คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5018/2533

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ศาลทหารกรุงเทพวินิจฉัยคดีส่วนอาญาที่จำเลยถูกฟ้องว่าพยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมานั้นทำให้เกิดความสงสัยว่าจำเลยเป็นคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุหรือไม่ เห็นควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย จึงพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้ชี้ขาดว่าจำเลยเป็นคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุหรือไม่ ถ้าหากฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนขับ ก็จะต้องชี้ขาดอีกด้วยว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทหรือไม่ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายฟ้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดจากจำเลย จึงมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุได้.

ย่อยาว

โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1ซึ่งเกิดจากนายปราโมทย์ มนชน โจทก์ที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์เก๋งคันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันประกอบกิจการเดินรถยนต์โดยสาร จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไปในทางการที่จ้างจากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดสงขลาด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังแล่นล้ำเส้นกึ่งก ลางถนนเป็นเหตุให้ชนรถยนต์เก๋งคันเกิดเหตุที่นายปราโมทย์ ขับนายปราโมทย์ ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ รถยนต์เก๋งคันเกิดเหตุเสียหายจนไม่สามารถซ่อมได้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 555,108.75 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของเงินจำนวน 519,400 บาทนับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และบังคับให้จำเลยที่ 1 ที่ 4 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 94,277.50 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของเงินจำนวน 87,700 บาทนับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 3
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1แต่มิใช่ผู้ขับรถยนต์โดยสารคันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2ไม่ใช่ผู้ปกครองและไม่ได้ร่วมกิจการเดินรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้ครอบครองและไม่ได้ร่วมกิจการเดินรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ไม่เกิน 3,000 บาท โจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะรถยนต์เก๋งคันเกิดเหตุเสียหายไม่มากหากซ่อมให้อยู่ในสภาพดีค่าซ่อมไม่เกิน 20,000 บาท โจทก์ที่ 3 นำรถยนต์เก๋งคันดังกล่าวออกขายโดยไม่สุจริต ไม่อาจสวมสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ที่ 4 ได้ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 4 ร่วมกันชำระเงินจำนวน66,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 3,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันละเมิดวันที่ 19พฤศจิกายน 2522 จนกว่าจะชำระเสร็จและให้ร่วมกันชำระเงินจำนวน87,000 บาท แก่โจทก์ที่ 3 พร้อมดอกเบี้ยอัตราเดียวกันนับตั้งแต่16 พฤษภาคม 52523 จนกว่าจะชำระเสร็จ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ที่ 4 ร่วมกันชำระเงิน 125,800 บาท แก่โจทก์ที่ 1 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 4 ว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรา กฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเมื่อคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 4 พิพากษายกฟ้อง ถือได้ว่าศาลวินิจฉัยแล้วว่าจำเลยที่ 4 ไม่ได้กระทำความผิดหรือไม่ได้ละเมิดศาลที่วินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งจะรับฟังข้อเท็จจริงตามโจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 4 กระทำความผิดหรือทำละเมิดย่อมไม่ได้นั้น เห็นว่า คดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์) วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมานั้นทำให้เกิดความสงสัยว่า จำเลยเป็นคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุหรือไม่เห็นควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย จึงพิพากษายกฟ้อง ดังนี้ ศาลที่พิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวไม่ได้ชี้ขาดว่าจำเลยที่ 4 ในคดีนี้เป็นคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุหรือไม่ ถ้าหากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ในคดีนี้เป็นคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุ ก็จะต้องชี้ขาดอีกด้วยว่าจำเลยที่ 4 ในคดีนี้ได้กระทำโดยประมาทหรือไม่ เมื่อโจทก์ที่ 1ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เสียหายฟ้องทางแพ่งเป็นคดีนี้เรียกค่าเสียหายฐานละเมิดจากจำเลยที่ 4 โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จึงมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุได้
พิพากษายืน.

Share