีเทพสง่าหรือจะแต่งตั้งให้นายเสรีสุวรรณภานนท์เป็นทนายความของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด แม้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 หลายครั้งจนสำนวนแยกเป็น 2 สำนวน กล่าวคือ สำนวนหนึ่งนั้น
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องฉบับลงวันที่15 กันยายน 2530 ของจำเลยที่ 1 ซึ่งขอให้ศาลชั้นต้นขายที่ดิน ทีละแปลง เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องนั้นยังมิได้ชี้ขาด ในเรื่องให้ขายที่ดินรวมพร้อมกัน หรือให้แยกขายทีละแปลง จึงไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 วรรคสอง และใน ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งจำเลยที่ 1 ก็ได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ คดีไว้ และได้ยื่นคำร้องขอให้งดการขายที่ดินดังกล่าวไว้ด้วย (สำนวนอยู่ในระหว่างไต่สวนคำร้อง) ซึ่งสำนวนคดีดังกล่าวโจทก์ ไม่เคยได้รับหมายและสำเนาอุทธรณ์คำสั่งเลยจึงไม่ได้แก้อุทธรณ์ คำสั่งทำให้เสียเปรียบในการต่อสู้คดี และโจทก์ยังสงสัยว่าคำร้อง ของจำเลยที่ 1 ฉบับลงวันที่ 15 กันยายน 2530 ถูกยื่นเข้ามาในคดี ได้อย่างไร เพราะเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2530 โจทก์ได้ตรวจสำนวน แล้วไม่พบคำร้องฉบับดังกล่าว อีกทั้งลายมือชื่อในช่องผู้ร้องก็น่าจะ ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ที่แท้จริง ส่วนอีกสำนวนหนึ่ง อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเมื่อหลังจากที่เจ้าพนักงาน บังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 รวมแปลงขายทั้ง 7 แปลง ให้กับโจทก์ผู้ประมูลซื้อโดยเสนอราคาสูงสุดเป็นเงิน 700,000 บาท พร้อมหนี้จำนองอีก 2,000,000 บาทเศษไปแล้ว จำเลยทั้งสองได้ยื่น คำร้องฉบับลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2530 อ้างว่าเป็นการขายที่ไม่ชอบ ขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าว ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนโดย โจทก์ไม่เคยได้รับสำเนาคำร้อง คงมีแต่หมายนัดให้โจทก์แถลงคัดค้าน คำร้องเท่านั้น โจทก์จึงไม่ทราบเหตุการร้องขอ และไม่ทราบว่าผู้ใด เป็นผู้ร้องทำให้เสียเปรียบในการต่อสู้คดี แม้ต่อมาศาลชั้นต้น มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองดังกล่าว
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้เสีย โจทก์ฎีกาต่อมา ซึ่งโจทก์เห็นว่าการกระทำของนางรุ่งศรีและนายเสรีที่คัดค้านการขายทอดตลาด ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาแล้วนั้นทำให้คดีสับสนวุ่นวาย จับต้นชนปลายไม่ถูก และคดีได้แยกออกเป็น 2 สำนวน เป็นการ ประวิงคดีให้ล่าช้าและโจทก์ได้รับความเดือดร้อนจึงขอศาลฎีกาสั่ง ให้ตรวจสอบสำนวนการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ทั้งหมด (2 สำนวน) หรือให้ไต่สวนคำร้องเพื่อตรวจดูว่านางรุ่งศรีและนายเสรี ใช้สิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดโดยชอบหรือไม่ ใบมอบอำนาจและ ใบแต่งทนายของจำเลยที่ 1 มีจริงและถูกต้องหรือไม่ การที่โจทก์ ไม่ได้รับหมายและสำเนาอุทธรณ์คำสั่งเลยหรือกรณีที่โจทก์ไม่ได้รับ สำเนาคำร้องเป็นการไม่ชอบทำให้โจทก์เสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือไม่ และขอให้ศาลมีคำสั่งให้คดีเรื่องการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 1 ได้ถึงที่สุดและสั่งยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งห้ามมิให้ผู้ซื้อทำนิติกรรมอันเป็น การจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินทั้ง 7 โฉนด แล้วสั่งให้ผู้ซื้อได้รับสิทธิในการ ทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินที่ซื้อมาได้โดยแจ้งไปยัง สำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ สาขาพระโขนงโปรดอนุญาต
หมายเหตุ จำเลยทั้งสองยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง
คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และจำเลยที่ 2 ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินต้นตามเช็คพิพาทจำนวน 421,000 บาทแก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตาม คำพิพากษา โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่ดิน 7 แปลง ของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม 2530 โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 รวมพร้อมกัน 7 แปลง จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้รับมอบอำนาจคัดค้านขอให้แยกขายทีละแปลง โดยอ้างว่าขายที่ดินบางแปลงก็พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา คดีนี้แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ไปดำเนินการร้องต่อศาล ขอให้มีคำสั่งในเรื่องนี้ภายในกำหนด 15 วัน ต่อมาวันที่ 15 กันยายน 2530 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ขายที่ดินทีละแปลง โดยอ้างว่า ขายที่ดินบางแปลงก็พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว หากขายรวมพร้อมกัน ทุกแปลงจำเลยที่ 1 จะเสียหายศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ไปดำเนินการ ชั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน ให้ยกคำร้อง ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2530 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 รวมแปลงขาย ทั้ง 7 แปลงให้กับโจทก์ผู้ประมูลซื้อโดยให้ราคาสูงสุดเป็นเงิน 700,000 บาทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้รับมอบอำนาจคัดค้านว่าเป็นราคาต่ำ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการขายที่ดินทั้ง 7 แปลง ขายโดย วิธีจำนองติดไป หนี้จำนองทั้งหมดรวมต้นเงินและดอกเบี้ย จนถึงปัจจุบันเป็นเงินประมาณ 2,000,000 บาทเศษ และที่ดินแปลงที่ 1-7 จดทะเบียนการเช่าเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2523 มีกำหนด 20 ปี ได้ราคา เพียงพอแล้ว จึงขายไปในราคาดังกล่าว ต่อมาวันที่ 23 พฤศจิกายน 2530 จำเลยทั้งสอง ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นอ้างว่า
จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 309 วรรคสอง เพราะศาลชั้นต้นไม่ได้ชี้ขาดในเรื่องให้ขายที่ดินรวมพร้อมกันหรือแยกขายทีละแปลง และในระหว่างอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้ ทั้งได้ยื่นคำร้องของดการขายที่ดินดังกล่าวไว้ด้วย การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการ ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 ไปดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และให้ดำเนินการ ขายทอดตลาดใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่า ไม่มีเหตุจะเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสอง
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของ
เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้เสีย
โจทก์ฎีกา (อันดับ 64 แผ่นที่ 2)
โจทก์จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 73)

คำสั่ง
จะได้ตรวจสอบและมีคำสั่งให้ตามควรแก่กรณี

Share