แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ บรรยาย ฟ้อง กล่าว อ้าง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ ที่ดิน พิพาท โดย บิดา มารดา โจทก์ ยก ให้ แต่ มิได้ จด ทะเบียน การ ให้ จำเลย ยึด ถือโฉนด ที่ดิน พิพาท ไว้ ไม่ ยอม ส่ง มอบ ให้ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ขอ ให้ บังคับ จำเลย ส่ง มอบ โฉนด ที่ดิน พิพาทนั้น เป็น การ บรรยาย สภาพ แห่ง ข้อหา ของ โจทก์ และ คำ ขอ บังคับ ทั้ง ข้ออ้าง ที่ อาศัย เป็น หลัก แห่ง ข้อหา เช่น ว่า นั้น โดย ชัด แจ้ง แล้วคำฟ้อง ของ โจทก์ จึง ไม่ เคลือบคลุม โจทก์ ฟ้อง อ้าง สิทธิ ใน การ เป็น เจ้าของ ที่ดิน พิพาท โดย บิดามารดา ยกให้ และ ใน ฐานะ เป็น ผู้จัดการมรดก ที่ดิน พิพาท ด้วย แต่ จำเลย ยึด ถือ โฉนด ที่ดิน พิพาท ไว้ โดย มิได้ ส่ง มอบ คืน ให้ โจทก์ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก เมื่อ โจทก์ ทวง ถาม การกระทำ ของ จำเลยจึง เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ใน ฐานะ เจ้าของ ที่ดิน และ ใน ฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง จำเลย ได้ ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ข้อ 3 ว่า โจทก์ ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดินตาม ฟ้อง โดย การ ยกให้ จาก เจ้าของ ที่ดิน หรือไม่ และ ประเด็น ข้อ 4ว่า จำเลย ได้ ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ปรปักษ์ หรือ ไม่ นั้นศาลชั้นต้น วินิจฉัยว่า การ ยกให้ ที่ดิน พิพาท โดย ไม่ได้ ทำ เป็น หนังสือและ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ย่อม ไม่ สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 525 โจทก์ จึง ไม่ ได้กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท และ จำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาทโดย โจทก์ โต้แย้ง ตลอดมา ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น การ ครอบครอง โดย สงบจำเลย จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ใน ประเด็น ข้อ 3 โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ หรือ แก้ อุทธรณ์ ประเด็น จึง ยุติศาลอุทธรณ์ ไม่มี อำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาท โดย สงบ เปิด เผยด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ต่อ จาก บิดา มารดา จำเลย เกิน สิบ ปี จำเลยย่อม ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง แต่ ศาลอุทธรณ์กำหนด ประเด็น เพื่อ วินิจฉัย ว่า ที่ดิน พิพาท เป็น ของ โจทก์ หรือ จำเลยจึง ไม่ตรง ประเด็น ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ไว้ ใน ชั้นชี้สองสถาน และ ที่จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลอุทธรณ์ เท่ากับ ศาลอุทธรณ์ ยัง มิได้ วินิจฉัยประเด็น ที่ จำเลย อุทธรณ์ ขึ้น มา เนื่อง จาก โจทก์ จำเลย สืบพยาน กัน มาจน สิ้น กระบวน พิจารณา แล้ว ศาลฎีกา เห็น สมควร วินิจฉัย ให้ โดยไม่ ต้อง ย้อน สำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใหม่ ข้อเท็จจริง ได้ ความ ว่า ตลอด ระยะ เวลา ที่ จำเลย อ้าง ว่า บิดาจำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาท และ จำเลย ครอบครอง ต่อ จาก บิดา จำเลยโจทก์ ได้ โต้แย้ง จำเลย ตลอด มา การ ครอบครอง ดังกล่าว นั้น ย่อม ไม่ใช่การ ครอบครอง โดย สงบ ประเด็น ข้อ นี้ ภาระการพิสูจน์ ตก อยู่ แก่ จำเลยเมื่อ จำเลย พิสูจน์ ไม่ได้ จำเลย ย่อม ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาทโดย การ ครอบครอง
ย่อยาว
คดีสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน
สำนวนแรกผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ขอให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1499, 1511
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องบิดาไม่เคยครอบครองที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าว หากแต่บิดามารดาผู้คัดค้านยกให้ผู้คัดค้านมานานกว่า 40 ปี แล้ว โดยไม่ได้จดทะเบียน เมื่อปี 2500 ผู้คัดค้านได้ให้นายสำรวยพี่ชายเป็นผู้ดูแลและเก็บโฉนดที่ดินไว้ หลังจากนายสำรวยถึงแก่ความตาย ผู้ร้องก็ไปหลอกลวงภรรยานายสำรวยเอาโฉนดที่ดินดังกล่าวไปและในปี 2524 ผู้ร้องสมคบกับบิดาผู้ร้องให้บิดาผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินดังกล่าวผู้คัดค้านไปคัดค้านศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอ ครั้นปี 2533ผู้คัดค้านได้ร้องขอต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองให้เรียกผู้ร้องมาส่งมอบโฉนดที่ดินแก่ผู้คัดค้าน ผู้ร้องตกลงจะคืนให้แล้วกลับไม่ยินยอม ขอให้ยกคำร้องขอ
สำนวนหลังโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรนายวัง นางคุนหรือคูนก่อนถึงแก่ความตายบุคคลทั้งสองได้ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1499, 1511ให้โจทก์โดยไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของบิดามารดา ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 1499, 1511 แก่โจทก์ และห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวในที่ดินดังกล่าว
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม คำฟ้องของโจทก์ในฐานะส่วนตัวไม่มีอำนาจฟ้อง บิดามารดาโจทก์ไม่เคยยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากยกให้ก็ไม่สมบูรณ์เพราะไม่จดทะเบียนตามกฎหมาย และโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก จำเลยครอบครองที่ดินดังกล่าวต่อจากนายสังวาลย์บิดาซึ่งครอบครองโดยสงบเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง ขอให้ยกฟ้อง
เพื่อสะดวกแก่การพิจารณา ศาลชั้นต้นให้เรียกผู้ร้องในสำนวนแรกว่า จำเลย และเรียกผู้คัดค้านว่า โจทก์
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 1499, 1511 แก่โจทก์ โดยห้ามจำเลยไม่ให้ยุ่งเกี่ยวในที่ดินดังกล่าวอีกต่อไป ส่วนคำร้องขอของจำเลยในสำนวนแรกให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อแรรกว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยบิดามารดาโจทก์ยกให้ แต่มิได้จดทะเบียนการให้ จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ ไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทนั้นเป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น โดยแจ้งชัดแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ประเด็นข้อ 2 มีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยบิดามารดายกให้และในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาทด้วย แต่จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ โดยมิได้ส่งมอบคืนให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ทวงถาม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินและในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
สำหรับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในข้อ 3 ว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องโดยการยกให้จากเจ้าของที่ดินหรือไม่และในข้อ 4 ว่า จำเลยได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การยกให้ที่ดินพิพาท โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์โต้แย้งตลอดมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง ในประเด็นข้อ 3โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ ประเด็นนี้จึงยุติ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ส่วนจำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาท โดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของต่อมาจากบิดาจำเลยเกินสิบปี จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นเพื่อวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถาน และที่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมา เนื่องจากโจทก์จำเลยสืบพยานกันมาจนสิ้นกระบวนพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ประเด็นข้อสุดท้ายจึงมีว่า จำเลยได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เห็นว่า นายสังวาลย์บิดาจำลเยเบิกความยอมรับว่า นางล้วน ทัศนา เคยเช่าที่ดินพิพาททำนา แต่เมื่อนางล้วน ทัศนา มาเบิกความก็ยืนยันว่า เช่าที่ดินพิพาทจากนายสำรวยทั้งนายสำรวยบอกนางล้วนว่าเป็นที่ดินของโจทก์ฝ่ายจำเลยมิได้ถามค้านให้เห็นเป็นอย่างอื่น ทั้งปรากฏว่าเมื่อปี 2524 นายสังวาลย์บิดาจำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาท โจทก์ทราบเรื่องได้มาคัดค้านนายสังวาลย์บิดาจำเลยจึงถอนคำร้องขอไป ต่อมาปี 2533 จำเลยก็ยินยอมที่จะคืนโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ เพื่อไปดำเนินการจดทะเบียนนิติกรรมตามความประสงค์ได้ทุกเมื่อที่โจทก์ต้องการ ตามเอกสารหมายจ.9 แสดงว่า ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าบิดาจำเลยครอบครองที่ดินพิพาท และจำเลยครอบครองต่อจากบิดาจำเลยโจทก์ได้โต้แย้งจำเลยตลอดมา การครอบครองดังกล่าวนั้นย่อมไม่ใช่การครอบครองโดยสงบ ประเด็นนี้ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
พิพากษายืน