แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
แม้โจทก์ที่2จะมิใช่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยแต่โจทก์ที่2เป็นผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยผู้รับประกันภัยโดยตรงและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา374เมื่อมีข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิกันขึ้นตามสัญญาประกันภัยโจทก์ที่2ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับโจทก์ที่2โดยมีโจทก์ที่1เป็นผู้รับประโยชน์จริงเช่นนี้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่2กับจำเลยจึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ที่1ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเมื่อรถยนต์ที่โจทก์ที่2เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยสูญหายไปเพราะถูก ท. ยักยอกเอาไปจำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามสัญญาประกันภัยนั้นโจทก์ที่2จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่โจทก์ที่1ผู้รับประโยชน์ได้แม้โจทก์ที่2จะไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่1ก็ตาม จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ที่2ผู้เอาประกันภัยมิได้ฟ้องร้องหรือติดตามเอาคืนจาก ท. กลับมาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นการกระทำไม่สุจริตเท่านั้นคำให้การของจำเลยดังกล่าวยังไม่ชัดเจนถึงขนาดว่าวินาศภัยซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริตของโจทก์ที่1ผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา879วรรคแรกและศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้อีกทั้งจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านปัญหาเรื่องความไม่สุจริตของโจทก์ที่2จึงไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี ความเสียหายหรือความสูญหายตามคำฟ้องโจทก์เกิดจากการยักยอกทรัพย์ของ ท. ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้ยืมรถยนต์นั้นจากโจทก์ที่2ผู้เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ที่1 ท. มิใช่เป็นผู้เช่าซื้อผู้เช่าผู้รับจำนำหรือผู้ซื้อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ทั้งมิใช่ผู้ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่าเช่าซื้อซื้อขายหรือสัญญาจำนำการที่รถยนต์ซึ่งจำเลยรับประกันไว้ถูก ท. ยักยอกเอาไปจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยหากจะตีความเจตนาของคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าโจทก์ที่2เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลยตามความประสงค์ของโจทก์ที่1ก็เพื่อคุ้มครองรถยนต์ที่โจทก์ที่2เช่าซื้อมาจากโจทก์ที่1ซึ่งหากเกิดความเสียหายใดแก่รถยนต์ที่โจทก์ที่2เช่าซื้อมาโจทก์ทั้งสองย่อมประสงค์จะได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 มอบอำนาจ ให้ โจทก์ ที่ 2ฟ้องคดี แทน โจทก์ ที่ 2 ทำ สัญญาเช่าซื้อ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน 7บ-1581กรุงเทพมหานคร จาก โจทก์ ที่ 1 และ ใน วันเดียว กัน โจทก์ ที่ 1 ได้ ให้โจทก์ ที่ 2 ทำ สัญญาประกันภัย รถยนต์ คัน ดังกล่าว ไว้ กับ จำเลยทุน ประกันภัย 130,000 บาท กำหนด เบี้ยประกัน 9,137 บาท ต่อ ปีโดย ตกลง ให้ โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้รับประโยชน์ ต่อมา วันที่ 6 สิงหาคม2531 ซึ่ง อยู่ ใน ระหว่าง อายุ สัญญา นาย ทักษิณ รุ่งโต ได้ ยืม รถยนต์ คัน ดังกล่าว ไป จาก โจทก์ ที่ 2 แล้ว ยักยอก เอา รถยนต์ คัน นั้น ไปโจทก์ ที่ 2 ได้ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ พร้อม ทั้ง ขอรับ เงิน ค่าสินไหมทดแทนตาม สัญญาประกันภัย จำเลย มี หนังสือ ตอบ ปฏิเสธ ขอให้ บังคับ จำเลยชำระ เงิน จำนวน 134,062.50 บาท แก่ โจทก์ ทั้ง สอง พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 130,000 บาท นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เงิน เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า หนังสือมอบอำนาจ ของ โจทก์ ที่ 1 ไม่สมบูรณ์โจทก์ ที่ 2 จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง คดี แทน โจทก์ ที่ 1 จำเลย ไม่ต้อง รับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง เนื่องจาก โจทก์ ที่ 2ได้ยิน ยอม ส่งมอบ รถยนต์ ที่ เอา ประกันภัย ให้ แก่ นาย ทักษิณ ซึ่ง มิได้ เป็น ลูกจ้าง การ ที่นาย ทักษิณ ยักยอก รถยนต์ ไป อยู่ นอกเหนือ เงื่อนไข ที่ จำเลย ให้ ความคุ้มครอง ตาม กรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 3.1 และ ข้อ 3.5.3นอกจาก นี้ โจทก์ ที่ 2 ผู้เอาประกันภัย มิได้ ฟ้องร้อง หรือ ติดตามเอา รถยนต์ คืน จาก นาย ทักษิณ กลับมา ฟ้อง เรียกร้อง เอา จาก จำเลย จึง เป็น การกระทำ ไม่สุจริต ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 134,062.50 บาทแก่ โจทก์ ที่ 1 พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ เงินจำนวน 130,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า โจทก์ ที่2 ไม่มี อำนาจฟ้อง เรียก ค่าสินไหมทดแทน ตาม กรมธรรม์ประกันภัย จาก จำเลยเพราะ โจทก์ ที่ 2 ไม่ใช่ ผู้รับประโยชน์ นั้น เห็นว่า แม้ โจทก์ ที่ 2จะ มิใช่ ผู้รับประโยชน์ ตาม กรมธรรม์ประกันภัย ก็ ตาม แต่ โจทก์ ที่ 2เป็น ผู้เอาประกันภัย ซึ่ง เป็น คู่สัญญา กับ จำเลย ผู้รับประกันภัย โดยตรงและ เป็น สัญญา เพื่อ ประโยชน์ บุคคลภายนอก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374 เมื่อ มี ข้อพิพาท โต้แย้ง สิทธิ กัน ขึ้น ตาม สัญญาประกันภัยโจทก์ ที่ 2 ใน ฐานะ คู่สัญญา ย่อม มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ให้ ปฏิบัติ ตามสัญญา ได้ ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ที่ จำเลย ฎีกา ปัญหาข้อกฎหมาย ต่อไป ว่า เมื่อ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า โจทก์ ที่ 2 ไม่มี อำนาจฟ้อง แทน โจทก์ ที่ 1 แล้ว เท่ากับ โจทก์ ที่ 1ไม่มี อำนาจฟ้อง ตาม สิทธิ ของ โจทก์ ที่ 1 การ ที่ ศาลอุทธรณ์ กลับ พิพากษาให้ จำเลย ชำระ เงิน ตาม กรมธรรม์ประกันภัย รวมทั้ง ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ที่ 1จึง ไม่ชอบ นั้น ใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้องถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวนซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ว่า จำเลย ให้การ รับ ว่า ได้ ทำ สัญญาประกันภัย รถยนต์กับ โจทก์ ที่ 2 โดย มี โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้รับประโยชน์ จริง เช่นนี้สัญญาประกันภัย ระหว่าง โจทก์ ที่ 2 กับ จำเลย จึง เป็น สัญญา เพื่อประโยชน์ แก่ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก เมื่อ รถยนต์ ที่โจทก์ ที่ 2 เอา ประกันภัย ไว้ แก่ จำเลย สูญหาย ไป เพราะ ถูก นาย ทักษิณ ยักยอก เอาไป จำเลย ก็ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ที่ 2 ตาม สัญญาประกันภัย นั้นโจทก์ ที่ 2 จึง มีอำนาจ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ใช้ เงิน ตาม กรมธรรม์ประกันภัยแก่ โจทก์ ที่ 1 ผู้รับประโยชน์ ได้ แม้ โจทก์ ที่ 2 จะ ไม่มี อำนาจฟ้องคดี แทน โจทก์ ที่ 1 ก็ ตาม ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ ย่อม มีอำนาจ พิพากษาให้ จำเลย ชำระ เงิน ตาม กรมธรรม์ประกันภัย รวมทั้ง ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี แก่ จำเลย ที่ 1 ได้ ด้วย ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ที่ จำเลย ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ข้อ ต่อมา ว่า โจทก์ ที่ 2 ไม่สุจริตเพราะ มี พฤติการณ์ ร่วม กับ นาย ทักษิณ กระทำการ ยักยอก เอา รถยนต์ ที่ ประกันภัย ไป เสีย เอง และ อ้างว่า ปัญหา ข้อ นี้ จำเลย อุทธรณ์ โดย ชี้ให้ เห็น ถึง ความ ไม่สุจริต ของ โจทก์ ที่ 2 ไม่ได้ กล่าวอ้าง เพื่อ ใช้ เป็นเงื่อนไข ใน การ ไม่ชำระ ค่าสินไหมทดแทน