แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ในระหว่างพิจารณา พ. รักษาการเจ้าอาวาสวัดโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่นาย ช. และนาย น. ฟ้องคดีแทนวัดโจทก์พร้อมกับได้ชี้แจงเหตุผลประกอบและได้ส่งหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่โดยไม่ได้ระบุมอบอำนาจให้นาย ช. เป็นผู้ฟ้องคดีแทนด้วยเพราะนาย ช. ถึงแก่กรรมไปแล้วย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใดทั้งกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา47แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนาย ช. และนาย น. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์มาแต่ต้น ที่ดินโจทก์ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าช้ามาแต่โบราณกาลล้อมรอบด้วยที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎต่อมาว่านาย ห.เป็นผู้แจ้งสิทธิครอบครองในที่ป่าช้าดังกล่าวไว้ด้วยเหตุผลที่จะกันไม่ให้ถูกบุกรุกยึดครองโดยเจตนาของนาย ห. ดังกล่าวนี้ได้ประกาศชัดเจนว่าถือครองในฐานะแทนโจทก์ซึ่งจำเลยก็มิได้คัดค้านโต้แย้งเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อเท็จจริงที่บริเวณที่ดินใกล้เคียงที่ป่าช้าซึ่งหากจำเลยยึดถือครอบครองและออกโฉนดซึ่งมีทั้งซากวัตถุโบราณซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมการฝังศพตลอดจนทางจำเลยก็ยอมรับถึงความเชื่อถือที่ไม่ยอมใช้น้ำในหนองโบสถ์ตรงตามที่พยานโจทก์เบิกความเป็นหนองน้ำใช้ล้างกระดูกศพแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าคำยืนยันของโจทก์ดังกล่าวเป็นความจริงว่าที่ดินพิพาทที่ล้อมรอบป่าช้าของโจทก์เป็นที่ที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการฝังศพจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. โจทก์จำเลยไม่อาจยกการครอบครองขึ้นยันวัดโจทก์การออกโฉนดในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบและโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์มีอำนาจขอให้เพิกถอนได้ตามฟ้อง
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ขอให้ พิพากษา เพิกถอนโฉนด ที่ดิน เลขที่ 2332, 447, 446, 2206, 2205, 98, 96, 1075ตั้ง อยู่ หมู่ ที่ 11 ตำบล วังไก่เถื่อน อำเภอหันคา จังหวัด ชัยนาท ห้าม จำเลย และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง ใน ที่ดิน ของ โจทก์
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 7 ที่ 8ศาลชั้นต้น อนุญาต จำหน่ายคดี เฉพาะตัว จำเลย ที่ 7 ที่ 8 ออกจากสารบบความ
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6 และ ที่ 9 ที่ 10 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ ที่ดิน ตาม ส.ค.1เลขที่ 199 ตั้ง อยู่ หมู่ ที่ 11 ตำบล วังไก่เถื่อน อำเภอหันคา จังหวัด ชัยนาท เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ห้าม จำเลย ทุกคนและ บริวาร เกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน โจทก์ ดังกล่าว
