คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็น กรรมการลูกจ้างและเป็นประธานสหภาพแรงงาน พ. ลาหยุดงานเพื่อไปแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานให้แก่ลูกจ้างของบริษัท ม. โดยลูกจ้างของบริษัทดังกล่าวมิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน พ. ด้วยนั้นมิใช่เป็นการลาไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานตามกฎหมายแต่เป็นการลากิจทั่วไปเมื่อผู้คัดค้านมิได้ลาหรือมิได้รับอนุญาตให้ลาจากผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและได้หยุดงานเป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควรผู้ร้องจึงมีสิทธิ เลิกจ้างผู้คัดค้านได้โดยชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(5)

ย่อยาว

ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ขอให้ ศาลแรงงานกลาง อนุญาต ให้ ผู้ร้องเลิกจ้าง ผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า ผู้ร้อง มีสิทธิ เลิกจ้างผู้คัดค้าน ได้ โดยชอบ จึง มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ผู้ร้อง เลิกจ้างผู้คัดค้าน ได้
ผู้คัดค้าน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหาต้อง วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ผู้คัดค้าน ว่า การ ที่ ผู้คัดค้าน ได้ หยุดงานเพื่อ ไป แก้ไข ปัญหา ข้อพิพาท แรงงาน ที่ เกิดขึ้น ระหว่าง บริษัท มณฑินีการ์เม้นท์ จำกัด กับ ลูกจ้าง ของ บริษัท ดังกล่าว ใน ช่วง ระยะเวลา ที่ ศาลแรงงานกลาง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า ผู้คัดค้าน มิได้ ลาตาม ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ ผู้ร้อง ว่าด้วย การ ลาเป็น กิจการ สหภาพแรงงาน ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 102 จะ นำ ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ ผู้ร้อง ว่าด้วยการ ลา มา ใช้ บังคับ ได้ หรือไม่ นั้น เห็นว่า ข้อกฎหมาย ดังกล่าวบัญญัติ ว่า “ลูกจ้าง ซึ่ง เป็น กรรมการ สหภาพแรงงาน มีสิทธิ ลา เพื่อไป ดำเนิน กิจการ สหภาพแรงงาน ใน ฐานะ ผู้แทน ลูกจ้าง ใน การ เจรจาการ ไกล่เกลี่ย และ การ ชี้ขาด ข้อพิพาท แรงงาน และ มีสิทธิ ลา เพื่อ ไปร่วม ประชุม ตาม ที่ ทางราชการ กำหนด ได้ ทั้งนี้ ให้ ลูกจ้าง ดังกล่าวแจ้ง ให้ นายจ้าง ทราบ ล่วงหน้า ถึง เหตุ ที่ ลา โดยชัดแจ้ง พร้อม ทั้งแสดง หลักฐาน ที่ เกี่ยวข้อง ถ้า มี และ ให้ ถือว่า วัน ลา ของ ลูกจ้าง นั้นเป็น วันทำงาน ” แม้ จะ มี ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง ตาม เอกสาร หมายร.ค.1, ร.ค.2 และ ร.ค.17 แต่ เอกสาร ทั้ง สาม ฉบับ ดังกล่าว มิได้กำหนด ยกเว้น ว่า ไม่ต้อง ลา เพียงแต่ กำหนด จำนวน วันที่ มีสิทธิ ลา ได้เท่านั้น และ เอกสาร ทั้ง สาม ฉบับ เป็น การ ให้สิทธิ ลา ไป ดำเนิน กิจกรรมสหภาพแรงงาน ส่วน คำ ว่า กิจกรรม สหภาพแรงงาน มี ความหมาย เพียงใดย่อม ต้อง เป็น แนว ทาง เดียว กับ ที่ บัญญัติ ไว้ ใน บท กฎหมาย ดัง ที่ กล่าวมา แล้ว คือ ใน ฐานะ ผู้แทน ลูกจ้าง ใน การ เจรจา การ ไกล่เกลี่ย และการ ชี้ขาด ข้อพิพาท แรงงาน ที่ ผู้คัดค้าน กล่าว ใน อุทธรณ์ ว่า กิจกรรมสหภาพแรงงาน ตาม ความหมาย ใน ข้อตกลง ดังกล่าว มี ความหมาย รวม ถึง กิจกรรมที่ สหภาพแรงงาน กระทำ ต่อ ลูกจ้าง ที่ เป็น สมาชิก และ ไม่เป็น สมาชิกตลอดจน ลูกจ้าง ของ นายจ้าง อื่น ที่ มี กิจการ ประเภท เดียว กัน ด้วย นั้นหาก จะ ให้ หมายความ เช่นนั้น น่า จะ กำหนด ไว้ ใน ข้อตกลง นั้น ด้วยเมื่อ ไม่ได้ กำหนด ไว้ ก็ ต้อง หมายความ ถึง สหภาพแรงงาน พาร์การ์เม้นท์ ที่ ผู้คัดค้าน เป็น กรรมการ อยู่ เท่านั้น มิใช่ หมายถึง การ ร่วม กิจกรรมของ สหภาพแรงงาน อื่น ที่ มี กิจการ ประเภท เดียว กัน ทั้ง ไม่ปรากฏ ว่าผู้คัดค้าน ไป ร่วม ชุมนุม กับ ลูกจ้าง ของ บริษัท มณฑินีการ์เม้นท์ จำกัด ใน ฐานะ ผู้แทน ลูกจ้าง เพื่อ กระทำการ ตาม ที่ กฎหมาย บัญญัติ ไว้จึง ไม่ เข้า กรณี ตาม ที่ กฎหมาย บัญญัติ และ ตาม ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพ การจ้าง ที่ ผู้คัดค้าน อ้าง ที่ ศาลแรงงานกลาง พิพากษา นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย อุทธรณ์ ของ ผู้คัดค้าน ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share