แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์มิได้ทุจริตหรือประมาทเลินเล่อในการฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยแต่เป็นการช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจโดยจำเลยก็ได้รับผลประโยชน์จากการเบิกเงินเกินบัญชีและรับซื้อลดตั๋วเงินที่ผิดระเบียบดังกล่าวด้วยและสาขาอื่นของจำเลยก็ปฏิบัติทำนองเดียวกันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่เป็นธรรม และ ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ขอให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า เงินทุน เลี้ยงชีพ เงินบำเหน็จ พิเศษ เงินโบนัส และค่าเสียหาย พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย มี คำสั่ง ปลด โจทก์ ออกจาก การ เป็น พนักงานเนื่องจาก โจทก์ จงใจ ปฏิบัติ ฝ่าฝืน ระเบียบ และ คำสั่ง ของ จำเลย ทำให้จำเลย ได้รับ ความเสียหาย อย่างร้ายแรง โจทก์ ไม่มี สิทธิ ได้รับ เงินต่าง ๆ ตาม ฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย จำนวน 202,980 บาทและ เงินทุน เลี้ยงชีพ จำนวน 656,777 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน เลิกจ้าง สำหรับ ค่าชดเชย และ นับแต่วันฟ้อง สำหรับ เงินทุน เลี้ยงชีพ เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก เสีย
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา วินิจฉัย เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ตาม อุทธรณ์ จำเลย ว่า การกระทำ ของ โจทก์ เป็น กรณี ร้ายแรงหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริง รับฟัง เป็น ยุติ ตาม คำวินิจฉัย ของศาลแรงงานกลาง ว่า โจทก์ ฝ่าฝืน ระเบียบ และ คำสั่ง เกี่ยวกับ การปฏิบัติงาน ของ จำเลย มิได้ เกิดจาก การทุจริต หรือ ประมาท เลินเล่อหาก แต่ เป็น การ ผ่อน สั้น ผ่อน ยาว ช่วยเหลือ ลูกค้า ที่ ประสบ ปัญหา อันสืบเนื่อง จาก ภาวะ วิกฤตทาง เศรษฐกิจ โดย ธนาคาร จำเลย ก็ ได้รับผลประโยชน์ จาก การ เบิกเงินเกินบัญชี และ รับ ซื้อ ลด ตั๋วเงิน ที่ ผิดระเบียบ ดังกล่าว ด้วย และ สาขา อื่น ของ ธนาคาร จำเลย ก็ มี การ ปฏิบัติ ทำนองข้างต้น ดังนี้ การกระทำ ของ โจทก์ ที่ ฝ่าฝืน ระเบียบ และ คำสั่ง เกี่ยวกับการ ปฏิบัติงาน ของ จำเลย ดังกล่าว จึง เป็น การกระทำ โดย เจตนา เพื่อประโยชน์ ของ ธนาคาร จำเลย หา ได้ มี เจตนา ที่ จะ ก่อ ให้ เกิด ความเสียหายแก่ ธนาคาร จำเลย ไม่ จึง ไม่อาจ ถือ เป็น ความผิด ร้ายแรง ดัง ที่ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ถูกต้อง แล้ว อุทธรณ์ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน