คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณีไม่ใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไปถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา133 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่2ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรรและไม่รายงานให้จำเลยที่1ทราบทำให้จำเลยที่1ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมเป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. คำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ1ปีมิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ10ปี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา396บัญญัติว่า”ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดีหรือขัดกับความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ก็ดีและผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่การที่ได้เข้าจัดการนั้นแม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น”หมายความว่าผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือขัดกับความประสงค์ที่พึงสันนิษฐานได้ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้นการที่จำเลยที่1จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. และนำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของโจทก์หลังจากหมดงบประมาณแล้วและโจทก์ก็เคยรับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมากรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงานหาใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามมาตรา396ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ เป็น ส่วนราชการ ของ โจทก์ มี จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้บังคับบัญชา ของ ข้าราชการตำรวจ ใน จังหวัด ศรีสะเกษ และ มี หน้าที่ บริหาร งบประมาณ รายจ่าย ที่ โจทก์ จัดสรร มา ให้ เพื่อ จัดซื้อ น้ำมันเชื้อเพลิง และ น้ำมันหล่อลื่นแทน โจทก์ จำเลย ที่ 2 ทำ หน้าที่ พลาธิการ มี หน้าที่ เกี่ยวกับการ ดำเนินการ จัดซื้อ วัสดุ ครุภัณฑ์ รวมทั้ง น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเชื้อเพลิง โดย เสนอ อนุมัติ การ ดำเนินการ จาก จำเลย ที่ 1และ มี หน้าที่ ควบคุม ให้ จำเลย ที่ 3 จัดทำ บันทึก การ เลิก จ่ายน้ำมันหล่อลื่น จำเลย ที่ 1 ดำเนินการ จัดซื้อ น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันหล่อลื่น จาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย ครบถ้วน ตาม จำนวนเงิน งบประมาณ ประจำปี 2526 แล้ว แต่ ยัง ได้ สั่ง ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง และ น้ำมันหล่อลื่น ใน นาม ของ โจทก์ เพิ่ม อีก 298 ครั้งเป็น เงิน 1,098,993.83 บาท โดย ไม่ได้ รับ อนุมัติ จาก โจทก์ เป็นการกระทำ โดย ปราศจาก อำนาจ ขัด กับ ความ ประสงค์ อัน แท้จริง ของ โจทก์เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ต้อง ชำระ ค่า น้ำมันเชื้อเพลิง และ น้ำมันหล่อลื่นพร้อม ดอกเบี้ย ค่าฤชาธรรมเนียม และ ค่า ทนายความ รวมเป็น เงิน1,226,474.14 บาท แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย ขอให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ เงิน แก่ โจทก์ จำนวน 1,226,474.14 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 19 มกราคม 2530จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า การ จัดซื้อ น้ำมันเชื้อเพลิง ต้อง