แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การที่ผู้ทำพินัยกรรมได้เติมวันที่และเดือนในพินัยกรรมที่ ส.พิมพ์มาให้ตามความต้องการแล้วลงลายมือชื่อในพินัยกรรมหลังจากนั้นพยานอีก3คนจึงลงลายมือชื่อมิใช่เป็นการตกเติมแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมทั้งเป็นการเติมก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจึงไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น บุตร ของ นาง ปราณี ทองคำใส ภริยา เดิม ของ นาย ประทีป ทองคำใส แต่ ไม่ได้ จดทะเบียนสมรส แล้ว เลิก ร้าง กัน นาย ประทีป ได้ จดทะเบียนสมรส กับ จำเลย มี บุตร ด้วยกัน 8 คน ก่อน ถึง แก่ กรรม นาย ประทีป ทำ พินัยกรรม ยก ทรัพย์สิน ให้ แก่ จำเลย และ บุตร ทั้ง 8 คน แต่ พินัยกรรม เป็น โมฆะ เพราะ ผู้ทำพินัยกรรม ไม่ได้ ลงลายมือชื่อต่อหน้า พยาน อย่างน้อย สอง คน พร้อมกัน ผู้พิมพ์ และ พยาน คนหนึ่ง เป็น บุคคลคนเดียว กัน ไม่มี การ ลงลายมือชื่อ กำกับ ใน ช่อง ที่ กรอก วันที่ และ เดือนโจทก์ เป็น บุตร นอก กฎหมาย ที่ บิดา รับรอง แล้ว และ อยู่ ใน ฐานะ ทายาทโดย ธรรม จึง มีสิทธิ 1 ใน 10 ของ ทรัพย์มรดก มูลค่า 11,000,000 บาท ตามบัญชีทรัพย์ ท้ายฟ้อง แต่ จำเลย ไม่ยอม แบ่งปัน ให้ แก่ โจทก์ ขอให้ บังคับจำเลย แบ่ง ทรัพย์มรดก จำนวน 1 ใน 10 ส่วน โดย โอน และ ส่งมอบ ให้ แก่โจทก์ หาก ไม่สามารถ ดำเนินการ ได้ ให้ ใช้ ราคา เป็น เงิน 1,100,000 บาท
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า พินัยกรรม มีผล บังคับ ตามกฎหมาย เพราะ ผู้ทำพินัยกรรม และ พยาน รวม 3 คน ได้ ลงลายมือชื่อไว้ ต่อหน้า พร้อมกัน การ กรอก วันที่ และ เดือน ใน ช่องว่าง มิใช่ การ แก้ไขตก เติม ที่ ต้อง ลงลายมือชื่อ กำกับ ไว้ โจทก์ ถูก ตัด มิให้ รับมรดก จึง หามีสิทธิ อย่างใด ใน ทรัพย์มรดก และ ตาม บัญชีทรัพย์ นั้น ที่ดิน ตาม โฉนดเลขที่ 10389 ราคา ประมาณ 1,250,000 บาท ได้ ขาย ไป แล้ว แบ่ง เงินเป็น สินสมรส ของ จำเลย กึ่งหนึ่ง เงิน ส่วน ที่ เหลือ ให้ เป็น ค่า ทำ ศพ และชดใช้ หนี้ ของ นาย ประทีป หมด แล้ว ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 7524 เป็น ของ นาย สราวุธ ทองคำใส ไม่ใช่ ทรัพย์มรดก ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 24638 ราคา ประมาณ ไม่เกิน 1,000,000 บาท และ ไม่มี เงินฝาก ในธนาคาร ตาม ฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ โดย ได้รับ อนุญาต ให้ อุทธรณ์ อย่าง คนอนาถา
