คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์นั้นต้องแยกคำนวณตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามข้อหาของการผิดสัญญาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1รับผิดจากสัญญาเล่นแชร์2วงแต่ละวงมีรายละเอียดข้อสัญญาต่างกันการผิดสัญญาวงหนึ่งวงใดไม่เป็นเหตุให้ผิดสัญญาอีกวงหนึ่งด้วยโจทก์จึงสามารถแยกฟ้องจำเลยที่1ได้ตามข้อหาของการผิดสัญญาเป็นสองคดีเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันสำหรับการเล่นแชร์แต่ละวงมีจำนวนไม่เกิน50,000บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ จัด ให้ มี การ เล่นแชร์ ชนิด ดอก ตาม ขึ้น 2 วงโดย โจทก์ เป็น หัวหน้า วง จำเลย ที่ 1 ได้ เล่นแชร์ กับ โจทก์ วง แรกจำนวน 7 มือ วง ที่ สอง จำนวน 6 มือ โดย จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น สามีของ จำเลย ที่ 1 รู้เห็น ยินยอม และ ได้ ให้ สัตยาบัน ใน การ เล่นแชร์ดังกล่าว ทั้ง ได้ นำ เงิน ที่ เล่นแชร์ ได้ มา ใช้ อุปการะ เลี้ยงดู ครอบครัวต่อมา จำเลย ที่ 1 ประมูล แชร์ วง แรก ได้ รวม 5 ครั้ง ได้รับ เงิน ค่าแชร์ที่ ประมูล ได้ ไป ครบถ้วน แล้ว จำเลย ที่ 1 หลบหนี ไป ไม่ยอม ส่ง ค่าแชร์ที่ ประมูล ได้ ไป แล้ว 5 มือ และ ที่ เหลือ ยัง ไม่ได้ ประมูล อีก 2 มือโจทก์ ต้อง ส่ง ค่าแชร์ แทน จำเลย ที่ 1 ให้ ลูกวงแชร์ ที่ ประมูล ได้ เป็น เงิน24,900 บาท ส่วน แชร์ วง ที่ สอง จำเลย ที่ 1 ประมูล ได้ รวม 5 ครั้งแล้ว หลบหนี ไป เช่นกัน โจทก์ ต้อง ชำระ ค่าแชร์ แทน จำเลย ที่ 1 ให้ แก่ลูกวงแชร์ ที่ ประมูล แชร์ ได้ เป็น เงิน 38,880 บาท รวม ค่าแชร์ 2 วงที่ โจทก์ ชำระ แทน จำเลย ที่ 1 ไป จำนวน 63,780 บาท ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 63,780 บาท แก่ โจทก์ พร้อมดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ รู้เห็น ยินยอม หรือให้ สัตยาบัน การ เล่นแชร์ ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ไม่เคย นำ เงินมา ใช้ อุปการะ เลี้ยงดู ครอบครัว จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ต้อง ร่วมรับผิดต่อ โจทก์ โจทก์ เล่นแชร์ กับ คนอื่น และ ให้ คนอื่น ประมูล แชร์ ใน นามของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ไม่เคย เล่นแชร์ กับ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงินจำนวน 63,780 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า คดี นี้ มี ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน 50,000 บาท ห้าม อุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 อุทธรณ์ ของ จำเลยที่ 2 ล้วน โต้เถียง ใน ข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ จึง ไม่รับ วินิจฉัยพิพากษายก อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มูลหนี้ ที่ โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 1รับผิด นั้น เกิดจาก สัญญา เล่นแชร์ 2 วง แต่ละ วง มี รายละเอียด ข้อ สัญญาต่างกัน จำเลย ที่ 1 ผิดสัญญา วง หนึ่ง วง ใด ไม่เป็นเหตุ ให้ ผิดสัญญาอีก วง หนึ่ง การ ที่ โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ผิดสัญญา เล่นแชร์ วง แรกจึง มิได้ เกี่ยวข้อง กับ ข้อหา ที่ โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ผิดสัญญา เล่นแชร์วง ที่ สอง โจทก์ จึง สามารถ แยก ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ได้ ตาม ข้อหา ของ การผิดสัญญา เล่นแชร์ แต่ละ วง ได้ เป็น สอง คดี ซึ่ง แต่ละ คดี ก็ จะ มี ทุนทรัพย์พิพาท ไม่เกิน 50,000 บาท แม้ โจทก์ จะ ได้ รวม ฟ้อง จำเลย ที่ 1 เป็นสอง ข้อหา รวมกัน มา เป็น คดี เดียว โดย ศาลชั้นต้น รับคำ ฟ้อง ไว้ พิจารณามิได้ มี คำสั่ง ให้ แยก คดี ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 29 ก็ ตาม แต่เมื่อ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1รับผิด ใช้ เงิน แก่ โจทก์ ตาม ฟ้อง โดย ให้ จำเลย ที่ 2 ร่วมรับผิด ในมูลหนี้ ดังกล่าว เนื่องจาก ว่า เป็น หนี้ ร่วม แล้ว จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ดังนี้ “ใน การ คำนวณ ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งนั้น ศาล ต้อง แยก คำนวณ ตาม จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ตาม ข้อหา ของการ ผิดสัญญา เล่นแชร์ แต่ละ วง เมื่อ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน สำหรับเล่นแชร์ วง แรก มี จำนวน 24,900 บาท วง ที่ สอง มี จำนวน 38,880 บาทจึง ต้อง ถือว่า อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 2 เป็น คดี ที่ มี จำนวน ทุก ทรัพย์ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน 50,000 บาท ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ห้าม มิให้ คู่ความ อุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของจำเลย ที่ 2 เพราะ จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง จึง ชอบแล้วฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share