คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยที่1ฎีกาว่าจำเลยที่1ทำหนังสือถึงภริยาโจทก์เมื่อวันที่26ตุลาคม2531เล่าเรื่องเกี่ยวกับหนี้สินของโจทก์โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามหนังสือมอบอำนาจวันที่5ตุลาคม2532จำเลยที่1นำที่ดินทั้งสามแปลงไปจำนองธนาคารเมื่อวันที่6ธันวาคม2533โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่11กันยายน2533นับจากวันฟ้องถึงวันจำนองเป็นเวลา1ปี7เดือน4วันโดยมิได้บรรยายว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อใดอันจะเป็นเหตุทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ฎีกาของจำเลยที่1จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคแรก

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264, 265, 267, 268, 341, 83
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฎิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 วรรคสอง , 267, 268, และ 341 เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมายหลายบท แต่ละ บท มี โทษ เท่ากัน ให้ ลงโทษ ฐาน ใช้ เอกสารปลอม ตามมาตรา 268 วรรคสอง กระทง เดียว จำคุก 1 ปี ยกฟ้อง โจทก์ เฉพาะจำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ปรับ จำเลย ที่ 1อีก สถาน หนึ่ง เป็น เงิน 5,000 บาท โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มีกำหนด 2 ปี ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ จำเลย ที่ 1 มี เพียง ว่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ ฎีกา ของจำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ จำเลย ที่ 1 บรรยาย ใจความ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ทำหนังสือ ถึง ภริยา โจทก์ เล่าเรื่อง ราว เกี่ยวกับ หนี้สิน ของ โจทก์ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2531 โจทก์ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตาม หนังสือมอบอำนาจวันที่ 5 ตุลาคม 2532 จำเลย ที่ 1 นำ ที่ดิน ทั้ง สาม แปลง ไป จำนองกับ ธนาคาร กรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด เมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 2533โจทก์ ฟ้องคดี เมื่อ วันที่ 11 กันยายน 2533 นับ จาก วัน จำนอง ถึงวันฟ้อง เป็น เวลา 1 ปี 7 เดือน 4 วัน ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญาฐาน ฉ้อโกง ตาม มาตรา 341 และ ความผิด เกี่ยวกับ เอกสาร ตาม มาตรา 264และ มาตรา อื่น ๆ เป็น ความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหาย มิได้ ร้องทุกข์ภายใน สาม เดือน นับแต่ วันที่ รู้ เรื่อง ความผิด และ รู้ตัว ผู้กระทำความผิด คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ เห็นว่า ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1ดังกล่าว จำเลย ที่ 1 มิได้ บรรยาย ว่า โจทก์ รู้ เรื่อง ความผิด และรู้ตัว ผู้กระทำ ความผิด เมื่อใด อัน จะ เป็นเหตุ ทำให้ คดี ของ โจทก์ขาดอายุความ หรือไม่ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 จึง เป็น ฎีกา ที่ ไม่ ชัดแจ้งไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคแรกประกอบ มาตรา 225 ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย

Share