คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้คดีที่จำเลยที่2ฟ้องจำเลยที่1จะไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้แต่การที่โจทก์ขอให้คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยห้ามมิให้จำเลยที่1โอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทให้แก่จำเลยที่2ย่อมมีผลเป็นการให้ งดการบังคับคดีในคดีซึ่งได้ถึงที่สุดแล้วจำเลยที่2ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้หากจำเลยที่2บังคับคดีให้เป็นที่เสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีอย่างไรก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2ต่อไปโจทก์หามีสิทธิมายื่นขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อให้มีผลห้ามมิให้จำเลยที่2ดำเนินการบังคับคดีในคดีดังกล่าวไม่ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2หากจำเลยที่2บังคับคดีรับโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายจากจำเลยที่1แล้วโอนต่อไปยัง บุคคลภายนอกอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้โจทก์จึงมีสิทธิขอให้คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยห้ามมิให้จำเลยที่2โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นแม้โจทก์จะเป็นสามีของจำเลยที่1ซึ่งมีสิทธิขอกันส่วนของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287ก็ตามแต่ก็หามีบทกฎหมายใดบังคับให้โจทก์จำต้องใช้สิทธิ ขอกันส่วนแต่อย่างเดียวไม่

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ขอให้ เพิกถอนหนังสือ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 69 ระหว่างจำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 เพราะ ที่ดิน แปลง ดังกล่าว เป็น สินสมรสของ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ไป ทำ สัญญา โดย ไม่ได้ รับความ ยินยอม จาก โจทก์ ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ยื่น คำร้อง ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ใน ข้อหา ผิดสัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน ศาลชั้นต้น ได้ มี คำพิพากษาถึงที่สุด ให้ จำเลย ที่ 1โอน ที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 69 ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ตามสัญญาจะซื้อขาย หาก ไม่ โอน ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา และ ขณะ นี้ จำเลย ที่ 2 ได้ ดำเนินการ บังคับคดี เพื่อปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา ดังกล่าว แล้ว จะ นำ เอา ที่ดินพิพาท ไป จำหน่ายจ่าย โอน หรือ ขาย ให้ บุคคลอื่น ซึ่ง หาก จำเลย ที่ 2 นำ ที่ดินพิพาท ไป ขายแก่ บุคคลอื่น แล้ว จะ ทำให้ โจทก์ เสียหาย เพราะ โจทก์ จะ ไม่สามารถบังคับ ตาม คำพิพากษา ใน คดี นี้ ได้ ฉะนั้น เพื่อ ให้ โจทก์ ได้รับ ความคุ้มครอง ชั่วคราว ก่อน มี คำพิพากษา จึง ขอให้ ไต่สวน แล้ว มี คำสั่งห้าม หรือ ระงับ มิให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ทำนิติกรรม โอน ที่ดินน.ส.3 ก. เลขที่ 69 ให้ แก่ กัน และ ห้าม หรือ ระงับ มิให้ จำเลย ที่ 2จำหน่าย จ่าย โอน หรือ ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ บุคคลอื่น ใน กรณี ที่จำเลย ที่ 2 รับโอน ที่ดินพิพาท มา แล้ว กับ ขอให้ มี คำสั่ง ถึง นายอำเภอ แก่งคอย หรือ เจ้าหน้าที่ บริหาร งาน ที่ดิน อำเภอ แก่งคอย เพื่อ ให้ ปฏิบัติ ตาม นี้ ด้วย
จำเลย ที่ 1 ไม่ คัดค้าน
จำเลย ที่ 2 คัดค้าน ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง โอน ที่ดินพิพาทให้ จำเลย ที่ 2 นั้น เป็น การ ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา มิใช่ เป็น การ ดำเนินการ โอน ขาย หรือ จำหน่าย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 โดย จำเลย ที่ 1มี เจตนา จะ ประวิง หรือ ขัดขวาง ต่อ การ บังคับคดี ตาม คำบังคับ ซึ่ง อาจจะ ออกบังคับ เอา แก่ จำเลย ที่ 1 หรือ เพื่อ จะ ฉ้อโกง แต่อย่างใด จำเลย ที่ 2มีสิทธิ ใน การ บังคับคดี แก่ จำเลย ที่ 1 เนื่องจาก คำพิพากษา ได้ ถึงที่สุดแล้ว และ การ บังคับคดี แก่ จำเลย ที่ 1 ดังกล่าว ก็ ไม่ทำ ให้ โจทก์เสียเปรียบ และ เสียหาย เพราะ หาก โจทก์ เป็น สามี โดยชอบ ด้วย กฎหมายโจทก์ ย่อม มีสิทธิ ร้องขอ กัน ส่วน ใน ที่ดินพิพาท แปลง ดังกล่าว ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ทั้ง โจทก์ มิได้ฟ้อง ขอให้ จำเลย ที่ 1 โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ หรือ ให้ ใส่ ชื่อโจทก์ ใน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ จึง ไม่อาจ ร้องขอ ให้ศาล สั่ง ห้าม จำเลย ที่ 1 ทำนิติกรรม การ โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2หรือ ห้าม มิให้ จำเลย ที่ 2 จำหน่าย จ่าย โอน หรือ ขาย ที่ดินพิพาท เพราะเป็น การ ขอให้ คุ้มครอง ประโยชน์ ชั่วคราว นอก คำฟ้อง และ คำขอท้ายฟ้อง ของ โจทก์ ไม่ต้อง ด้วย บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 และ 264 ขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว มี คำสั่ง ห้าม การ โอน การ ขาย ที่ดินพิพาท จนกว่า จะ มี คำสั่ง เป็น อย่างอื่น
