แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองซึ่งเป็นผู้ให้กู้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้จำนองหรือผู้กู้ได้แม้เงินกู้ที่ผู้จำนองรับไปจะเป็นเงินของบิดาโจทก์เพราะเป็นเรื่องที่บิดาโจทก์เจตนาช่วยออกเงินกู้ให้แทนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องจึงไม่ชอบ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย กู้ยืม เงิน โจทก์ จำนวน 1,000,000 บาทอัตรา ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อ ปี กำหนด ชำระ ดอกเบี้ย ทุกเดือน โดย จำเลยจดทะเบียน จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1428 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ไว้เป็น ประกัน หลังจาก นั้น จำเลย ไม่เคย ชำระ ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ เลยโจทก์ ทวงถาม ให้ จำเลย ชำระหนี้ และ บอกกล่าว บังคับจำนอง แล้ว แต่ จำเลยไม่ชำระ ถึง วันฟ้อง จำเลย เป็น หนี้ โจทก์ ทั้ง ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย รวม1,237,500 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว แก่ โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,000,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ หาก ไม่ชำระ ให้ ยึดทรัพย์ จำนองออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา ชำระหนี้ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย กู้ยืม เงิน โจทก์ โดย จดทะเบียน จำนองที่ดิน ไว้ เป็น ประกัน เมื่อ ประมาณ ปี 2530 จำเลย เคย ลงลายมือชื่อใน หนังสือมอบอำนาจ ที่ ยัง ไม่ได้ กรอก ข้อความ พร้อม กับ มอบ โฉนด ที่ดินของ จำเลย ให้ นาย ทนงหรืออุดมศักดิ์ แสงเวช ไป ดำเนินการ ขอ รังวัด แบ่งแยก ต่อมา นาย ทนง นายเดือน นาชัย และ โจทก์ร่วม กัน กรอก ข้อความ ลง ใน หนังสือมอบอำนาจ ว่า จำเลย มอบอำนาจ ให้ นาย เดือน จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน ดังกล่าว ไว้ แก่ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระหนี้ จำนอง จำนวน 1,237,500 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,000,000บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ หาก ไม่ชำระ ให้ ยึดทรัพย์จำนอง ตาม ฟ้อง ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา ชำระหนี้ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าเมื่อ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2531 นาย เดือน นาชัย ได้ นำ หนังสือ มอบอำนาจ ซึ่ง มี ลายมือชื่อ จำเลย เป็น ผู้มอบอำนาจ ตาม เอกสาร หมาย จ. 5ไป จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1428 ตำบล ใน เมือง อำเภอเมือง ขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ไว้ แก่ โจทก์ เพื่อเป็น ประกัน การกู้ยืมเงิน ไป จาก โจทก์ จำนวน 1,000,000 บาท โดย ให้ ถือว่าหนังสือ สัญญาจำนอง เป็น หลักฐาน ใน การกู้ยืมเงิน ด้วย ตาม เอกสาร หมาย จ. 1และ จ. 6 ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ มี ว่า โจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลย ใน คดี นี้ ตาม คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 หรือไม่ปัญหา ดังกล่าว โจทก์ ฎีกา ว่า ทางนำสืบ ของ โจทก์ ฟังได้ ว่า โจทก์ กับนาย เหวัง บิดา โจทก์ เป็น หุ้นส่วน กัน อยู่ ใน ร้าน ภิรมย์ภัณฑ์ ซึ่ง รายได้ ทั้งหมด ของ ร้าน ภิรมย์ภัณฑ์ เป็น รายได้ ร่วมกัน ระหว่าง โจทก์ กับ นาย เหวัง การ จ่ายเงิน ต่าง ๆ นาย เหวัง จะ เป็น ผู้จ่าย ทั้งหมด และ เงิน ที่ ให้ จำเลย กู้ยืม ไป นั้น ก็ เป็น เงิน ของ โจทก์ เพียงแต่นาย เหวัง เป็น ผู้จ่าย เงิน ไป ใน นาม ของ โจทก์ เท่านั้น เห็นว่า เมื่อ ข้อเท็จจริง ปรากฏ ตาม หลักฐาน ว่า หนังสือ สัญญาจำนอง ที่ดิน ตามเอกสาร หมาย จ. 1 มี จำเลย เป็น คู่สัญญา โดย จดทะเบียน จำนอง ไว้ แก่ โจทก์เพื่อ เป็น ประกัน การกู้ยืมเงิน ซึ่ง ผู้จำนอง กู้ยืม ไป จาก ผู้รับจำนองดังนี้ แม้ จะ ฟัง ว่า เงินกู้ ที่ ผู้จำนอง รับ ไป จะ เป็น เงิน ของ นาย เหวัง บิดา โจทก์ และ นาย เหวัง เป็น ผู้ มอบ เงินกู้ ดังกล่าว ให้ แก่ ผู้จำนอง รับ ไป ก็ เป็น เรื่อง ที่นาย เหวัง มี เจตนา ช่วย ออก เงินกู้ แทน โจทก์ ซึ่ง เป็น บุตร โจทก์ ใน ฐานะ ผู้รับจำนอง ซึ่ง เป็น ผู้ให้กู้ ย่อม มีอำนาจฟ้อง จำเลย ใน ฐานะ ผู้จำนอง หรือ ผู้กู้ ได้ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1วินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่ใช่ ผู้เสียหาย พิพากษา ให้ โจทก์ แพ้ คดี โดย อ้างว่าไม่มี อำนาจฟ้อง นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย สำหรับ ประเด็น ข้อพิพาท ว่าจำเลย ได้ กู้ยืม เงิน โจทก์ และ จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้างเพื่อ เป็น ประกัน เงินกู้ ไว้ แก่ โจทก์ จริง หรือไม่ กับ ประเด็น ที่ โจทก์บอกกล่าว บังคับจำนอง ชอบแล้ว หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ยัง ไม่ได้วินิจฉัย และ โจทก์ มิได้ ยก ประเด็น ดังกล่าว เป็น ข้อ ฎีกา ขึ้น มากรณี มีเหตุ สมควร ที่ ศาลฎีกา จะ ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1พิจารณา และ มี คำพิพากษา ใหม่ ตาม ประเด็น ข้อพิพาท ต่อไป ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ให้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1พิจารณา ใน ประเด็น ข้อพิพาท แห่ง คดี ต่อไป แล้ว มี คำพิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี