คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6152/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1305ห้ามมิให้ที่ดินประเภทดังกล่าวโอนแก่กันประกอบกับพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติทำให้ผู้ที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองไม่สามารถใช้ยันรัฐได้แต่ระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่นเมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโจทก์จึงไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาให้จำเลยอาศัยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 กับ นาง เขียว บรรลังค์ ภรรยา ได้ ครอบครอง และ ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน เนื้อที่ ประมาณ 60 ไร่ตั้ง อยู่ หมู่ ที่ 5 ตำบล บุพรามณ์ อำเภอ นาดี จังหวัด ปราจีนบุรี มา ตั้งแต่ ปี 2500 ต่อมา ใน ปี 2507 ทางราชการ ได้ ประกาศ ให้ ที่ดินของ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น เขต ป่าสงวนแห่งชาติ ใน ปี 2530 โจทก์ ที่ 1อนุญาต ให้ จำเลย ปลูก บ้าน อยู่อาศัย ที่ดิน ดังกล่าว ต่อมา ปี 2532นาง เขียว ถึงแก่กรรม สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท จึง ตก มา เป็น ของ โจทก์ ทั้ง สอง ปี 2535 โจทก์ ทั้ง สอง ประสงค์ จะ เข้า ทำกิน บน ที่ดินที่ จำเลย ปลูก บ้าน อยู่อาศัย จึง แจ้ง ให้ จำเลย และ บริวาร ขนย้าย ทรัพย์สินออก ไป และ ส่งมอบ ที่ดิน คืน โจทก์ ทั้ง สอง แต่ จำเลย เพิกเฉย ขอให้บังคับ จำเลย และ บริวาร รื้อถอน บ้าน ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สองห้าม จำเลย และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สองและ ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง นับแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย และ บริวาร จะ ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ขอ โจทก์ ทั้ง สอง เข้า ปลูก บ้านอยู่อาศัย จำเลย ครอบครอง ที่ดินพิพาท มา โดย ตลอด จึง มีสิทธิ ดีกว่าโจทก์ ทั้ง สอง และ ที่ดินพิพาท อยู่ ใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติ โจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ มี ว่ามีเหตุ ที่ ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้น ชี้สองสถาน และ สืบพยานโจทก์ทั้ง สอง กับ จำเลย ก่อน แล้ว จึง วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้น ใน ปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ ทั้ง สอง มีอำนาจ ฟ้องคดี นี้ หรือไม่ เห็นว่า เมื่อ ตาม คำฟ้องและ คำให้การ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ที่ดินพิพาท อยู่ ใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินพิพาท จึง เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1304(3) ซึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1004 บัญญัติ ห้าม มิให้ ที่ดิน ประเภท ดังกล่าว โอน แก่ กัน เว้นแต่อาศัย อำนาจ แห่ง บท กฎหมาย เฉพาะ หรือ พระราชกฤษฎีกา นอกจาก นี้ ตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 ยัง ได้ บัญญัติห้าม มิให้ บุคคล ใด ยึดถือ หรือ ครอบครอง ที่ดิน ใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติเห็น ได้ว่า ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว มีผล ให้ ราษฎร ที่ เข้า ยึดถือ ครอบครองที่ดิน ไม่ได้ สิทธิ ครอบครอง โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ทั้ง ไม่อาจ อ้าง สิทธิ ใด ๆใช้ ยัน รัฐ ได้ แต่ ใน ระหว่าง ราษฎร ด้วยกัน ผู้ที่ ครอบครอง ใช้ ประโยชน์อยู่ ก่อน ย่อม มีสิทธิ ที่ จะ ไม่ ถูก รบกวน โดย บุคคลอื่น มิฉะนั้นจะ กลาย เป็น ว่า กฎหมาย เปิด โอกาส ให้ ราษฎร เข้า แย่ง สิทธิ ระหว่าง กันเองได้ ตาม อำเภอ ใจ ซึ่ง หาใช่ เจตนารมณ์ อัน แท้จริง แห่งกฎหมาย ไม่ ดังนั้นถ้าหาก ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ฝ่าย ครอบครอง ใช้ประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท อยู่ ก่อน แล้ว จำเลย เข้า ไป แย่ง การ ครอบครองอันเป็น การ รบกวน สิทธิ ของ โจทก์ ทั้ง สอง โจทก์ ทั้ง สอง ย่อม มีอำนาจ ฟ้องเพื่อ ปลดเปลื้อง การ รบกวน สิทธิ ของ โจทก์ ทั้ง สอง และ ฟ้อง เรียกค่าเสียหาย ได้ ตาม นัย คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 2967/2524 ระหว่างนาย เรือง อินทร์เครือ โจทก์ นาง มอญ ล้านนาหรือล้านสม จำเลย แต่ คดี นี้ โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง อ้างว่า ให้ จำเลย อาศัย ซึ่ง ข้อเท็จจริงต่าง กับ คำพิพากษา ศาลฎีกา ดังกล่าว ส่วน คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 2967/2524และ ที่ 3677/2531 ที่ โจทก์ ทั้ง สอง อ้าง ข้อเท็จจริง ไม่ ตรง กับ คดี นี้เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ที่ดินพิพาท อยู่ ใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติโจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่มี อำนาจ นำ ที่ดินพิพาท ดังกล่าว ให้ จำเลย อาศัยไม่มี อำนาจฟ้อง ขับไล่ จำเลย ออกจาก ที่ดินพิพาท และ เรียก ค่าเสียหาย จากจำเลย เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี อำนาจฟ้อง ก็ เป็น การ ถูกต้อง แล้ว ที่ศาลชั้นต้น งดชี้สองสถาน และ งดสืบพยาน โจทก์ ทั้ง สอง กับ จำเลยที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share