เพราะ จำเลย ย่อม ทราบ ดี อยู่ แล้วว่า ตาม กรมธรรม์ มิได้ มี เงื่อนไข ที่ จะ ต้อง ให้ ผู้เอาประกัน ติดตามทรัพย์ คืน ก่อน จึง จะ ขอรับ ค่าสินไหมทดแทน ได้ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า ตาม สัญญาประกันภัย ไม่ได้ ระบุ ให้ โจทก์ ที่ 2 มี หน้าที่ ติดตามเอา ทรัพย์ คืน จึง ไม่ชอบ นั้น เห็นว่า จำเลย ให้การ ต่อสู้ เกี่ยวกับปัญหา นี้ เพียง ว่า โจทก์ ที่ 2 ผู้เอาประกันภัย มิได้ ฟ้องร้อง หรือติดตาม เอาคืน จาก นาย ทักษิณ กลับมา ฟ้อง เรียกร้อง เอา จาก จำเลย เป็น การกระทำ ไม่สุจริต เท่านั้น คำให้การ ของ จำเลย ดังกล่าวยัง ไม่ชัดเจน ถึง ขนาด ว่า วินาศภัย ซึ่ง ได้ ระบุ ไว้ ใน สัญญา นั้น ได้เกิดขึ้น เพราะ ความ ทุจริต ของ โจทก์ ที่ 1 ผู้เอาประกันภัย อัน จะ เป็นเหตุ ให้ จำเลย ผู้รับประกันภัย ไม่ต้อง รับผิด ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 879 วรรคแรก และ ศาลชั้นต้น ก็ มิได้ กำหนดประเด็น ข้อ นี้ เป็น ประเด็น ข้อพิพาท ไว้ อีก ทั้ง จำเลย ก็ ไม่ได้โต้แย้ง คัดค้าน ปัญหา เรื่อง ความ ไม่สุจริต ของ โจทก์ ที่ 2 จึง ไม่เป็นประเด็น พิพาท ใน คดี นี้ แต่อย่างใด ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่ได้วินิจฉัย ปัญหา เรื่อง ความ ไม่สุจริต ของ โจทก์ ที่ 2 จึง ถูกต้อง แล้วฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ที่ จำเลย ฎีกา ข้อ สุดท้าย มี ใจความ ว่า จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ โจทก์ เพราะ กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย จ. 5ข้อ 3.7.7 ระบุ ว่า การ ประกันภัย นี้ ไม่ คุ้มครอง ความเสียหาย หรือสูญหาย อัน เกิดจาก การ ลักทรัพย์ ยักยอก ทรัพย์ โดย บุคคล ที่ ได้รับ มอบหรือ ครอบครอง รถยนต์ ตาม สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ สัญญาซื้อขายหรือ สัญญา จำนำ หรือ โดย บุคคล ที่ กระทำ สัญญา ดังกล่าว ข้างต้น การ ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า กรณี ยืม ไม่มี ระบุ ไว้ ใน กรมธรรม์ประกันภัยไม่ต้อง ด้วย ข้อยกเว้น ดังกล่าว เป็น การ วินิจฉัย ที่ ไม่ได้ พิจารณา ถึงเจตนา ของ คู่สัญญา แต่อย่างใด จึง ไม่ชอบ ขอ ศาลฎีกา พิจารณา ตาม หลัก เจตนามาก กว่า ตาม ลายลักษณ์อักษร นั้น เห็นว่า ความเสียหาย หรือ ความ สูญหายตาม คำฟ้อง โจทก์ เกิดจาก การ ยักยอก ทรัพย์ ของ นาย ทักษิณ ซึ่ง เป็น บุคคล ที่ ได้ ยืม รถยนต์ นั้น จาก โจทก์ ที่ 2 ผู้เช่าซื้อ รถยนต์ จากโจทก์ ที่ 1 นาย ทักษิณ มิใช่ เป็น ผู้เช่าซื้อ ผู้เช่า ผู้รับจำนำ หรือ ผู้ซื้อ รถยนต์ ที่ เอา ประกันภัย ไว้ ทั้ง มิใช่ ผู้ครอบครอง รถยนต์ตาม สัญญาเช่า เช่าซื้อ ซื้อ ขาย หรือ สัญญา จำนำ เลย การ ที่ รถยนต์ซึ่ง จำเลย รับประกัน ภัย ไว้ ถูก นาย ทักษิณ ยักยอก เอาไป จึง ไม่อยู่ ใน เงื่อนไข ข้อจำกัด ความรับผิด ตาม กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย จ. 5ข้อ 3.7.7 ตาม ที่ จำเลย ยกขึ้น กล่าวอ้าง ใน ฎีกา จำเลย แต่อย่างใดหาก จะ ตีความ เจตนา ของ คู่สัญญา ตาม กรมธรรม์ประกันภัย ดังกล่าว แล้วยิ่ง เห็น ได้ ชัด ว่า โจทก์ ที่ 2 เอา ประกันภัย รถยนต์ ไว้ กับ จำเลยตาม ความ ประสงค์ ของ โจทก์ ที่ 1 ก็ เพื่อ คุ้มครอง รถยนต์ ที่ โจทก์ ที่ 2เช่าซื้อ มาจาก โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง หาก เกิด ความเสียหาย ใด แก่ รถยนต์ ที่โจทก์ ที่ 2 เช่าซื้อ มา โจทก์ ทั้ง สอง ย่อม ประสงค์ จะ ได้รับ ความคุ้มครองจาก กรมธรรม์ มาก ที่สุด เท่าที่ จะ เป็น ไป ได้ ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ว่า กรณี รถยนต์ ที่ เอา ประกันภัย ถูก นาย ทักษิณ ยักยอก ไป ไม่ เข้า เงื่อนไข การ ยกเว้น ความรับผิด และ การ ยกเว้น ภัย ตาม กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย จ. 5 ข้อ 3.7.7 และ ตาราง กรมธรรม์ เอกสาร หมาย จ. 6แผ่น ที่ 3 จำเลย จึง ต้อง รับผิด ตาม สัญญาประกันภัย นั้น ชอบแล้วฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน