คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2531

แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา

ย่อสั้น

การที่ผู้ซึ่งมิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และมิได้เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามบทกฎหมายดังกล่าว เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลย นั้น เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจาก การกระทำอันไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจรับพิจารณาให้

ย่อยาว

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำคุกจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติเป็นทนายความ ว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์แก้ขาดพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยสิบสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีนี้จำเลยที่ 2 ตั้งทนายแก้ต่างไว้แล้ว แต่ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 2 ทำฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เอง โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกา และมีนักโทษในเรือนจำจังหวัดเลยเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 อีก 2 คน ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงและผู้เขียน โดย น.ช.สมพงษ์ ถิ่นแสนดี ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียง น.ช.อาภาชัย ปัญญาภิญโญ ลงลายมือชื่อเป็นผู้เขียนหรือพิมพ์ ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความ ว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีให้ศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้เว้นแต่จะได้กระทำในฐานเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น” ซึ่งการฝ่าฝืนมาตรา 33 นี้ มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว น.ช.สมพงษ์ถิ่นแสนดี มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ และไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา33 การที่ น.ช.สมพงษ์ ถิ่นแสนดี เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลยที่ 2 จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจรับพิจารณาให้”
พิพากษายกฎีกาจำเลยที่ 2

Share