จัดซื้อ โดย วิธีการ ซื้อ เชื่อ เมื่อ ได้รับ เงิน จัดสรร มา แล้ว ก็ เบิกจ่ายใช้ หนี้ ให้ แก่ ผู้ขาย หาก ได้ มา ไม่พอ จะ ชำระ บางส่วน และ ติด ค้างชำระส่วน ที่ เหลือ พร้อม กับ ขอ ซื้อ เชื่อ ต่อไป จนกว่า จะ ได้รับ เงิน จัดสรรงวด ต่อไป ปฏิบัติ เช่นนี้ มา โดย ตลอด โดย ไม่ต้อง ขออนุมัติ จาก โจทก์เพราะ จำเลย ที่ 1 เป็น ตัวแทน โจทก์ ใน การ บริหาร งาน ของ กอง กำกับ การตำรวจ ภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ จำเลย ที่ 1 กระทำ ไป เพื่อ มิให้ การ ปฏิบัติ หน้าที่ ที่ ต้อง ใช้ รถยนต์ หยุด ชะงัก การ ที่ โจทก์ ต้อง ชำระหนี้ค่า น้ำมัน แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น มิใช่ ความผิด ของ จำเลย ที่ 1 ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่มี ส่วน เกี่ยวข้อง กับหนี้ ตาม ฟ้อง ที่ จะ ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 รับผิด ต่อ โจทก์หาก จะ ต้อง รับผิด ก็ เป็น เรื่อง ละเมิด และ โจทก์ ฟ้อง จำเลย เกิน 1 ปีนับแต่ วัน รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้รับผิด คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 3 มี หน้าที่ เพียง ตรวจสอบการ ยื่นฎีกา เบิก น้ำมันเชื้อเพลิง และ น้ำมันหล่อลื่น เพื่อ เสนอ ต่อจำเลย ที่ 2 และ ที่ 1 ตามลำดับ จำเลย ที่ 3 ไม่มี ส่วน เกี่ยวข้องใน การ อนุมัติ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 3 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ชดใช้ เงิน1,226,474.14 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 19 มกราคม 2530 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ยกฟ้อง จำเลย ที่ 2และ ที่ 3
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ ให้ยก ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ด้วย
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ใน ประการ แรก ว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 มีอำนาจ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของจำเลย ที่ 1 หรือไม่ โดย โจทก์ ฎีกา ใน ข้อ นี้ ว่า จำเลย ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ ต่อ ศาลชั้นต้น เมื่อ วันที่ 16 เมษายน 2535 ศาล มี คำสั่ง ว่ารับ อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 สำเนา ให้ โจทก์ แก้ และ ให้ จำเลย ที่ 1นำ ส่ง ภายใน 7 วัน ถ้า ไม่มี ผู้รับ ให้ ปิด จำเลย ที่ 1 ไม่นำ ส่ง ตามคำสั่ง ของ ศาล ปรากฎ ตาม รายงาน ของ เจ้าหน้าที่ศาล ลงวันที่ 28พฤษภาคม 2535 จึง ถือว่า จำเลย ที่ 1 ทิ้งฟ้อง อุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ต้อง มี คำสั่ง ว่า จำเลย ที่ 1 ทิ้งฟ้อง อุทธรณ์ และให้ จำหน่ายคดี เสีย จาก สารบบความ โดย ไม่มี อำนาจ ที่ จะ วินิจฉัย ฟ้องอุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 เห็นว่า อำนาจ สั่ง จำหน่ายคดี ใน กรณี ทิ้งฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 นั้น กฎหมาย ให้อำนาจศาล ไว้ เพื่อ ใช้ ตาม ควร แก่ กรณี ไม่ใช่ เป็น บทบัญญัติ บังคับ ว่าจะ ต้อง จำหน่ายคดี เสมอ ไป ถ้า ศาล ใช้ ดุลพินิจ ไม่ สั่ง จำหน่ายคดีก็ ต้อง วินิจฉัยชี้ขาด ตัดสิน คดี ไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 133 การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย คดี ไป โดย มิได้ สั่งจำหน่าย ฟ้องอุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 นั้น เป็น การ ใช้ ดุลพินิจ ตาม ควรแก่ กรณี แล้ว และ มีอำนาจ วินิจฉัย ฟ้องอุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 ได้ ตามกฎหมาย ฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ต่อไป มี ว่า ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 ขาดอายุความ แล้วหรือไม่ โจทก์ ฎีกา ใน ข้อ นี้ ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2ยัง ไม่ขาดอายุความ เนื่องจาก ตาม คำฟ้อง โจทก์ ใช้ สิทธิ ไล่เบี้ยเอา แก่ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง มี อายุความ 10 ปี เห็นว่า ตาม ฟ้องโจทก์บรรยายฟ้อง พอ สรุป ได้ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ละเว้น ไม่ปฏิบัติ ตามระเบียบ และ คำสั่ง ของ โจทก์ โดย ละเว้น ไม่ ควบคุม ดูแล และ ไม่ ตรวจสอบติดตาม ว่า ใน ปีงบประมาณ 2526 กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ ใช้ เงิน จัดซื้อ น้ำมันเชื้อเพลิง และ น้ำมันหล่อลื่น ไป เกินกว่า งบประมาณ ที่ โจทก์ จัดสรร มา ให้ เป็น จำนวน 1,098,993.83 บาทโดย ไม่ รายงาน ให้ จำเลย ที่ 1 ทราบ และ ทำให้ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้รายงาน ถึง หนี้ จำนวน ดังกล่าว ให้ โจทก์ ทราบ ก่อน สิ้นปีงบประมาณ2526 ทำให้ โจทก์ ไม่สามารถ ขออนุมัติ งบประมาณ เพิ่มเติม เป็นเหตุให้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ โจทก์ ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย จำเลย ที่ 2 ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 1และ ที่ 3 ชดใช้ เงิน จำนวน ดังกล่าว คืน โจทก์ ซึ่ง เป็น การ ฟ้อง ให้รับผิด ใน ลักษณะ ละเมิด ต้อง ฟ้อง ภายใน หนึ่ง ปี นับแต่ วันที่ โจทก์ รู้ ถึงการ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ทางพิจารณาแม้ จะ ไม่ ปรากฎ ว่า โจทก์ ได้ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อไร ก็ ตาม แต่ ได้ความ ตาม หนังสือมอบอำนาจ ให้ ฟ้องคดี เอกสาร หมาย ป.จ. 1 ว่า โจทก์ โดย พลตำรวจเอก ณรงค์ มหานนท์ ได้ มอบอำนาจ ให้ นาย จำลอง ราษฎร์ประเสริฐ ผู้ว่าราชการจังหวัด ศรีสะเกษ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม เป็น คดี นี้ เมื่อ วันที่ 15 เมษายน 2530ซึ่ง ถือได้ว่า เป็น วันที่ โจทก์ ได้ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้ จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ตั้งแต่ วันที่ ดังกล่าว แล้ว แต่ โจทก์ เพิ่งมา ฟ้องคดี นี้ ใน วันที่ 13 กรกฎาคม 2531 ซึ่ง เกินกว่า หนึ่ง ปี ไป แล้วฟ้องโจทก์ จึง ขาดอายุความ และ กรณี เช่นนี้ หาใช่ เป็น การ ที่ โจทก์ใช้ สิทธิ ฟ้อง ไล่เบี้ย เอา แก่ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง มี อายุความ 10 ปี ดัง ที่โจทก์ กล่าวอ้าง ใน ฎีกา ไม่ ฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
ปัญหา ต่อไป มี ว่า จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง รับผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 396 หรือไม่ โจทก์ ฎีกา ในข้อ นี้ ว่า เงิน งบประมาณ เมื่อ ได้รับ มา แล้ว จำเลย ที่ 1 จะ ตั้ง กรรมการพิจารณา ว่า จะ จัดสรร เงิน นั้น ไป จ่าย ใน ส่วน ใด บ้าง แล้ว เสนอ ไป ยังกองบังคับการ ตาม ขั้นตอน จน ถึง โจทก์ เมื่อ ใช้ จ่ายเงิน งบประมาณ ที่ได้รับ อนุมัติ หมด แล้ว จะ ไป ก่อหนี้ ผูกพัน ภายใน ปีงบประมาณ ไม่ได้หาก งบประมาณ ไม่พอ ต้อง ทำ เรื่อง ของ งบประมาณ เพิ่มเติม เสนอผู้บังคับบัญชา ไป ตามลำดับ ขั้น การ ที่ จำเลย ที่ 1 