แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476 จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันจึงไม่มีประเด็นว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย คดีมี ประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. หรือไม่และถ้าเป็นสินสมรสแล้ว ป. ได้ให้ความยินยอมในการทำ สัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ซึ่งโจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่8ธันวาคม2532จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ก่อนแก้ไขในปี2533การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดชี้สองสถานและ งดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาคดีไปนั้นเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดและเป็นการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ที่แก้ไขแล้วในปี2533จึงยังไม่ถูกต้องศาลชั้นต้นต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. หรือไม่และ ป. ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่แล้วจึงพิพากษาตามรูปคดี
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ จำเลย ได้ ตกลง ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินใน ราคา 144,000 บาท วาง มัดจำ ใน วัน ทำ สัญญา 40,000 บาท ที่ เหลือจะ ไป ชำระ ใน วัน ซื้อ ขาย และ โอน ที่ดิน ใน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2533เมื่อ ถึง กำหนด จำเลย ไม่ยอม โอน ขาย ที่ดิน ให้ อ้างว่า ภริยา ไม่ยินยอมให้ ขาย ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย จึง ขอให้ บังคับ จำเลย ไปจดทะเบียน ซื้อ ขาย โอน ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. 3 ก) เลขที่ 816 ให้ โจทก์ ใน ราคา 144,000 บาท หาก จำเลยไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา และ ให้ จำเลยชำระ ดอกเบี้ย ใน ส่วน ค่าเสียหาย จำนวน 8,950 บาท
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ฟ้องคดี โดย ไม่ได้ รับ ความ ยินยอมจาก ภริยา จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ที่ดินพิพาท เป็น สินสมรส อัน จะ ต้องจัดการ ร่วม กับ นาง ปาน ภริยา จำเลย ซึ่ง โจทก์ รู้ อยู่ ก่อน แล้ว ฉะนั้น สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท ซึ่ง ไม่ได้ รับ ความ ยินยอม จากนาง ปาน จึง เป็น โมฆะ ไม่มี ผลบังคับ ขอให้ ยกฟ้อง
ก่อน ชี้สองสถาน โจทก์ แถลง ขอ สละ สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายตาม คำขอ ท้ายฟ้อง ข้อ 2 กับ ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง งดชี้สองสถาน และ งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย แล้วพิพากษา ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน ซื้อ ขาย โอน ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก) เลขที่ 816 หน้า 16 ตำบล กลัดหลวง (เขากระปุก) อำเภอ ท่ายาง จังหวัด เพชรบุรี ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 144,000 บาท ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน เอกสารท้ายฟ้อง หมายเลข 1 หาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดงเจตนา แทน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ราคา ทรัพย์สิน ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกาไม่เกิน สอง แสน บาท ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง จำเลย ฎีกา ได้เฉพาะ ข้อกฎหมาย ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตามข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวนซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง มา ว่า โจทก์ ไม่ได้ รับ ความ ยินยอมจาก ภริยา ให้ ฟ้องคดี นี้ จึง มี ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ จะ ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ใน ประการ แรก ว่า การ ที่ โจทก์ ฟ้องคดี โดย ไม่ได้ รับความ ยินยอม จาก คู่สมรส นั้น โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ เห็นว่าตาม กฎหมาย มิได้ บัญญัติ ว่า ถ้า สามี ฟ้องคดี จะ ต้อง ได้รับ ความ ยินยอมจาก ภริยา เสีย ก่อน ทุก กรณี คู่สมรส ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด ฟ้องคดี ต้อง ได้รับความ ยินยอม จาก อีกฝ่าย หนึ่ง ก็ เฉพาะ การ ฟ้องคดี เกี่ยวกับ สินสมรสซึ่ง เป็น ทรัพย์สิน ที่ ทั้ง สอง ฝ่าย ต้อง จัดการ ร่วมกัน ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ใน มาตรา 1476 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับ คดี นี้ปรากฏว่า จำเลย ให้การ แต่เพียง ว่า โจทก์ ฟ้องคดี โดย ไม่ได้ รับความ ยินยอม จาก ภริยา โดย ไม่ได้ ให้การ ต่อสู้ ว่า โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เป็นการ ฟ้อง เกี่ยวกับ สินสมรส ที่ โจทก์ กับ ภริยา ต้อง จัดการ ร่วมกัน ตาม ที่บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา ดังกล่าว จึง ไม่มี ประเด็น ข้อโต้เถียง ว่า ทรัพย์สินที่ โจทก์ ฟ้อง เป็น สินสมรส อัน จะ ต้อง ได้รับ ความ ยินยอม จาก อีกฝ่ายดังนั้น โจทก์ ย่อม ฟ้องคดี นี้ ได้ โดย ไม่ต้อง ได้รับ ความ ยินยอม จาก ภริยาเสีย ก่อน ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ต่อไป ว่า ที่พิพาท เป็น สินสมรส ระหว่าง จำเลย และ นาง ปาน หรือไม่ และ นาง ปาน ได้ ให้ ความ ยินยอม ใน การ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย หรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า โจทก์ และ จำเลย ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาท เมื่อ วันที่ 8 ธันวาคม 2532 จึง ต้อง บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 ก่อน แก้ไข ใน ปี 2533 ซึ่งบัญญัติ ว่า “ใน การ จัดการ สินสมรส ถ้า คู่สมรส ฝ่ายหนึ่ง ได้ ทำนิติกรรมไป โดย ปราศจาก ความ ยินยอม ของ อีกฝ่าย หนึ่ง นิติกรรม นั้น จะ สมบูรณ์ต่อเมื่อ อีกฝ่าย หนึ่ง ได้ ให้ สัตยาบัน ” หาก ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าที่พิพาท เป็น สินสมรส ระหว่าง จำเลย กับ นาง ปาน และ นาง ปาน มิได้ ให้ ความ ยินยอม ใน การ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย นิติกรรม ดังกล่าว ย่อมไม่สมบูรณ์ โจทก์ จะ ฟ้องบังคับ ให้ จำเลย โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ ตาม สัญญามิได้ ดังนั้น จึง ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ให้ ได้ความ แน่ชัด เสีย ก่อน ว่าที่พิพาท เป็น สินสมรส ระหว่าง จำเลย กับ นาง ปาน หรือไม่ ถ้า เป็น สินสมรส แล้ว นาง ปาน ได้ ให้ ความ ยินยอม ด้วย หรือไม่ ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง งดชี้สองสถาน และ งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย แล้ว พิพากษา มา นั้น เป็น การวินิจฉัย คดี โดย ยัง มิได้ ฟัง ข้อเท็จจริง ให้ แน่ชัด ดังกล่าว ข้างต้น ทั้งยัง เป็น การ วินิจฉัย ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 ที่ แก้ไข แล้ว ใน ปี 2533 จึง ยัง ไม่ถูกต้อง กรณี มีเหตุ สมควรย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนิน กระบวนพิจารณา และ พิพากษา ใหม่ตาม รูปคดี ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วยฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังขึ้น ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น และ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ตลอดจน คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ ให้ งดชี้สองสถาน และ งดสืบพยาน โจทก์จำเลย ให้ ศาลชั้นต้น ชี้สองสถาน และ สืบพยานโจทก์ จำเลย ใน ปัญหา ที่ ว่าที่พิพาท เป็น สินสมรส ระหว่าง จำเลย กับ นาง ปาน หรือไม่ และ นาง ปาน ได้ ให้ ความ ยินยอม ใน การ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย หรือไม่ แล้ว พิพากษา ใหม่ตาม รูปคดี