โจทก์ อุทธรณ์
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 2 ถึงแก่กรรม นาง จุน ซิละเซ็น ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่ง อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นอุทธรณ์ ให้ เป็น พับ
โจทก์ ฎีกา
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 1 ถึงแก่กรรม นาง แม้นศรี สาปาน ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลฎีกา มี คำสั่ง อนุญาต
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ดังกล่าว ใน ข้อ ที่ ว่า นาย เชื่อม และ นาย เนี่ยม มีอำนาจ ฟ้อง และ การ แต่งตั้ง ทนายความ ให้ ดำเนิน กระบวน พิจารณา แทน โจทก์ ชอบ หรือไม่ เป็น ข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความสงบเรียบร้อย ของ ประชาชน ซึ่ง จำเลย ยกขึ้น กล่าว ใน คำแก้อุทธรณ์ แล้วแต่ ศาลอุทธรณ์ มิได้ วินิจฉัย ศาลฎีกา สมควร วินิจฉัย ให้ โดย ไม่ ย้อนสำนวนศาลฎีกา เห็นว่า ไม่ว่า นาย เชื่อมและนายเนี่ยม จะ มีอำนาจ ฟ้องคดี ตาม หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 2 จ. 3 หรือไม่ ก็ ตาม แต่ ใน ระหว่างพิจารณา พระครู ศรีชโยดม รักษา การ เจ้าอาวาส วัด โจทก์ ได้ ยื่น คำร้อง ขอให้ สัตยาบัน การ ที่นาย เชื่อมและนายเนี่ยม ฟ้องคดี แทน วัด โจทก์ พร้อม กับ ได้ ชี้แจง เหตุผล ประกอบ และ ได้ ส่ง หนังสือมอบอำนาจ ฉบับ ใหม่โดย ไม่ได้ ระบุ มอบอำนาจ ให้ นาย เชื่อม เป็น ผู้ ฟ้องคดี แทน ด้วย นั้น เพราะ นาย เชื่อม ถึงแก่กรรม ไป แล้ว ย่อม เท่ากับ เป็น การ ให้ สัตยาบัน ใน การ มอบอำนาจ ให้ ฟ้องคดี ซึ่ง ไม่มี บทบัญญัติ แห่ง ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง ห้าม ไว้ แต่ ประการใด เมื่อ พิจารณา มาตรา 47แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบ ด้วย แล้ว นาย เชื่อม และ นาย เนี่ยม จึง มีอำนาจ ฟ้องคดี แทน โจทก์ มา แต่ ต้น การ ที่นาย เชื่อม และ นาย เนี่ยม ร่วมกัน แต่งตั้ง ทนายโจทก์ ให้ ดำเนิน กระบวนพิจารณา แทน โจทก์ จึง ชอบแล้ว โจทก์ ย่อม มีอำนาจ ฟ้อง มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา โจทก์ ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2332, 477, 466, 2206, 2205, 98และ 1075 ซึ่ง อยู่ ใน บริเวณ ที่ดินพิพาท ภายใน เส้น ดำ หมาย สีแดง ตามแผนที่ วิวาท เป็น ที่ดิน ของ วัด โจทก์ หรือไม่
