คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ปัญหาที่ว่านิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่จำเลยที่4ได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัยจำเลยที่4ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสองเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่4ระบุว่า”จำเลยที่4ยินยอมคืนเงินดาวน์จำนวน3,500,000บาทให้แก่โจทก์พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีนับแต่วันที่9พฤศจิกายน2533เป็นต้นไปข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเห็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อโจทก์เรียกมาสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ เมื่อจำเลยที่4ให้การรับว่าจำเลยที่5ตกลงทำบันทึกกับโจทก์จริงโจทก์จึงไม่ต้องอ้างบันทึกข้อตกลงเป็นพยานหลักฐานอีกเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่4ยอมรับแล้วดังนั้นแม้บันทึกข้อตกลงจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องก็รับฟังได้ว่าบันทึกข้อตกลงผูกพันจำเลยที่4

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 ทำ บันทึก ข้อตกลง นำ เช็ค จำนวนเงิน 3,500,000 บาท แลก เงินสดจาก โจทก์ โดย จำเลย ที่ 1 ยินยอม ให้ ผลประโยชน์ และ ค่าตอบแทนแก่ โจทก์ 1,000,000 บาท จำเลย ที่ 1 ได้ ชำระ เป็น เช็ค สอง ฉบับมอบ ให้ โจทก์ เมื่อ เช็ค ถึง กำหนด ชำระ โจทก์ นำ ไป เข้าบัญชี เพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ ธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน โจทก์ ทวงถามให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ชำระ เงิน ตามเช็ค ทั้ง สอง ฉบับ และบอกกล่าว ให้ จำเลย ที่ 4 และ ที่ 5 ปฏิบัติ ตาม บันทึก ข้อตกลง แต่ จำเลยทั้ง ห้า เพิกเฉย ขอให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน ชำระ เงินจำนวน 5,103,184 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปีและ ให้ จำเลย ที่ 4 และ ที่ 5 ร่วมกัน ชำระ เงิน 4,027,876 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 3 มิได้ ลงลายมือชื่อ สลักหลังเช็ค ทั้ง สอง ฉบับ เพื่อ ค้ำประกัน หรือ อาวัล จำเลย ที่ 1 และ ไม่ได้ยอมรับ ผิด ต่อ โจทก์ เป็น การ ส่วนตัว โจทก์ คิด ดอกเบี้ย เกินกว่า อัตราที่ กฎหมาย กำหนด ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 4 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 5 เป็น ผู้จัดการ โชว์รูมผาสุขของ จำเลย ที่ 4 ไม่มี อำนาจ ทำนิติกรรม กับ โจทก์ แทน จำเลย ที่ 4และ จำเลย ที่ 4 ไม่เคย มอบอำนาจ ให้ จำเลย ที่ 5 ไป ทำ บันทึก ข้อตกลงกับ โจทก์ บันทึก ข้อตกลง ไม่ผูกพัน จำเลย ที่ 4 และ ข้อตกลง ชำระ ดอกเบี้ยมี ลักษณะ เป็น เบี้ยปรับ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 5 ให้การ ว่า มิได้ เป็น ตัวแทน หรือ ตัวแทนเชิด ของจำเลย ที่ 4 จำเลย ที่ 5 ลงลายมือชื่อ ใน บันทึก ข้อตกลง ใน ฐานะ ส่วนตัวบันทึก ข้อตกลง ดังกล่าว เป็น โมฆะ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน ใช้ เงินจำนวน 4,500,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี แก่ โจทก์โดย ให้ จำเลย ที่ 4 ร่วมรับผิด ใน วงเงิน ไม่เกิน 3,500,000 บาท
จำเลย ที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 4 ฎีกา ว่า บันทึก ข้อตกลง เอกสารหมาย จ. 6 เกิดจาก การ ฉ้อฉล ของ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 เป็น การ ใช้สิทธิ ไม่สุจริต บันทึก ข้อตกลง เอกสาร หมาย จ. 6 นอกเหนือ วัตถุประสงค์ของ จำเลย ที่ 4 ตกเป็น โมฆะ ข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 4 นี้จำเลย ที่ 4 ได้ ยกขึ้น ต่อสู้ ไว้ ใน คำให้การ แต่ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ มิได้ ยกขึ้น วินิจฉัย แต่ ปัญหา ที่ ว่า นิติกรรม เป็น โมฆะหรือไม่ นั้น เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนจำเลย ที่ 4 ยกขึ้น อ้างอิง ฎีกา ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ศาลฎีกา ต้อง ถือข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ฟัง มา เป็น ยุติ ว่า จำเลย ที่ 5 ได้ แสดง ตนว่า เป็น ผู้มีอำนาจ กระทำ แทน จำเลย ที่ 4 และ จำเลย ที่ 5 ได้ ลงนาม ในบันทึก ข้อตกลง เอกสาร หมาย ล. 6 เป็น คู่สัญญา ใน นาม ของ จำเลย ที่ 4อีก ทั้ง ยัง ได้ นำ เงิน จำนวน 3,500,000 บาท เข้าบัญชี ของ บริษัทจำเลย ที่ 4 ตลอดจน ออก ใบเสร็จรับเงิน ของ จำเลย ที่ 4 เป็น ค่า ดาวน์รถยนต์ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ด้วย ตาม ข้อเท็จจริง ดังกล่าว เห็น ได้ว่าจำเลย ที่ 4 ยอมรับ เอา บันทึก ข้อตกลง ดังกล่าว ที่ จำเลย ที่ 5 ซึ่งเป็น ผู้จัดการ โชว์รูมผาสุข ของ จำเลย ที่ 4 ลงนาม ไว้ กับ โจทก์เป็น ของ จำเลย ที่ 4 แล้ว บันทึก ข้อตกลง ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 ไม่เป็นโมฆะ ฎีกา จำเลย ที่ 4 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น จำเลย ที่ 4 ฎีกา อีก ข้อ หนึ่งว่า บันทึก ข้อตกลง เอกสาร หมาย จ. 6 ห้าม มิให้ จำเลย ที่ 4 โอนสิทธิให้ จำเลย ที่ 4 โอนสิทธิ ใน รถยนต์ ทั้ง 50 คัน ตาม ฟ้อง โดย มิได้ รับความ ยินยอม จาก โจทก์ ก่อน และ ให้ จำเลย ที่ 4 รับผิดชอบ ใน ต้นเงิน ตามเช็คจำนวน 3,500,000 บาท ซึ่ง เป็น ประโยชน์ แก่ โจทก์ เพียง ฝ่ายเดียวขัด ต่อ กฎหมาย ว่าด้วย ความสงบ เรียบร้อย และ ศีลธรรม ของ ประชาชนไม่มี ผล ตาม กฎหมาย เห็นว่า ตาม บันทึก ข้อตกลง เอกสาร หมาย จ. 6จำเลย ที่ 4 ได้รับ ประโยชน์ จาก ข้อตกลง ดังกล่าว แล้ว เพราะ จำเลย ที่ 4สามารถ ขาย รถยนต์ ให้ จำเลย ที่ 1 ได้ ถึง 200 คัน ข้อตกลง ดังกล่าวจึง มี ลักษณะ เป็น สัญญาต่างตอบแทน อย่างหนึ่ง มิได้ มี วัตถุประสงค์ เป็นการ ต้องห้าม ชัดแจ้ง โดย กฎหมาย หรือ เป็น การ พ้นวิสัย หรือ ขัด ต่อความสงบ เรียบร้อย หรือ ศีลธรรม อัน ดี ของ ประชาชน แต่อย่างใด จึง มีผลบังคับ ได้ ฎีกา จำเลย ที่ 4 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น จำเลย ที่ 4 ฎีกา ต่อไป ว่าการ ที่ ตกลง ชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นั้น เป็น ลักษณะเบี้ยปรับ หาก จำเลย ที่ 4 ต้อง รับผิด ควร คิด ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ ใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี เท่านั้น เห็นว่า ตาม บันทึก ข้อตกลง เอกสาร หมาย จ. 6ข้อ 4 ระบุ ว่า “ฝ่าย ที่ 2 (จำเลย ที่ 4) ยินยอม คืนเงิน ดาวน์รถดังกล่าว จำนวน 3,500,000 บาท (สาม ล้าน ห้า แสน บาท ) ให้ กับฝ่าย ที่ 3 (โจทก์ ) พร้อม กับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 เป็นต้น ไป ” ข้อความ ใน บันทึก ข้อตกลง ดังกล่าวใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ อัตรา ดอกเบี้ย ถือได้ว่า เป็น วิธีการ กำหนดค่าเสียหาย วิธี หนึ่ง มี ลักษณะ เป็น การ กำหนด เบี้ยปรับ ที่ โจทก์ เรียกมา ตาม บันทึก ข้อตกลง จึง สูง เกิน ส่วน เห็นสมควร กำหนด ให้ จำเลย ที่ 4ชำระ ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลยที่ 4 ฟังขึ้น จำเลย ที่ 4 ฎีกา ข้อ สุดท้าย ว่า บันทึก ข้อตกลงเอกสาร หมาย จ. 6 เป็น สัญญาค้ำประกัน แต่ โจทก์ มิได้ ปิดอากรแสตมป์ต้องห้าม มิให้ รับฟัง เป็น พยานเอกสาร ศาล ควร จะ ฟ้อง เห็นว่าจำเลย ที่ 4 ให้การ รับ ว่า จำเลย ที่ 5 ตกลง ทำ บันทึก เอกสาร หมายจ. 6 กับ โจทก์ จริง เพียงแต่ ต่อสู้ ว่า บันทึก ดังกล่าว ไม่ผูกพันจำเลย ที่ 4 เท่านั้น ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 5 ได้ ทำบันทึก เอกสาร หมาย จ. 6 กับ โจทก์ โจทก์ จึง ไม่จำต้อง อ้าง เอกสารหมาย จ. 6 เป็น พยาน ฉะนั้น เอกสาร หมาย จ. 6 จะ ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วน หรือไม่ ก็ ไม่ทำ ให้การ รับฟัง ข้อเท็จจริง ของ ศาล เปลี่ยนแปลง ไปฎีกา จำเลย ที่ 4 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นเดียวกัน
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 4 ชำระ ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ ในอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 3,500,000 บาท นับแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share