คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2วรรค12บัญญัติว่า”คำว่า”ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด”หรือ”ราคา”แห่งของอย่างใดนั้นหมายความว่าราคาขายส่งเงินสด(ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร)ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณเวลาและที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่หักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด”เวลาที่นำสินค้าเข้ามาตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงเวลาที่ยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรมิใช่เวลาที่ผู้นำเข้าสั่งซื้อสินค้า

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา ว่า ราคา สินค้า ที่ โจทก์ สำแดง เป็น ราคาอัน แท้จริง ใน ท้องตลาด ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของ จำเลย กับ ให้จำเลย คืนเงิน แก่ โจทก์ จำนวน 510,829.26 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 6 กันยายน 2536 เป็น เงิน28,734.14 บาท และ ดอกเบี้ย อัตรา เดียว กัน จาก ต้นเงิน 510,829.26 บาทนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน ของ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลยชอบ ด้วย กฎหมาย แล้ว โจทก์ ไม่พอ ใจ การ ประเมิน และ ได้ ยื่น อุทธรณ์การ ประเมิน ต่อ จำเลย เมื่อ การ พิจารณา อุทธรณ์ ยัง ไม่ แล้ว เสร็จโจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ ว่า ราคา สินค้า ก๊าซ เอทธิลีนเหลว ที่ โจทก์ สำแดง ใน ใบขนสินค้า ขาเข้า พร้อม แบบแสดงรายการ ภาษี สรรพสามิต และ ภาษีมูลค่า เพิ่ม เป็น ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด หรือไม่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่าสินค้า ที่ โจทก์ นำเข้า ได้ มี การ ตกลง ซื้อ ขาย กัน เมื่อ วันที่ 30มิถุนายน 2536 ใน ราคา เมตริกตัน ละ 310 ดอลลาร์สหรัฐ โจทก์ มี สัญญาซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 4 แผ่น ที่ 1 ถึง 5 เลตเตอร์ออฟเครดิต เอกสาร หมาย จ. 1 แผ่น ที่ 12 ถึง 14 ใบ กำกับ สินค้า เอกสาร หมาย จ. 1แผ่น ที่ 2 และ 3 ตั๋วแลกเงิน ที่ ผู้ขาย เรียกเก็บ จาก โจทก์ ผ่าน ธนาคารเอกสาร หมาย จ. 1 แผ่น ที่ 17 และ 18 และ ใบเสร็จรับเงิน ค่าสินค้าที่ โจทก์ ชำระ เอกสาร หมาย จ. 1 แผ่น ที่ 19 และ 20 ซึ่ง ราคา ใน เอกสารต่าง ๆ ดังกล่าว ถือว่า เป็น ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด สำหรับ สินค้าของ โจทก์ ณ วันที่ นำเข้า เพื่อ ส่งมอบ ส่วน ราคา ก๊าซเอทธิลีนเหลว ที่ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด ซื้อ เมตรริกตัน ละ 360 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น ราคา ที่ ซื้อ ขาย กัน ใน วันที่ 8 มิถุนายน 2536ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด สำหรับ สินค้า ทั้ง สอง ราย ณ วัน นำเข้าหมายถึง ราคา ณ วันที่ ตกลง ซื้อ ขาย กัน นั้น เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรค 12 บัญญัติ ว่า “คำ ว่า “ราคา อันแท้จริง ใน ท้องตลาด ” หรือ “ราคา ” แห่ง ของ อย่างใด นั้น หมายความ ว่าราคา ขายส่ง เงินสด (ใน ส่วน ของ ขาเข้า ไม่รวม ค่าอากร ) ซึ่ง จะ พึง ขาย ของประเภท และ ชนิด เดียว กัน ได้ โดย ไม่ ขาดทุน ณ เวลา และ ที่ ที่ นำ ของ เข้าหรือ ส่ง ของ ออก แล้วแต่ กรณี โดย ไม่ หัก ทอน หรือ ลดหย่อน ราคา อย่างใด “เวลา ที่ นำ สินค้า เข้า มา ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว หมายถึง เวลา ที่ ยานพาหนะที่ บรรทุก สินค้า เข้า มา ใน ราชอาณาจักร มิใช่ เวลา ที่ ผู้นำ เข้าสั่ง ซื้อ สินค้า ดังนั้น แม้ โจทก์ จะ สั่ง ซื้อ สินค้า ภายหลัง จาก ที่บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด สั่ง ซื้อ ก็ ตาม แต่เมื่อ นำเข้า มา ใน ราชอาณาจักร วันเดียว กัน จึง ถือว่า โจทก์ กับ บริษัท ปิโตรเคมี แห่งชาติ จำกัด นำ สินค้า เข้า มา วันเดียว กัน เมื่อ สินค้า ที่ โจทก์นำเข้า ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 2 ถึง 8 คำแปล ตาม เอกสาร หมาย ล. 2แผ่น ที่ 1 ถึง 8 กับ สินค้า ที่ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด นำเข้า ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 19 และ 20 คำแปล ตาม เอกสาร หมาย ล. 1แผ่น ที่ 53 และ 54 ต่าง ระบุ ว่า เป็น ก๊าซเอทธิลีนเหลว ซึ่ง เป็น สินค้า ประเภท และ ชนิด เดียว กัน มี แหล่งกำเนิด จาก ประเทศ อิตาลี เช่นเดียวกัน และ นำเข้า มา ใน วันเดียว กัน คือ วันที่ 30 กรกฎาคม 2536ณ ท่าเรือ จังหวัด เดียว กัน คือ จังหวัด ระยอง แต่ ราคา ที่บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด สำแดง ไว้ ใน ใบขนสินค้า เมตริตัน ละ 360 ดอลลาร์สหรัฐ สูง กว่า ราคา ที่ โจทก์ สำแดง ไว้ แม้ โจทก์ จะ มี สัญญาซื้อขาย เลตเตอร์ออฟเครดิต ใบ กำกับ สินค้า ตั๋วแลกเงิน ที่ ผู้ขาย เรียกเก็บ จาก โจทก์ โดย ผ่าน ธนาคาร และ ใบเสร็จรับเงินมา แสดง ว่า เป็น ราคา ของ สินค้า ที่ โจทก์ ซื้อ มา ก็ ตาม แต่ ราคา ที่ โจทก์ซื้อ มา ถือไม่ได้ว่า เป็น ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด เสมอ ไป เมื่อจำเลย นำสืบ ว่า ใน การ ประเมิน ได้ นำ เอา ราคา สินค้า ของ บริษัท ปิโตรเคมี แห่งชาติ จำกัด ซึ่ง เป็น สินค้า ประเภท และ ชนิด เดียว กัน มี แหล่งกำเนิด เดียว กัน นำเข้า มา ใน ราชอาณาจักร วันเดียว กัน มา เปรียบเทียบเพื่อ ให้ เห็น ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด ตาม ความหมาย ของ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรค 12 โจทก์ เอง ก็ นำสืบ รับ ว่าโจทก์ ได้ ติดต่อ ซื้อ ขาย กับ บริษัท มิตซุย แอนด์ โก จำกัด มา หลาย ปี ค่า ขนส่ง สินค้า ของ โจทก์ จึง ถูก กว่า ค่า ขนส่ง ของ บริษัท ปิโตรเคมี แห่งชาติ จำกัด การ ที่ ผู้ซื้อ และ ผู้ขาย ติดต่อ ค้าขาย กัน เป็น ประจำผู้ขาย อาจ ตกลง ลด ค่า ขนส่ง หรือ ราคา ให้ เป็น พิเศษ ก็ ได้ ดังนั้นราคา ที่ โจทก์ สำแดง ใน ใบขนสินค้า ขาเข้า พร้อม แบบแสดงรายการ ภาษีสรรพสามิต และ ภาษี มูลค่า เพิ่ม จึง เป็น ราคา ที่ มี การ หัก ทอน หรือ ลดหย่อนมิใช่ ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด พยานหลักฐาน ของ จำเลย มี น้ำหนักน่าเชื่อ กว่า พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ว่า ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาดของ สินค้า พิพาท เป็น ไป ตาม ที่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ประเมินการ ประเมิน ภาษีอากร ของ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย จึง ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย กับ คำพิพากษา ของ ศาลภาษีอากรกลาง อุทธรณ์ ของ โจทก์ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share