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ฎีกา อย่าง คนอนาถา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา ของ โจทก์ มี ว่า พินัยกรรม เป็น โมฆะ หรือไม่ จำเลย มีนาย สมบัติ วอทอง และ นาย สมชาย วจนะวิชากร เบิกความ ตรง กัน ว่า ประมาณ ปลาย เดือน สิงหาคม 2526 นาย ประทีป ได้ ให้ นาย สมบัติ ซึ่ง มี อาชีพ เป็น ทนายความ ร่าง พินัยกรรม ยก ทรัพย์มรดก ทั้งหมด ให้จำเลย และ บุตร อีก 8 คน และ ตัด โจทก์ ออก มิให้ รับมรดก ทั้ง ให้ จำเลยเป็น ผู้จัดการมรดก นาย สมบัติ ได้ ร่าง และ พิมพ์ พินัยกรรม ให้ โดย เว้น ช่อง วันที่ และ เดือน ไว้ ใน วันที่ 1 กันยายน 2526 นาย ประทีป ได้ นัดหมาย ให้ นาย สมบัติ นายสมชายและนายสถาพร เรืองเสรี ไป พร้อมกัน ที่ บ้าน ของ นาย ประทีป นาย ประทีป บอก บุคคล ดังกล่าว ว่า จะ ทำ พินัยกรรม ได้ อ่าน ข้อความ ให้ พยาน ฟัง และ ลงวันที่ และ เดือน ใน ช่อง ที่ เว้น ไว้หลังจาก นั้น นาย ประทีป ได้ ลงลายมือชื่อ เป็น ผู้ทำพินัยกรรม ต่อหน้า นาย สมบัติ นายสมชาย และนายสถาพร พยาน ทั้ง สาม คน ได้ ลงลายมือชื่อ ไว้ ต่อหน้า นาย ประทีป ดังนี้ จะ เห็น ได้ว่า พยาน จำเลย ดังกล่าว เบิกความ มีเหตุ ผล สอดคล้อง เชื่อม โยง กัน ทั้ง ไม่ปรากฏ ว่า มี สาเหตุ โกรธเคือง กับฝ่ายใด มา ก่อน ฝ่าย โจทก์ นำสืบ ว่า นาย ประทีป ทำ พินัยกรรม โดย ไม่ได้ ลงวันที่ และ เดือน ที่ ทำ พินัยกรรม อ้างว่า นาย ประทีป เคย นำ พินัยกรรม ไป ให้ โจทก์ ดู นั้น ซึ่ง ขาด เหตุผล เพราะ เมื่อ นาย ประทีป ได้ ตัด โจทก์ ออกจาก การ เป็น ทายาท จึง ไม่มี เหตุ ที่ จะ ให้ โจทก์ ดู พินัยกรรม เพราะ จะทำให้ โจทก์ โกรธเคือง ได้ ส่วน ที่ ว่า นาย สถาพร เบิกความ เป็น พยานโจทก์ ว่า ได้ ลงลายมือชื่อ เป็น พยาน ใน พินัยกรรม ที่ สำนักงาน เทศบาล เมืองอุบลราชธานี โดย ตาม คำเบิกความ ไม่ปรากฏ แน่ชัด ว่า นาย ประทีป ได้ ลงลายมือชื่อ ต่อหน้า พยาน หรือไม่ ได้ความ จาก ทางนำสืบ ของ จำเลย ว่านาย สถาพร เคย เป็น ฝ่าย ตรงข้าม ใน การ หา เสียง เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล อาจ มี สาเหตุ โกรธเคือง กับ นาย ประทีป และ จำเลย กับพวก ภายหลัง จาก ทำ พินัยกรรม แล้ว ก็ ได้ ดัง จะ เห็น ได้ จาก การ ที่ จำเลย ไม่ได้ เชิญนาย สถาพร ไป ร่วม งาน ศพ ของ นาย ประทีป นาย สถาพร จึง อาจ เบิกความ ช่วยเหลือ โจทก์ ก็ ได้ พยาน จำเลย มีเหตุ ผล และ น้ำหนัก น่าเชื่อกว่า พยานโจทก์ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า นาย ประทีป ได้ เติม วันที่ และ เดือน ใน พินัยกรรม ที่นาย สมบัติ พิมพ์ มา ให้ ตาม ความ ต้องการ ของ นาย ประทีป แล้ว ลงลายมือชื่อ ใน พินัยกรรม หลังจาก นั้น พยาน อีก 3 คน จึง ลงลายมือชื่อ เช่นนี้ การ ที่นาย ประทีป เติม วันที่ และ เดือน ลง ใน พินัยกรรม ดังกล่าว มิใช่ เป็น การ ตก เติม แก้ไข เปลี่ยนแปลง พินัยกรรมตาม ความหมาย ของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 วรรคสองทั้ง เป็น การ เติม ก่อน ที่นาย ประทีป และ พยาน ใน พินัยกรรม ลงลายมือชื่อ ดังนั้น การ เติม ข้อความ ดังกล่าว จึง ไม่ต้อง ปฏิบัติ ตาม มาตรา 1656วรรคสอง พินัยกรรม จึง สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษามา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน