แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
ที่จำเลยฎีกาอ้างว่าเป็นข้อกฎหมาย และอ้างว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนเป็นเรื่องที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพื่อให้เป็นข้อกฎหมาย ทั้งไม่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ ฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนและขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญตามที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกา แท้ที่จริง เป็นเรื่องที่จำเลยโต้แย้งไม่ให้รับฟังข้อเท็จจริงตามที่ โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบ และการจะรับฟังพยานหลักฐานใด เพียงพอหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ดังนี้ฎีกาของจำเลย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของ ศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ย่อยาว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ลงโทษ จำคุก 6 เดือน ส่วน ที่ ขอให้ นับ โทษ ของ จำเลย ต่อ จาก โทษ ใน คดี อื่น ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ฎีกา ของ จำเลย ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จึง ไม่รับ ฎีกา
จำเลย ยื่น คำร้องอุทธรณ์ คำสั่ง ว่า จำเลย กระทำ ความผิด ไม่ครบ องค์ประกอบ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 และ พยานหลักฐาน ไม่ ชัดแจ้ง ว่า จำเลย กระทำ ความผิด จริง ซึ่ง ควร ยก ประโยชน์ ให้ แก่ จำเลย การ ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา จำเลย เป็น การ ขัด ต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมาย ลักษณะ พยาน และ ขัด ต่อ กฎหมาย รัฐธรรมนูญ ซึ่ง เป็น กฎหมาย หลัก ใน เรื่อง ประชาชน ชาว ไทย และ กฎหมาย สิทธิ มนุษย ชน ทำให้ จำเลย ได้รับ โทษ ทั้งที่ ไม่ได้ กระทำ ความผิด จึง เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ขอ ศาลฎีกา โปรด มี คำสั่ง รับ ฎีกา ของ จำเลย ไว้ พิจารณา ต่อไป
ศาลฎีกา สั่ง ว่า ” ที่ จำเลย ฎีกา อ้างว่า เป็น ข้อกฎหมาย และ อ้างว่า ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ผิด จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน นั้น เป็น เรื่อง ที่ บิดเบือน ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย เพื่อ ให้ เป็น ข้อกฎหมาย ทั้ง ไม่ปรากฏ ว่า ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ผิด ไป จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน และ ขัด ต่อ กฎหมาย รัฐธรรมนูญ ตาม ที่ จำเลย กล่าวอ้าง มา ใน ฎีกา แต่อย่างใด แท้ ที่ จริง เป็น เรื่อง ที่ จำเลย โต้แย้ง ไม่ให้ รับฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ โจทก์ และ โจทก์ร่วม นำสืบ และ การ จะ รับฟัง พยานหลักฐาน ใด เพียงพอ หรือไม่ เป็น ดุลพินิจ ของ ศาลฎีกา ของ จำเลย เป็น การ โต้เถียง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ จึง เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้น ไม่รับ ฎีกา ของ จำเลย ชอบแล้ว ให้ยก คำร้อง “