คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์จะเป็นที่สุดแต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องต่อศาลในการพิจารณาว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวกฎหมายให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา221บัญญัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530ซึ่งในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยถึงที่สุดของคชก.ตำบลจะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลโดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งหรือไม่มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของคชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้เช่า นา จำเลย ซื้อ ที่นา พิพาท จากเจ้าของ เดิม ผู้ให้เช่า โดย ไม่ได้ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ โจทก์ ขอ ซื้อ คืนจำเลย ปฏิเสธ โจทก์ ยื่น เรื่องราว ต่อ คณะกรรมการ เช่า ที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม ประจำ ตำบล (คชก. ตำบล ) วินิจฉัย คชก. ตำบล มี มติ ให้ โจทก์มีสิทธิ ซื้อ ที่นา พิพาท คืน จำเลย มิได้ อุทธรณ์ คำวินิจฉัย เป็น ที่สุดขอให้ บังคับ จำเลย จดทะเบียน โอน ที่นา พิพาท แก่ โจทก์ ใน ราคา 216,000 บาท จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ได้ เป็น ผู้เช่า ที่นา พิพาท จึง ไม่มีอำนาจฟ้อง การ ซื้อ ขาย ที่นา พิพาท ไม่อยู่ ใน บังคับ ของ พระราชบัญญัติการเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม การ ยื่น เรื่องราว ต่อ คชก. ตำบลและ มติ ของ คชก. ตำบล ไม่ชอบ ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง โจทก์ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย จดทะเบียน โอน ขาย ที่นา พิพาทแก่ โจทก์ ใน ราคา 216,000 บาท (ไร่ ละ 8,000 บาท ) จำเลย ฎีกา ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ เป็น ผู้เช่า ที่นา พิพาท มติ คชก. ตำบลชอบแล้ว และ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ จำเลย โอน ขาย ที่นา พิพาท ให้ โจทก์ ใน ราคา 216,000 บาท ไม่ชอบ เพราะจำเลย ซื้อ ที่นา พิพาท จาก ผู้ขาย ใน ราคา 630,000 บาท ข้อ นี้ โจทก์ ฟ้อง ว่าจำเลย ซื้อ ที่นา พิพาท ไร่ ละ 8,000 บาท รวม เงิน 216,000 บาท ขอให้บังคับ ให้ จำเลย ขาย ที่ดิน ให้ โจทก์ ใน ราคา ดังกล่าว เห็นว่าพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา54 วรรคหนึ่ง บัญญัติ ว่า “ถ้า ผู้ให้เช่า นา ขาย นา ไป โดย มิได้ ปฏิบัติตาม มาตรา 53 ไม่ว่า นา นั้น จะ ถูก โอน ต่อไป ยัง ผู้ใด ผู้เช่า นา มีสิทธิซื้อ นา จาก ผู้รับโอน นั้น ตาม ราคา และ วิธีการ ชำระ เงิน ที่ ผู้รับโอนซื้อ ไว้ หรือ ตาม ราคา ตลาด ใน ขณะ นั้น แล้วแต่ ราคา ใด จะ สูง กว่า กัน “ฉะนั้น คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ชาย นา ที่ ให้ โจทก์ ซื้อ ที่นา พิพาทจาก จำเลย ใน ราคา ที่ นาง พยุง ขาย ให้ จำเลย จึง ไม่ต้อง ด้วย บท กฎหมาย ดังกล่าว เพราะ โจทก์ มีสิทธิ ซื้อ ที่นา พิพาท จาก จำเลย ใน ราคา ที่ จำเลยซื้อ ไว้ จาก นาง พยุง หรือ ตาม ราคา ตลาด ใน ขณะที่ มี การ ซื้อ ขาย กัน ตาม ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ ดังกล่าว คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ชาย นา นี้แม้ พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จะ บัญญัติใน มาตรา 56 วรรคสอง ว่า คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ที่ มิได้ อุทธรณ์ตาม มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ให้ เป็น ที่สุด และ ใน มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ว่าใน กรณี มี การ ฝ่าฝืน หรือไม่ ปฏิบัติ ตาม คำวินิจฉัย ดังกล่าว เมื่อ ผู้ มีส่วนได้เสีย ร้องขอ ต่อ ศาล ใน การ พิจารณา ของ ศาล ให้ ถือว่า คำวินิจฉัยดังกล่าว เป็น คำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ โดย ให้ นำ บทบัญญัติ ว่าด้วยการ พิจารณา พิพากษา ตาม คำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ ใน ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มา ใช้ บังคับ แก่ การ พิจารณา พิพากษา ตาม คำวินิจฉัยดังกล่าว ใน กรณี นี้ โดย อนุโลม ซึ่ง การ พิจารณา พิพากษา ดังกล่าว นี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 บัญญัติ ให้ เป็น ไป ตามกฎหมาย ว่าด้วย อนุญาโตตุลาการ คือ พระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 โดย พระราชบัญญัติ นี้ บัญญัติ ใน มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ว่าใน กรณี ที่ ศาล เห็นว่า คำชี้ขาด ใด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ ใช้ บังคับแก่ ข้อพิพาท นั้น หรือ เป็น คำชี้ขาด ที่ เกิดจาก การกระทำ หรือ วิธีการอัน มิชอบ อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือ มิได้ อยู่ ใน ขอบเขต แห่งสัญญา อนุญาโตตุลาการ ที่ มีผล ผูกพัน ตาม กฎหมาย หรือ คำขอ ของ คู่กรณีใน ศาล มีอำนาจ ทำ คำสั่ง ปฏิเสธ ไม่รับ บังคับ ตาม คำชี้ขาด นั้น ” และใน มาตรา 24 วรรคสอง ว่า “ใน กรณี ที่ คำชี้ขาด ใด มี ความ บกพร่อง อัน มิใช่สาระสำคัญ และ อาจ แก้ไข ให้ ถูกต้อง ได้ เช่น การ คำนวณ ตัวเลข หรือการ กล่าวอ้าง ถึง บุคคล หรือ ทรัพย์ สิ่ง ใด ผิดพลาด ไป ศาล อาจ แก้ไขให้ ถูกต้อง และ มี คำพิพากษา ให้ บังคับ ตาม คำชี้ขาด ที่ ได้ แก้ไข แล้วนั้น ได้ ” แต่ ก็ เห็น ได้ว่า การ นำ บทบัญญัติ ว่าด้วย การ พิจารณา พิพากษาตาม คำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ ดังกล่าว มา ใช้ บังคับ แก่ การ พิจารณาพิพากษา บังคับ ตาม คำวินิจฉัย ที่ ถึงที่สุด ของ คชก. ตำบล จะ ต้อง นำบทบัญญัติ ดังกล่าว มา ใช้ บังคับ เพียง เท่าที่ ไม่ ขัด ต่อ สภาพ ความชอบ ด้วยกฎหมาย ของ คำวินิจฉัย ที่ ถึงที่สุด ของ คชก. ตำบล โดยเฉพาะ ใน ข้อ ที่ ว่าราคา ที่ คชก. ตำบล วินิจฉัย ให้ ผู้รับโอน ขาย นา ให้ แก่ ผู้เช่า นาเป็น ราคา ตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง หรือไม่ มิใช่ ข้อ ที่ เป็น ดุลพินิจ เด็ดขาด ของคชก. ตำบล ใน การ พิจารณา ว่า จะ บังคับ ตาม คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล หรือไม่ศาล ต้อง พิจารณา ว่า ราคา ที่ คชก. ตำบล วินิจฉัย เป็น ราคา ตาม บทบัญญัติดังกล่าว หรือไม่ ถ้า มิใช่ ศาล ย่อม พิจารณา จาก พยานหลักฐาน และ กำหนดราคาให้ ถูกต้อง แล้ว พิพากษา ให้ บังคับ ให้ ขาย ตาม ราคา ที่ กำหนด ไป ได้แม้ การ พิพากษา ดังกล่าว จะ เป็น การ แก้ไข คำวินิจฉัย ที่ ถึงที่สุด ของคชก. ตำบล ซึ่ง มิใช่ เป็น การ แก้ไข ตาม มาตรา 24 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ดังนั้น ใน เมื่อ จำเลยต่อสู้ ว่า ซื้อ ที่พิพาท ใน ราคา 630,000 บาท จึง มี ปัญหา ที่ จะ ต้องวินิจฉัย ต่อไป ว่า โจทก์ มีสิทธิ ซื้อ ที่นา พิพาท จาก จำเลย ใน ราคา ใดเมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ใน ขณะที่ นาง พยุง ขาย ที่นา พิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่นา พิพาท มี ราคา ตลาด ไร่ ละ 13,000 บาท โจทก์ จึง ต้อง ซื้อ คืนใน ราคา ดังกล่าว และ ศาลฎีกา เห็นสมควร กำหนด เวลา ให้ โจทก์ ชำระ ราคาที่ จะ ขอ ซื้อ คืน ด้วย พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ โจทก์ ซื้อ ที่นา พิพาท จาก จำเลย ใน ราคาไร่ ละ 13,000 บาท โดย ให้ โจทก์ ชำระ ราคา ภายใน หก สิบ วัน นับแต่ วัน มีคำพิพากษา ของ ศาลฎีกา มิฉะนั้น ให้ ถือว่า โจทก์ ไม่ติดใจ ขอ ซื้อ คืนนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share