พิเคราะห์ แล้ว ที่ดินพิพาท ภายใน เส้น ดำ หมาย สีแดง ตามแผนที่ วิวาท ตั้ง อยู่ ล้อมรอบ ที่ ป่าช้า ของ โจทก์ คือ บริเวณ เส้น ดำหมาย สีแดง ประหมายเลข 2 ใน แผนที่ วิวาท ข้อ ที่ โจทก์ อ้างว่า ได้ ย้ายวัด โจทก์ ซึ่ง แต่ เดิม ชื่อ วัด บ้านพราน จาก ฝั่ง ตะวันออก ของ แม่น้ำ ท่าจีน คือ บริเวณ ที่ดินพิพาท มา ยัง อีก ฝั่ง หนึ่ง ซึ่ง อยู่ ฝั่ง ตะวัน ตก ของ แม่น้ำ ท่าจีน และ เปลี่ยน ชื่อ ใหม่ เป็น วัด โจทก์ ปัจจุบัน ก็ ดี ข้อ ที่ ฝ่าย จำเลย ยืนยัน ว่า วัด บ้านพรานใต้ เป็น วัด ร้าง ไม่เกี่ยวกับ โจทก์ ก็ ดี ปรากฏว่า ประวัติ ความ เป็น มา ของวัด บ้านพรานใต้ เป็น อย่างไร ไม่มี พยานหลักฐาน ที่ สามารถ ยืนยัน ได้ แน่ชัด ทั้ง ไม่มี ชื่อ ของ วัด บ้านพรานใต้ อยู่ ใน ทะเบียน วัด ร้าง อีก ด้วย ข้ออ้าง นำสืบ ของ คู่ความ ทั้ง สอง ฝ่าย ล้วน แต่ มี พื้น ฐาน อ้างอิงจาก การ บอกเล่า สืบทอด กัน มา โดย ไม่มี พยาน ยืนยัน ได้ เป็น เด็ดขาดแต่ จาก ข้อเท็จจริง ที่ จำเลย นำสืบ รับ ตรง กับ โจทก์ ว่า ที่ดิน ของ โจทก์ดังกล่าว มี สภาพ เป็น ป่าช้า มา ตั้งแต่ โบราณกาล ล้อมรอบ ด้วย ที่ธรณีสงฆ์ของ วัด บ้านพรานใต้ จึง น่าเชื่อ ตาม สภาพ ที่ ปรากฏ เป็น ที่ พื้น เดียว กัน ว่า น่า จะ เป็น ป่าช้า ของ วัด บ้านพรานใต้ อยู่ เดิม เช่นเดียว กับ ที่ดินพิพาท ที่ พวก จำเลย ได้ เข้า ยึดถือ ภายหลัง นั้น และ จาก ข้อเท็จจริงที่ ปรากฏ ต่อมา ว่า นาย หรุ่น เป็น ผู้แจ้ง สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ ป่าช้า ดังกล่าว ไว้ ด้วย เหตุผล ที่ จะ กัน ไม่ให้ ถูก บุกรุก ยึดครอง โดย เจตนา ของนาย หรุ่น ดังกล่าว นี้ ได้ ประกาศ ชัดเจน ว่า ถือ ครอง ใน ฐานะ แทน โจทก์ ซึ่ง พวก จำเลย ก็ มิได้ คัดค้าน โต้แย้ง และ จาก ที่ พวก จำเลย ได้ ยอมรับ สิทธิของ โจทก์ ใน ที่ ป่าช้า ซึ่ง น่า จะ เป็น ของ วัด บ้านพรานใต้ นี้ เป็น การ สะท้อน ให้ เห็น ไป ใน ทาง ว่า พวก จำเลย ได้ มี ความ เชื่อ หรือ ยอมรับ ว่าวัด บ้านพรานใต้ และ วัด โจทก์ มี ส่วน เกี่ยวข้อง เชื่อม โยง กัน ที่ โจทก์ นำสืบ ว่าการ ขยาย ย้าย ไป สร้าง วัด ณ ที่ ตั้ง วัด โจทก์ ปัจจุบัน เนื่องจากความเจริญ แห่ง ท้องถิ่น ที่ ขยาย ไป ตาม สภาพ ขณะ นั้น และ การ เปลี่ยน ชื่อจาก วัด บ้านพราน เป็น วัด บ้านใหม่ เพื่อ เป็น สิริมงคล นั้น จึง มี เหตุผล น่า รับฟัง โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ใน มุม กลับ หาก วัด โจทก์ เป็นวัด ที่ สร้าง ใหม่ โดย ไม่มี ส่วน เกี่ยวข้อง กับ วัด บ้านพรานใต้ ก็ จะ ขัด ต่อ ข้อเท็จจริง และ ปราศจาก เหตุผล ว่า โจทก์ ได้ ถือ สิทธิ ใช้ ประโยชน์ใน ที่ ป่าช้า ของ วัด บ้านพรานใต้ ซึ่ง อยู่ คน ละ ฝั่ง แม่น้ำ และ นาย หรุ่น ถือ สิทธิ ใน ที่ ป่าช้า ดังกล่าว แทน โจทก์ ซึ่ง ตั้ง อยู่ บน พื้น ฐาน ข้อเท็จจริง หรือ เหตุผล ใด เป็น หลัก จึง สามารถ ยัน พวก จำเลยเป็น ผล ให้ ไม่ติดใจ คัดค้าน ได้ ดังนี้ เมื่อ พิเคราะห์ ประกอบ ข้อเท็จจริงที่ บริเวณ ที่ดิน ใกล้เคียง ที่ ป่าช้า ซึ่ง พวก จำเลย ยึดถือ ครอบครองและ ออก โฉนด ซึ่ง มี ทั้ง ซาก วัตถุโบราณ ซึ่ง มี ความ เกี่ยวเนื่อง กับพิธี กรรม ทาง ฝัง ศพ ตลอดจน พวก จำเลย ก็ ยอมรับ ถึง ความ เชื่อถือ ที่ ไม่ยอมใช้ น้ำ ใน หนอง โบสถ์ ตรง ตาม ที่ พยานโจทก์ เบิกความ ว่า เป็น หนองน้ำ ใช้ ล้างกระดูก ศพ แล้ว ยิ่ง เห็น ได้ ชัด ว่า คำ ยืนยัน ของ โจทก์ ดังกล่าวเป็น ความจริง ว่า ที่ดินพิพาท ที่ ล้อมรอบ ที่ ป่าช้า ของ โจทก์ เป็น พื้นที่ที่ ใช้ ประโยชน์ เกี่ยวเนื่อง ใน การ ทำ พิธี เกี่ยวกับ การ ฝัง ศพ จริงยิ่ง เห็น ได้ แน่ชัด ว่า ที่ดิน ของ วัด บ้านพรานใต้ ที่ พวก จำเลย ยึดถือ ครอบครอง และ ออก โฉนด เป็น ส่วน ที่ ป่าช้า ของ โจทก์ ซึ่ง ความจริงเป็น ผืน เดียว กัน และ เป็น ของ วัด บ้านพรานใต้ ตั้งแต่ โบราณกาล นั้นเอง ที่ โจทก์ นำสืบ ขยาย ที่ วัด มา ถึง ยัง ที่ ใหม่ และ เปลี่ยน ชื่อ เป็นวัด บ้านใหม่ นั้น จึง สอดคล้อง กับ ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ และ เชื่อม โยง สม เหตุ สม ผล มี น้ำหนัก รับฟัง เชื่อถือ ได้ เฉพาะอย่าง ยิ่งนาย บุญรอด จันทร์ฟัก และ นาย ชิต โฉมเชิด พยานโจทก์ ซึ่ง มี อายุ 53 ปี และ 52 ปี ตามลำดับ ซึ่ง ได้ ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดินใกล้เคียง ที่ดินพิพาท ต่อ จาก บิดา มารดา ของ ตน ต่าง ก็ ยินยอม คืน ที่ดินซึ่ง แม้ ได้ ออก หลักฐาน เป็น น.ส. 3 แล้ว แก่ วัด โจทก์ โดย ดี ทั้งนี้เพราะ บิดา มารดา ได้ บอก ไว้ ว่า บริเวณ ที่ดิน ที่ ตน ครอบครอง อยู่ นี้เป็น ที่ดิน ป่าช้า ของ วัด โจทก์ หาก วัด โจทก์ จะ เอาคืน ก็ คืน ให้ วัด โจทก์ ไปตรงกันข้าม ที่ จำเลย นำสืบ ว่า วัด บ้านพรานใต้ ไม่มี ส่วน เกี่ยวข้อง กับ โจทก์ นั้น เป็น เพียง คำ ปฏิเสธ ลอย ๆ ซึ่ง นอกจาก จะ ขัด กับ ข้อเท็จจริงและ เหตุ ที่ ได้ วินิจฉัย มา ข้างต้น แล้ว ยัง เห็น ได้ จาก ที่ จำเลย นำสืบ เองว่า พวก จำเลย มี ความ ต้องการ ที่ จะ สร้าง วัด ใหม่ ด้วย เหตุผล ความสะดวกไม่ต้อง ข้าม แม่น้ำ ไป ทำบุญ และ ด้วย เหตุผล ที่ ไม่ยอม ให้ ทรัพย์สินที่ สร้าง ใช้ อยู่ ใน ความ ดูแล ของ โจทก์ อีก ไม่ยอม รับ วิธีการ ใน การประนีประนอม ของ โจทก์ ขอให้ ตั้ง เป็น สำนัก สาขา ของ โจทก์ พยานหลักฐานจำเลย จึง ขาด น้ำหนัก ที่ จะ รับฟัง เชื่อถือ ข้อเท็จจริง จึง มี น้ำหนักให้ รับฟัง ได้ ตาม พยานหลักฐาน โจทก์ ที่ นำสืบ ว่า ที่ดินพิพาท เป็นธรณีสงฆ์ ของ วัด บ้านพรานใต้ ซึ่ง เป็น วัด เดียว กับ วัด โจทก์ จำเลย ไม่อาจ ยก การ ครอบครอง ขึ้น ยัน วัด โจทก์ การ ออก โฉนด ใน ที่ดินพิพาทซึ่ง เป็น ธรณีสงฆ์ ดังกล่าว จึง ไม่ชอบ และ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์โจทก์ มีอำนาจ ที่ ขอให้ เพิกถอน ได้ ตาม ฟ้อง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษามา นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ เพิกถอน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 2332, 477, 466,2206, 2205, 98 และ 1075 ตำบล วังไก่เถื่อน อำเภอหันคา จังหวัด ชัยนาท ห้าม มิให้ จำเลย เข้า เกี่ยวข้อง