ก่อหนี้ ผูกพันค่า น้ำมันเชื้อเพลิง และ ค่า น้ำมันหล่อลื่น ใน ปีงบประมาณ 2526 จำนวน1,098,993.83 บาท โดย ไม่ได้ ของ งบประมาณ เพิ่มเติม จาก โจทก์ ก่อนเป็น การ เข้า จัดการ อันเป็น การ ขัด ความ ประสงค์ อัน แท้จริง ของ โจทก์หรือ ขัด กับ ความ ประสงค์ ตาม ที่ จะ พึง สันนิษฐาน ได้ จำเลย ที่ 1 ต้อง ใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ เพื่อ ความเสียหาย อัน เกิด แต่ การ ที่ ได้จัดการ นั้น เห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 396บัญญัติ ว่า “ถ้า การ ที่ เข้า จัดการ งาน นั้น เป็น การ ขัด กับ ความ ประสงค์อัน แท้จริง ของ ตัวการ ก็ ดี หรือ ขัด กับ ความ ประสงค์ ตาม ที่ พึง สันนิษฐานได้ ก็ ดี และ ผู้จัดการ ก็ ควร จะ ได้ รู้สึก เช่นนั้น แล้ว ด้วย ไซร์ท่าน ว่า ผู้จัดการ จำต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ ตัวการ เพื่อความเสียหาย อย่างใด ๆ อัน เกิด แต่ ที่ ได้ เข้า จัดการ นั้น แม้ ทั้งผู้จัดการ จะ มิได้ มี ความผิด ประการอื่น ” หมายความ ว่า ผู้จัดการ ได้เข้า จัดการ งาน อันเป็น การ ขัด ความ ประสงค์ อัน แท้จริง ของ ตัวการ หรือขัด กับ ความ ประสงค์ ที่ พึง สันนิษฐาน ได้ ทั้ง ๆ ที่ รู้ อยู่ แล้ว ว่าตัวการ ไม่ประสงค์ เช่นนั้น หรือ น่า จะ รู้ ว่า ตัวการ ไม่ประสงค์ เช่นนั้นแต่ ข้อเท็จจริง ปรากฎ ว่า น้ำมันเชื้อเพลิง และ น้ำมันหล่อลื่น ที่จำเลย ที่ 1 จัดซื้อ จาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย นั้น จำเลย ที่ 1ใน ฐานะ ผู้กำกับการตำรวจ ภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ ได้ สั่ง ซื้อ ไป ใช้ ใน ราชการ ของ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ ซึ่ง เป็น หน่วยงาน ใน สังกัด ของ โจทก์ และ ทาง จังหวัด ศรีสะเกษ ก็ เคย มี หนังสือ แจ้ง ให้ โจทก์ จัดสรร งบประมาณ เพื่อ นำ ไป ชำระหนี้ ให้ แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย แต่ โจทก์ ไม่ได้ ดำเนินการ ใด ๆ ซึ่ง ก่อนหน้า นี้ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ ก็ เคย เป็น หนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย หลาย ครั้ง เมื่อ ทาง จังหวัด ศรีสะเกษ รายงาน เรื่อง ไป ให้ โจทก์ ทราบ โจทก์ จัดสรร งบประมาณ ไป ชำระหนี้ ทุกครั้ง ดังนี้ แม้ ว่า จำเลย ที่ 1 จะ จัดซื้อ น้ำมันเชื้อเพลิง และ น้ำมันหล่อลื่น จาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย หลังจาก หมด งบประมาณ ที่ โจทก์ จัดสรร มา ให้ ใน ปีงบประมาณ 2526 แล้ว ก็ ตามน้ำมันหล่อลื่น จาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย หลังจาก หมด งบประมาณ ที่ โจทก์ จัดสรร มา ให้ ใน ปีงบประมาณ 2526 แล้ว ก็ ตาม แต่ ก็ เป็นการ จัดซื้อ มา เพื่อ ใช้ ใน ราชการ ของ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ ตาม ที่ เคย ปฏิบัติ มา และ โจทก์ เอง ก็ รับ รู้ และ ยอมรับ ข้อ ปฏิบัติ ดังกล่าว กรณี จึง เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1 ทำ ไป ตาม อำนาจหน้าที่ ใน ฐานะ ผู้กำกับการตำรวจ ภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ ซึ่ง มี หน้าที่ บริหาร งาน ของ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ แทน โจทก์ หาใช่ ทำ ไป โดย ขัด กับ ความ ประสงค์ อัน แท้จริง ของ โจทก์ ดัง ที่ โจทก์กล่าวอ้าง ไม่ จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้ แก่ โจทก์ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย
พิพากษายืน

Share