แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า จำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาเมื่อเวลา 17.15 นาฬิกา ซึ่งพ้นกำหนด เวลาเปิดทำการตามปกติจึงเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกำหนดเวลา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคแรกไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 เห็นว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2536 จำเลย ที่ 2 ได้นำคำร้องขออนุญาตฎีกาพร้อมกับฎีกาไปยื่นต่อ ศาลอุทธรณ์ต่อมาในวันที่ 6 พฤษภาคม 2536 เวลาบ่ายซึ่งเป็น วันครบกำหนดเวลายื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์ได้ส่งคำสั่งขออนุญาต ดังกล่าวไปยังศาลชั้นต้น โดยทนายจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับมาจาก ศาลอุทธรณ์เอง แต่เนื่องจากการจราจรติดขัดมาก ทนายจำเลยที่ 2 จึงนำคำสั่งและฎีกาไปยื่นต่อศาลชั้นต้นเวลาประมาณ 17 นาฬิกาของวันนั้นโดยเจ้าหน้าที่ได้รับไว้แล้ว และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ฎีกาได้ในวันที่7 พฤษภาคม 2536 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาเลยกำหนดเวลานั้นจึงเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกา จำเลยที่ 2ไว้พิจารณาต่อไป
หมายเหตุ โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับสำเนาคำร้องแล้ว(อันดับ 151,158)
ระหว่างพิจารณานางขวัญใจ พฤกษประภัสสรผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297,83 ให้จำคุกคนละ 2 ปีพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ไว้มีกำหนด 2 ปี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว (อันดับ 148)
จำเลยที่ 2 จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 151)
คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าคดีนี้ครบกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 2จะยื่นฎีกาได้วันที่ 6 พฤษภาคม 2536 แต่ยื่นเวลา 17.15 นาฬิกาเลยกำหนดเวลาทำการของศาลไป 45 นาที มากพอสมควร แต่ข้ออ้าง ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ทนายจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับคำสั่งของ ศาลอุทธรณ์พร้อมฎีกามาจากศาลอุทธรณ์ด้วยตนเอง แต่เนื่องจาก การจราจรติดขัดมาก จึงนำคำสั่งของศาลอุทธรณ์พร้อมฎีกามาถึง ศาลชั้นต้นเวลาประมาณ 17 นาฬิกา มีเหตุผลน่าเชื่อ เพราะ ภาวะการณ์จราจรในกรุงเทพมหานครปัจจุบันนี้ เป็นที่ทราบดีทั่วกัน ว่าติดขัดในถนนทุกสายเกือบตลอดเวลา ไม่สามารถคาดคะเนได้ว่า ถนนสายใดการจราจรจะไม่ติดขัดทำให้การสัญจรสะดวกรวดเร็ว ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของศาลรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ไว้ แสดงว่าศาลยังไม่ได้ปิดทำการ ดังนั้นเพื่อประโยชน์แห่ง ความยุติธรรม จึงให้รับฎีกาของจำเลยที่ 2 ไว้ดำเนินการต่อไป