แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่าการประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการใช้รถลากจูงหรือผลักดันเว้นแต่รถที่ถูกลากจูงหรือผลักดันได้ประกันภัยไว้กับจำเลยด้วยนั้นเมื่อโจทก์ผู้เอาประกันภัยได้กระทำผิดเงื่อนไขก็ไม่อยู่ในขอบเขตแห่งความคุ้มครองจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำผิดเงื่อนไขหรือไม่ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยได้สละเงื่อนไขตามข้อยกเว้นความรับผิดจำเลยให้การว่าไม่ต้องรับผิดเพราะโจทก์กระทำผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงมี ประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์กระทำผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นว่าจำเลยได้สละเงื่อนไขแล้วหรือไม่แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็มิชอบฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 13 กันยายน 2532 โจทก์ ประกันภัยรถยนต์บรรทุก คัน หมายเลข ทะเบียน 70-0077 พระนครศรีอยุธยา กับ จำเลยมี กำหนด 1 ปี เริ่ม ตั้งแต่ วันที่ 13 กันยายน 2532 ถึง วันที่13 กันยายน 2533 โดย มี ข้อกำหนด ใน สัญญา ว่า หาก เกิด ความเสียหายต่อ รถยนต์ คัน ที่ เอา ประกันภัย ไว้ จำเลย จะ ชดใช้ ให้ โจทก์ ไม่เกิน1,000,000 บาท และ หาก เกิด ความเสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน ของ บุคคลภายนอกจำเลย ก็ จะ ชดใช้ ให้ ใน วงเงิน ไม่เกิน 250,000 บาท ต่อมา วันที่20 มิถุนายน 2533 ลูกจ้าง ของ โจทก์ ได้ ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว ไป ส่ง ของที่ อำเภอ ทุ่งสง จังหวัด นครศรีธรรมราช ด้วย ความ เร็ว สูง เป็นเหตุ ให้ เกิด เฉี่ยว ชน ราวสะพาน ของ กรมทางหลวง เสียหาย หลาย รายการ คิด เป็นค่าเสียหาย 60,000 บาท และ รถยนต์ คัน ที่ โจทก์ เอา ประกันภัย ไว้ ได้รับความเสียหาย อย่างมาก ซึ่ง อู่ ตีราคา เป็น ค่า อะไหล่ และ ค่าแรง ทั้งสิ้น700,000 บาท จำเลย ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย จึง ต้อง รับผิด ชดใช้ค่าเสียหาย ดังกล่าว แทน โจทก์ ตาม สัญญา แต่ จำเลย เพิกเฉย โจทก์ จึง ได้ดำเนินการ ซ่อม สะพาน ให้ แก่ กรมทางหลวง เสีย ค่าใช้จ่าย เป็น เงิน60,000 บาท ค่าซ่อม รถยนต์ คัน ที่ โจทก์ เอา ประกันภัย ไว้ 700,000 บาทและ ค่า ลาก จูง กับ ค่า บรรทุก อีก 26,500 บาท เมื่อ รวมกับ ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 795,709 บาท ขอให้บังคับ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 795,709 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 786,500 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจ เรียกค่าเสียหาย เพราะ เหตุ ว่า โจทก์ ยัง ไม่ได้ชำระ ค่าเสียหาย จำเลย ไม่ต้องรับผิด ใน ความเสียหาย เพราะ ใน ขณะ เกิดเหตุ รถยนต์ คัน หมายเลขทะเบียน 80-0077 (ที่ ถูก 70-0077) พระนครศรีอยุธยา ได้ ลาก จูงรถ คัน หมายเลข ทะเบียน 80-0078 (ที่ ถูก 70-0078) พระนครศรีอยุธยาซึ่ง รถ ที่ ถูก ลาก จูง นี้ มิได้ ทำ ประกันภัย ไว้ กับ จำเลย การ ลาก จูงดังกล่าว นี้ เป็น การกระทำ ผิด เงื่อนไข สัญญา กรมธรรม์ประกันภัยตาม ข้อ 2.13 และ ข้อ 2.13.4 ซึ่ง ระบุ ว่า การ ประกันภัย ตาม ข้อ 2.1,2.2 และ 2.3 ไม่ คุ้มครอง ความรับผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ ลาก จูง หรือผลักดัน เว้นแต่ รถ ที่ ถูก ลาก จูง หรือ ผลักดัน ได้ ทำ ประกัน ไว้ กับบริษัท ด้วย และ ตาม ข้อ 3.9 และ ข้อ 3.9.1 ระบุ ว่า การ ประกัน นี้ไม่ คุ้มครอง ถึง การ ใช้ ลาก จูง หรือ ผลักดัน เว้นแต่ รถ ที่ ถูก ลาก จูงหรือ ผลักดัน ได้ ทำ ประกัน ไว้ กับ บริษัท จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ตาม เงื่อนไข กรมธรรม์ประกันภัย ดังกล่าว นอกจาก นั้น ค่าเสียหาย ของสะพาน ไม่เกิน 5,000 บาท ค่า รถลาก ไม่เกิน 3,000 บาท และ ค่าซ่อมรถยนต์ ที่ เสียหาย ไม่เกิน 30,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ตาม กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย จ. 3ระบุ ว่า รายการ รถยนต์ ที่ เอา ประกันภัย คือ รถยนต์ ยี่ห้อ ฮีโน่ แบบ บรรทุก รับจ้าง เป็น ตัว ลาก สี ขาว ใช้ เป็น รถ ส่วนบุคคล หรือ รับจ้างหรือ ให้ เช่า และ ใน หมวด ที่ 2 การ คุ้มครอง ความรับผิด ต่อ บุคคลภายนอกข้อ 2.13 ได้ ยกเว้น การ รับผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ ลาก จูง หรือ ผลักดันเว้นแต่ รถ ที่ ถูก ลาก จูง หรือ ถูก ผลักดัน ได้ ประกันภัย ไว้ กับ บริษัทดัง ปรากฏ ตาม ข้อ 2.13.4 นอกจาก นั้น ใน หมวด ที่ 3 การ คุ้มครองความเสียหาย คือ รถยนต์ ข้อ 3.9.1 ก็ ระบุ ไว้ ทำนอง เดียว กัน ฉะนั้นแม้ โจทก์ จะ ประกันภัย รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 70-0077พระนครศรีอยุธยา ซึ่ง เป็น ตัว ลาก ไว้ กับ จำเลย แต่เมื่อ โจทก์ นำตัว ลาก นี้ไป ต่อ พ่วง กับ รถพ่วง คัน หมายเลข ทะเบียน 70-0078 พระนครศรีอยุธยาเป็น การ ผิด เงื่อนไข ใน กรมธรรม์ประกันภัย ดังกล่าว โจทก์ จะ ไม่ได้ รับ การคุ้มครอง ความรับผิด ต่อ บุคคลภายนอก คือ กรมทางหลวง และ ไม่ได้ รับ การคุ้มครอง ความเสียหาย ต่อ รถยนต์ ที่ เอา ประกันภัย ส่วน ที่ จำเลย เคย ยอมรับผิด ต่อ โจทก์ ทำนอง เดียว กัน 2 ครั้ง นั้น หาก จำเลย จะ เคย ยอมรับ ผิดจริง ก็ หา เป็น การแสดง ว่า จำเลย สละ หรือ ยกเลิก เงื่อนไข ดังกล่าว ไม่พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ ยุติ ว่า ขณะ เกิดเหตุรถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 70-0077 พระนครศรีอยุธยา ที่ โจทก์เอา ประกันภัย ไว้ กับ จำเลย ได้ ลาก จูง รถพ่วง คัน หมายเลข ทะเบียน 70-0078พระนครศรีอยุธยา ซึ่ง ไม่ได้ เอา ประกันภัย ไว้ กับ จำเลย มี ปัญหา วินิจฉัยตาม ที่ โจทก์ ฎีกา ข้อ แรก ว่า ข้อยกเว้น ความรับผิด ของ จำเลย ตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.13.4 และ ข้อ 3.9.1 จะ ต้อง เป็น กรณี ที่โจทก์ ได้ กระทำผิด เงื่อนไข โดย นำ รถยนต์ คัน ที่ เอา ประกันภัย ไว้ ไป ลาก จูงและ การ ลาก จูง นั้น เป็นเหตุ โดยตรง ที่ ทำให้ เกิด ความเสียหาย ต่อบุคคลภายนอก และ รถยนต์ คัน ที่ เอา ประกันภัย แต่ เหตุ คดี นี้ เกิดจากลูกจ้าง ของ โจทก์ ขับ รถ หลับ ใน และ ใช้ ความ เร็ว สูง แม้ ใน วันเกิดเหตุรถยนต์ คัน ที่ เอา ประกันภัย ของ โจทก์ จะ ไม่ได้ ลาก จูง รถ คัน อื่นรถ คัน ที่ เอา ประกันภัย ก็ ต้อง เฉี่ยว ชน ราวสะพาน อย่าง แน่นอน เห็นว่าการ ใช้ รถยนต์ ลาก จูง หรือ ผลักดัน รถ คัน อื่น เป็น พฤติการณ์ ที่ ทำให้เกิด ความ เสี่ยงภัย มาก ขึ้น และ ตาม กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย จ. 3หมวด 2 การ คุ้มครอง ความรับผิด ต่อ บุคคลภายนอก ข้อ 2.13.4 ระบุ ว่าการ ประกันภัย ตาม ข้อ 2.1, 2.2 และ 2.3 ไม่ คุ้มครอง ความรับผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ รถลาก จูง หรือ ผลักดัน เว้นแต่ รถ ที่ ถูก ลาก จูง หรือผลักดัน ได้ ประกันภัย ไว้ กับ จำเลย ด้วย และ ใน หมวด 3 การ คุ้มครองความเสียหาย ต่อ รถยนต์ ข้อ 3.9.1 ก็ ระบุ ว่า การ ประกันภัย นี้ไม่ คุ้มครอง การ ใช้ ลาก จูง หรือ ผลักดัน เว้นแต่ รถ ที่ ถูก ลาก จูง หรือผลักดัน ได้ ประกันภัย ไว้ กับ จำเลย เช่นนี้ แสดง ให้ เห็นว่า จำเลยไม่ประสงค์ จะ คุ้มครอง ถึง กรณี ที่ มี การ ใช้ รถยนต์ คัน ที่ เอา ประกันภัยไป ใช้ ลาก จูง หรือ ผลักดัน อัน ทำให้ เกิด ความ เสี่ยงภัย มาก ขึ้น ดังกล่าวนอก เสีย จาก จะ ได้ มี การ เอา ประกันภัย รถ คัน ที่ ถูก ลาก จูง หรือ ผลักดันไว้ กับ จำเลย ด้วย เพื่อ จะ ได้ กำหนด ค่า เบี้ยประกัน ภัย ให้ เหมาะสมต่อ ความ เสี่ยงภัย ได้ ดังนั้น เมื่อ โจทก์ ใช้ รถยนต์ คัน ที่ เอา ประกันภัยกับ จำเลย ลาก จูง รถ คัน อื่น ที่ ไม่ได้ เอา ประกันภัย ไว้ กับ จำเลยและ เกิดเหตุ คดี นี้ ขึ้น ไม่ว่า จะ เป็นเหตุ โดยตรง จาก การ ลาก จูง หรือไม่ก็ ไม่อยู่ ใน ขอบเขต แห่ง ความคุ้มครอง ตาม ที่ ได้ ระบุ เป็น ข้อยกเว้นความรับผิด ไว้ ใน กรมธรรม์ประกันภัย ทั้ง สอง ข้อ ดังกล่าว แล้ว จำเลยจึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น โจทก์ ฎีกาข้อ สุดท้าย ว่า รถยนต์ ของ โจทก์ คัน ดังกล่าว เคย เกิด อุบัติเหตุ 2 ครั้งโดย ลาก จูง รถพ่วง ที่ ไม่ได้ เอา ประกันภัย ไว้ กับ จำเลย จำเลย ได้ เคยชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ จึง เป็น การ สละ เงื่อนไข ตาม กรมธรรม์ประกันภัยข้อ ดังกล่าว แล้ว เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย รับผิด ใน ฐานะผู้รับประกันภัย ตาม กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร ท้ายฟ้อง อันเป็น ส่วน หนึ่งของ คำฟ้อง ซึ่ง ปรากฏ เงื่อนไข ข้อยกเว้น ความรับผิด ของ จำเลยใน ข้อ 2.13.4 และ 3.9.1 ดังกล่าว ด้วย โดย โจทก์ ก็ ไม่ได้ กล่าวใน ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ สละ เงื่อนไข 2 ข้อ ดังกล่าว แต่อย่างใด จำเลยให้การ ต่อสู้ ว่า จำเลย ไม่ต้อง รับผิด เพราะ โจทก์ กระทำผิด เงื่อนไขตาม กรมธรรม์ประกันภัย ดังกล่าว แล้ว จึง มี ประเด็น ข้อพิพาท ว่า โจทก์กระทำผิด เงื่อนไข ตาม กรมธรรม์ประกันภัย หรือไม่ เท่านั้น ไม่มี ประเด็นข้อพิพาท ว่า จำเลย ได้ สละ เงื่อนไข ตาม กรมธรรม์ประกันภัย แล้ว หรือไม่แม้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ปัญหา นี้ มา ก็ เป็น การ วินิจฉัย ที่ มิชอบฎีกา ของ โจทก์ ใน ข้อ นี้ จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบใน ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม ฎีกา ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้ ”
พิพากษายืน