คำสั่งคำร้องที่ 1360/2535

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยที่ 2 ได้ยื่นฎีกา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2535 ศาลชั้นต้นสั่งว่า พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าเป็นฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวจำเลยก็มิได้ว่ากล่าว กันมาในศาลอาญาและศาลอุทธรณ์แต่อย่างไร คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี ตามศาลอาญา จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ไม่รับฎีกา และต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ยื่นฎีกาอีก เมื่อวันที่30 มีนาคม 2535 ศาลชั้นต้นสั่งว่า ฎีกาของจำเลยที่ 2 ยื่นพ้นกำหนด และเป็นฎีกาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2 แล้วตามฎีกาฉบับลงวันที่ 16 มีนาคม 2535 จำเลยที่ 2 คงมีสิทธิเพียงยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ศาลที่ไม่รับฎีกาเท่านั้น ไม่มีสิทธิยื่นฎีกา ไม่รับฎีกา
จำเลยที่ 2 เห็นว่า ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลสูง โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณาต่อไป
หมายเหตุ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 37)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่แก้ไขแล้ว รวมสองกระทงให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 10,000 บาท และจำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 6 เดือน รวมสองกระทงเป็นปรับ จำเลยที่ 1 จำนวน 20,000 บาท และจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 12 เดือน จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนอันเป็น ประโยชน์แก่การพิจารณา นับเป็นเหตุบรรเทาโทษ สมควรลดโทษให้หนึ่งในสี่คงปรับจำเลยที่ 1 จำนวน 15,000 บาท และจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 9 เดือน ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29
จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว(อันดับ 35 แผ่นที่ 2 และ 36)
จำเลยที่ 2 จึงยื่นฎีกาอุทธรณ์คำสั่ง (ควรเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง) นี้ (อันดับ 37)

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2 โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น เป็นฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง

Share