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ประการ แรก มี ว่า โจทก์ มีสิทธิ ขอ ใช้ วิธีการ ชั่วคราว ก่อน พิพากษาห้าม มิให้ จำเลย ที่ 1 โอน ที่ดิน ตาม สัญญาจะซื้อขาย ฉบับพิพาท ให้ แก่จำเลย ที่ 2 หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว แม้ คดี ที่ จำเลย ที่ 2 ฟ้องจำเลย ที่ 1 ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 1085/2533 ของ ศาลชั้นต้น จะไม่ผูกพัน โจทก์ ใน คดี นี้ แต่ การ ที่ โจทก์ ขอให้ คุ้มครอง ประโยชน์ของ โจทก์ โดย ห้าม มิให้ จำเลย ที่ 1 โอน ที่ดิน ตาม สัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ย่อม มีผล เป็น การ ให้ งดการบังคับคดีใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 1085/2533 ซึ่ง คดี ดังกล่าว ได้ ถึงที่สุด แล้วจำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ย่อม มีสิทธิ ที่ จะ บังคับคดีให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ได้ หาก จำเลย ที่ 2 บังคับคดี ให้ เป็นที่ เสียหาย แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก คดี อย่างไร ก็ เป็น เรื่องที่ จะ ต้อง ไป ว่ากล่าว กัน ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 2 ต่อไป โจทก์ หา มีสิทธิ มา ยื่น ขอ ใช้ วิธีการ ชั่วคราว ก่อน พิพากษา เพื่อ ให้ มีผล ห้าม มิให้จำเลย ที่ 2 ดำเนินการ บังคับคดี ใน คดี ดังกล่าว ไม่ ที่ ศาลล่างทั้ง สอง มี คำสั่ง ห้าม มิให้ จำเลย ที่ 1 โอน ที่ดิน ตาม สัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของจำเลย ที่ 2 ข้อ นี้ ฟังขึ้น ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ประการ ต่อไป มีว่า โจทก์ มีสิทธิ ขอให้ห้าม จำเลย ที่ 2 มิให้ โอน ที่ดิน ตาม สัญญาจะซื้อขาย ฉบับพิพาท ให้ แก่ บุคคลอื่น หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ ฟ้องขอให้ เพิกถอน สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน ฉบับพิพาท ที่ ทำ ขึ้น ระหว่างจำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 หาก จำเลย ที่ 2 บังคับคดี แพ่ง หมายเลขแดงที่ 1085/2533 ของ ศาลชั้นต้น รับโอน ที่ดิน ตาม สัญญาจะซื้อขาย ฉบับพิพาท จาก จำเลย ที่ 1 แล้ว โอน ต่อไป ยัง บุคคลภายนอก อาจ ก่อ ให้ เกิดความเสียหาย แก่ โจทก์ ได้ โจทก์ จึง มีสิทธิ ขอให้ คุ้มครอง ประโยชน์ของ โจทก์ โดย ห้าม มิให้ จำเลย ที่ 2 โอน ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ บุคคลอื่น ได้ และ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ได้ความ ตาม ทาง ไต่สวน เห็นว่ามีเหตุ เพียงพอ ที่ จะ นำ วิธีการ คุ้มครอง ตาม ที่ โจทก์ ขอ นั้น มา ใช้ ได้ ส่วนที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า โจทก์ สามารถ ยื่น คำร้องขอ กัน ส่วน ใน ที่ดินพิพาทได้ นั้น เห็นว่า แม้ โจทก์ จะ เป็น สามี ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง มีสิทธิขอ กัน ส่วน ของ โจทก์ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 ก็ ตาม แต่ ก็ หา มี บท กฎหมาย ใด บังคับ ให้ โจทก์ จำต้อง ใช้ สิทธิขอ กัน ส่วน แต่ อย่างเดียว ไม่ โจทก์ จึง มีสิทธิ ยื่น คำร้องขอ คุ้มครองชั่วคราว ก่อน มี คำพิพากษา ได้ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้นแต่ ศาลฎีกา เห็นว่า คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตามนั้น ยัง ไม่ชัดเจน สมควร แก้ไข เสีย ให้ ชัดแจ้ง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า หาก จำเลย ที่ 2 รับโอน ที่ดิน ตาม สัญญา จะซื้อขาย ฉบับพิพาท มาจาก จำเลย ที่ 1 แล้ว ห้าม มิให้ จำเลย ที่ 2 โอนที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ บุคคลอื่น ต่อไป จนกว่า จะ มี คำสั่ง เป็น อย่างอื่นคำขอ ของ โจทก์ นอกจาก นี้ ให้ยก นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share