คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่ ป. สามีผู้ร้องและผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นการยึดถือแทนหรือครอบครองโดยอาศัยสิทธิของผู้คัดค้านที่7ซึ่งเป็นผู้จะขายต่อมาผู้คัดค้านที่7ผิดสัญญาและ ป. ได้ยื่นฟ้องแล้วศาลมีคำพิพากษาตามยอมโดยผู้คัดค้านที่7ยินยอมให้ผู้ร้องลงชื่อมีกรรมสิทธิ์ร่วมภายใน3วันนับแต่วันทำยอมและจะแบ่งแยกโฉนดที่ดินในวันดังกล่าวแสดงว่าผู้คัดค้านที่7ยังมิได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ป. เมื่อ ป. หรือผู้ร้องมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือไปยังผู้คัดค้านที่7แม้ผู้ร้องครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทติดต่อกันมาเกิน10ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382

ย่อยาว

ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ มี คำสั่ง แสดง ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2703เฉพาะ แปลง ที่ 1 ที่ 10 และ ที่ 11 ตาม รูป แผนที่ แสดง เขต แบ่งแยกที่ดิน เอกสาร ท้าย คำร้องขอ หมายเลข 3 เนื้อที่ 392 ตารางวา เป็นกรรมสิทธิ์ ของ ผู้ร้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
ผู้คัดค้าน ที่ 1 ถึง 7 ยื่น คำคัดค้าน ขอให้ ยกคำร้อง ขอ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ผู้ร้อง ได้ กรรมสิทธิ์ โดย การ ครอบครองปรปักษ์ ที่ดินพิพาท แปลง ที่ 1 ที่ 10 และ ที่ 11 ตาม แผนผัง แบ่งแยกโฉนด ที่ดิน เลขที่ 2703 ตำบล บางมด อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เอกสาร หมาย ร.3 โดย ให้ มี แนวเขต ตาม แผนที่ พิพาท
ผู้คัดค้าน ที่ 7 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้คัดค้าน ที่ 7 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ เป็น ยุติ ว่า เมื่อ ปี 2509 นาย ปิยะ ศรไพศาล สามี ผู้ร้อง ได้ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท แปลง ที่ 1 ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่งของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2703 ตำบล บางมด (บางค้อ) อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร (ธนบุรี ) ตาม สำเนา โฉนด ที่ดิน เอกสาร หมาย ร.6ของ ผู้คัดค้าน ที่ 7 ซึ่ง ผู้คัดค้าน ที่ 7 เจ้าของ ที่ดิน ดังกล่าวได้ แบ่งแยก ออก เป็น แปลง ย่อย ตาม รูป แผนที่ แสดง เขต แบ่งแยก ที่ดินเอกสาร หมาย ร.3 แผ่น ที่ 5 เพื่อ จัดสรร ขาย แก่ บุคคล ทั่วไป ต่อมาใน ปี 2512 นาย ปิยะ ตกลง กับ ผู้คัดค้าน ที่ 7 ตาม บันทึก เอกสาร หมาย ร.4 แผ่น ที่ 4 หรือ เอกสาร หมาย ร.5 เข้า สวม สิทธิ เป็น ผู้จะซื้อที่ดิน แปลง ที่ 10 และ ที่ 11 ของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2703 ที่ ผู้คัดค้านที่ 7 ได้ ทำ สัญญาจะขาย ให้ แก่ พันตำรวจเอก เจริญ วัจนะคุปต์ ต่อมา ปี 2513 นาย ปิยะ ฟ้อง ผู้คัดค้าน ที่ 7 ต่อ ศาลแพ่ง เป็น คดี หมายเลขดำ ที่ 982/2513 ขอให้ บังคับ ผู้คัดค้าน ที่ 7 ปฏิบัติ ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลง นั้น แต่ คดี ตกลง กัน ได้และ ศาลแพ่ง ได้ พิพากษา ตามยอม โดย ผู้คัดค้าน ที่ 7 ตกลง ขาย ที่ดินพิพาททั้ง สาม แปลง โดย ปลอด จำนอง ให้ แก่ นาย ปิยะ และ จะ ไป โอน กรรมสิทธิ์ ลงชื่อ นาย ปิยะ ถือ กรรมสิทธิ์ร่วม ใน ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว ภายใน กำหนด 3 วัน นับแต่ วัน ทำ ยอม หาก ผิดนัด ให้ ถือเอา คำพิพากษา ตามยอมเป็น การแสดง เจตนา และ นาย ปิยะ ตกลง จะ ชำระ เงิน ค่าที่ดิน ที่ ค้าง ชำระ จำนวน 81,644 บาท ให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 7 ใน วัน ทำนิติกรรมซื้อ ขาย ลงชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ร่วม ใน ที่ดิน ดังกล่าว ณ สำนักงาน ที่ดินจังหวัด ธนบุรี โดย ผู้คัดค้าน ที่ 7 จะ ดำเนินการ แบ่งแยก โฉนด ที่ดินใน ส่วน ของ นาย ปิยะ ใน วันที่ จดทะเบียน ลงชื่อ นาย ปิยะ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ร่วม ปรากฏ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความและ คำพิพากษา ตามยอม เอกสาร หมาย ร.7 ใน คดี หมายเลขแดง ที่ 1147/2514ของ ศาลแพ่ง หลังจาก นั้น นาย ปิยะ และ ผู้ร้อง ก็ ครอบครอง ที่ดิน พิพาท ต่อมา แต่ ไม่ได้ มี การ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ตามยอม นั้นแต่อย่างใด นาย ปิยะ ถึงแก่กรรม ใน ปี 2524 หลังจาก นาย ปิยะ ถึงแก่กรรม แล้ว ผู้ร้อง ก็ ยัง ครอบครอง ที่ดินพิพาท ต่อมา จน ถึง ปัจจุบัน
คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ ตาม ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ที่ 7ว่า ผู้ร้อง ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลง โดย การ ครอบครองปรปักษ์ หรือไม่ ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 7 ฎีกา ว่า นาย ปิยะ และ ผู้ร้อง ได้ เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ แม้ จะครอบครอง ช้านาน เท่าใด ก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่าการ ที่นาย ปิยะ สามี ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ที่ 7 ได้ ตกลง จะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลง แล้ว นาย ปิยะ และ ผู้ร้อง เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท ดังกล่าว เป็น การ ครอบครอง โดย อาศัย สิทธิ ของ ผู้คัดค้านที่ 7 ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย อันเป็น การ ยึดถือ ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลงแทน ผู้คัดค้าน ที่ 7 มิใช่ เป็น การ ยึดถือ ที่ดินพิพาท ใน ฐานะ เป็น เจ้าของเมื่อ ต่อมา ผู้คัดค้าน ที่ 7 ผิดสัญญา จะซื้อจะขาย และ นาย ปิยะ ฟ้อง ผู้คัดค้าน ที่ 7 ให้ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ดังกล่าว ต่อ ศาลแพ่ง แล้ว ได้ มี การทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กัน และ ศาลแพ่ง มี คำพิพากษา ตามยอม ในคดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ 982/2513 หมายเลขแดง ที่ 1147/2514 ตามสำเนา คำพิพากษา ตามยอม และ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ เอกสาร หมาย ร.7ซึ่ง ผู้คัดค้าน ที่ 7 ตกลง ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2703 ตำบล บางมด หรือ บางค้อ อำเภอบางขุนเทียน จังหวัด ธนบุรี เฉพาะ แปลง ที่ 1ที่ 10 และ ที่ 11 รวม สาม แปลง โดย ปลอด จำนอง ให้ แก่ ผู้ร้อง โดยผู้คัดค้าน ที่ 7 ยินยอม ให้ ผู้ร้อง เป็น ผู้รับโอน กรรมสิทธิ์ ลงชื่อมี กรรมสิทธิ์ร่วม ใน ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว ภายใน กำหนด 3 วัน นับแต่วัน ทำ ยอม หาก ผิดนัด ให้ ถือเอา คำพิพากษา ตามยอม เป็น การแสดง เจตนาผู้ร้อง ตกลง จะ ชำระ เงิน ค่าที่ดิน ที่ ค้างชำระ ทั้งหมด จำนวน 81,644 บาทให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 7 ใน วัน ทำ สัญญาซื้อขาย ลงชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ร่วมใน ที่ดิน ดังกล่าว ณ สำนักงาน ที่ดิน จังหวัด ธนบุรี และ ผู้คัดค้าน ที่ 7จะ ได้ ดำเนินการ แบ่งแยก โฉนด ที่ดิน ใน ส่วน ของ ผู้ร้อง ดังกล่าว ใน วันที่จดทะเบียน ลงชื่อ ผู้ร้อง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ร่วม การ ที่ ผู้ร้องและ ผู้คัดค้าน ที่ 7 ตกลง ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กัน เช่นนั้นแสดง ว่า ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ที่ 7 มี เจตนา ที่ จะ โอน กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาท โดย การ ทำนิติกรรม และ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ให้ ถูกต้อง ตาม กฎหมาย ต่อไป จึง ฟัง ไม่ได้ ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 7 มี เจตนาสละ การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ให้ แก่ นาย ปิยะ แล้ว การ ที่นาย ปิยะ และ ผู้ร้อง ได้ ยึดถือ ครอบครอง และ ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ทั้งสาม แปลง ต่อมา ก่อน จดทะเบียน ลงชื่อ นาย ปิยะ ถือ กรรมสิทธิ์ร่วม ใน ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ นั้น จึง เป็นการ ยึดถือ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลง โดย อาศัย สิทธิ ตามสัญญา ประนีประนอม ยอมความ อันเป็น การ ยึดถือ ครอบครอง ที่ดินพิพาททั้ง สาม แปลง แทน ผู้คัดค้าน ที่ 7 ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ นั้นมิใช่ เป็น การ ยึดถือ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลง ใน ฐานะ เป็นเจ้าของ ซึ่ง หาก นาย ปิยะ หรือ ผู้ร้อง จะ ยึดถือ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลง เพื่อ ตน โดย เจตนา เป็น เจ้าของ นาย ปิยะ หรือ ผู้ร้อง ก็ ต้อง บอกกล่าว แสดง เจตนา เปลี่ยน ลักษณะ แห่ง การ ยึดถือ ให้ ผู้คัดค้านที่ 7 ทราบ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่ ตาม ทางนำสืบ ของ ผู้ร้อง นั้น นอกจาก ไม่ปรากฏ เลย ว่า ต่อมา นาย ปิยะ หรือ ผู้ร้อง ได้ เปลี่ยนแปลง ลักษณะ แห่ง การ ยึดถือ โดย บอกกล่าว ไป ยังผู้คัดค้าน ที่ 7 ว่า นาย ปิยะ หรือ ผู้ร้อง ไม่เจตนา ที่ จะ ยึดถือ ที่ดิน พิพาท ทั้ง สาม แปลง แทน ผู้คัดค้าน ที่ 7 ต่อไป แล้ว กลับ ได้ความ จากคำเบิกความ ของ ผู้ร้อง เอง อีก ด้วย ว่า ผู้ร้อง เข้า ไป อยู่ ใน ที่ดินพิพาท เพราะ นาย ปิยะ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ไว้ ผู้ร้อง และ นาย ปิยะ เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท โดย อาศัย สิทธิ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ ทำ กับผู้คัดค้าน ที่ 7 ก่อน ฟ้องคดี นี้ ผู้ร้อง ได้ ไป ติดต่อ กับ ผู้คัดค้านที่ 7 ขอให้ ผู้คัดค้าน ที่ 7 โอน ที่ดินพิพาท ให้ ผู้ร้อง และ รับ ชำระราคา ส่วน ที่ เหลือ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย เดิม จึง ฟัง ไม่ได้ ว่านาย ปิยะ หรือ ผู้ร้อง ได้ เปลี่ยนแปลง ลักษณะ แห่ง การ ยึดถือ แล้ว โดย บอกกล่าว ไป ยัง ผู้คัดค้าน ที่ 7 ว่า ไม่มี เจตนา ยึดถือ ที่ดินพิพาททั้ง สาม แปลง แทน ผู้คัดค้าน ที่ 7 ต่อไป ดังนั้น แม้ ผู้ร้อง ได้ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลง ติดต่อ กัน มา เป็น เวลาเกิน 10 ปี ผู้ร้อง ก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท โดย การ ครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษาว่า ผู้ร้อง ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท และ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน นั้นไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ที่ 7 ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก คำร้องขอ

Share