คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

บัตรรับประกันในการซื้อขายรถมีข้อยกเว้นความรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุเมื่อสาเหตุไฟลุกไหม้เกิดจากความชำรุดบกพร่องของระบบไฟเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ของรถยนต์คันพิพาทได้รับความเสียหายมิได้เกิดจากการขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนกับรถคันอื่นหรือวัตถุสิ่งของอื่นในถนนแม้เป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายของโจทก์และจำเลยแต่มิใช่เกิดจากอุบัติเหตุจำเลยจึงต้องรับผิด แม้ในบัตรรับประกันจะระบุว่าโจทก์จะต้องนำรถมาซ่อมที่ห้างจำเลยเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์นำรถยนต์คันพิพาทไปจอดไว้ที่ห้างจำเลยเพื่อซ่อมจำเลยปฏิเสธไม่ยอมรับผิดอ้างว่าเป็นอุบัติเหตุโจทก์จึงต้องนำรถยนต์คันพิพาทไปจ้างบริษัทอื่นซ่อมดังนี้จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าซ่อมแก่โจทก์ ค่ายกเครื่องค่าเปลี่ยนฝากระโปรงหน้าค่าเคาะพ่นสีค่ายกรถและชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่มีการซ่อมและเปลี่ยนใหม่เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตั้งเครื่องยนต์และเป็นส่วนประกอบเพื่อให้รถอยู่ในสภาพที่เหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆดังกล่าวไม่ถือว่าอยู่นอกเหนือเงื่อนไขของการรับประกัน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการของ จำเลย ที่ 1 โจทก์ ทำ สัญญา ซื้อ รถยนต์ จาก จำเลย ทั้ง สอง ใน ราคา370,000 บาท จำเลย ทั้ง สอง มอบ รถยนต์ ให้ โจทก์ และ สัญญา รับประกันซ่อม ให้ โดย ไม่ คิด เงิน ถ้า รถยนต์ เสียหาย โดย มิใช่ เกิดจาก อุบัติเหตุภายใน 15 วัน นับแต่ วัน ทำ สัญญาซื้อขาย โจทก์ รับ รถยนต์ แล้ว ยัง ไม่ได้ใช้ ปรากฏว่า มี น้ำมัน รั่วไหล จาก เครื่อง ไฮดรอ ลิก จำเลย ทั้ง สองรับ รถยนต์ ไป ซ่อม และ นัด ให้ ไป รับ วันที่ 14 กรกฎาคม 2533 โจทก์ ให้บุตรชาย ไป รับ รถยนต์ แทน ใน วัน ดังกล่าว ขณะที่ บุตร โจทก์ ขับ รถยนต์ตาม ปกติ เกิด ไฟลุก ไหม้ ที่ บริเวณ เครื่องยนต์ หน้า รถ ใต้ ฝาก ระโปรงโดย ไม่ได้ เกิดจาก อุบัติเหตุ ทำให้ รถยนต์ เสียหาย ใช้ การ ไม่ได้ และเกิดขึ้น ภายใน 15 วัน นับแต่ วัน ทำ สัญญาซื้อขาย จำเลย ทั้ง สอง จึงต้อง รับผิด ตาม สัญญาประกัน ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน 417,005.50 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 404,271 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ตรวจ สภาพ รถยนต์ เป็น ที่ เรียบร้อยก่อน การ ส่งมอบ ความ ชำรุด บกพร่อง เกิดขึ้น ภายหลัง การ ส่งมอบ จำเลยทั้ง สอง จึง ไม่ต้อง รับผิด จำเลย ทั้ง สอง รับประกัน ค่า อะไหล่ ค่าแรงตาม ฟ้อง จริง แต่ เป็น การ รับประกัน การ ซ่อม เพียง เล็กน้อย ภายใต้เงื่อนไข ที่ กำหนด ใน บัตร รับประกัน โจทก์ เคย นำ รถยนต์ คัน พิพาท มา ให้จำเลย ทั้ง สอง ซ่อม จำเลย ทั้ง สอง ได้ ซ่อม ให้ ใช้ งาน ตาม ปกติ แล้วเหตุ ที่ เกิด ไฟไหม้ เป็น อุบัติเหตุ เกิดจาก ความประมาท เลินเล่อ ของผู้ใช้ รถยนต์ อยู่ ใน เงื่อนไข ข้อยกเว้น อันเป็น อุบัติเหตุ ที่ จำเลยทั้ง สอง ไม่ต้อง รับผิด การ ซ่อม จะ ต้อง ซ่อม โดย ช่าง ของ จำเลย ทั้ง สองค่าเสียหาย เกี่ยวกับ ค่าแรง พ่นสี รถยนต์ ไม่อยู่ ใน เงื่อนไข การ รับประกันจำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่ต้อง รับผิด หาก ต้อง รับผิด ก็ ไม่เกิน 10,000 บาทขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระเงิน จำนวน 154,963 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 22 ตุลาคม 2533 เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์ ขอให้ เพิ่ม ค่าเสียหาย บางราย การ เป็น เงิน243,848 บาท
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระค่าเสียหาย ให้ โจทก์ อีก เป็น เงิน 150,000 บาท พร้อม กับ ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาของ ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ข้อ แรก ว่า การ ที่ รถยนต์คัน พิพาท เกิด ไฟไหม้ เป็น อุบัติเหตุ เพราะ เป็น เรื่อง นอกเหนือ ความคาดหมาย ของ โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ทางพิจารณา ได้ความ ว่า โจทก์ ซื้อรถยนต์ พิพาท จาก จำเลย ทั้ง สอง จำเลย ทั้ง สอง ส่งมอบ รถ ให้ โจทก์ และได้ ออก บัตร รับประกัน บริการ ค่า อะไหล่ ค่าแรง ฟรี 15 วัน เฉพาะรายการ ดังนี้ 1. เครื่องยนต์ 2. ช่วง ล่าง 3. ระบบ ไฟ ยกเว้น หลอด ไฟต่าง ๆ 4. แอร์คอน ดิชั่น และ มี ข้อยกเว้น สงวนสิทธิ การ รับประกันไว้ 6 ข้อ เฉพาะ ข้อ 3 ระบุ ว่าความ เสียหาย ซึ่ง เกิดจาก อุบัติเหตุดัง ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 แผ่น แรก โจทก์ นำสืบ ว่า ได้รับ มอบ รถยนต์คัน พิพาท จาก จำเลย ทั้ง สอง ใน วันที่ 10 กรกฎาคม 2533 แล้ว นำ ไป จอดไว้ ที่ บ้าน รุ่งขึ้น พบ ว่า มี น้ำมัน รั่วไหล จาก เครื่อง ไฮดรอ ลิกจึง นำ รถ ไป ให้ จำเลย ทั้ง สอง ซ่อม ที่ ห้าง จำเลย ที่ 1 วันที่ 14 บุตรชายโจทก์ มา รับ รถยนต์ คัน พิพาท จาก จำเลย ทั้ง สอง ตาม ที่ จำเลย ทั้ง สอง นัดและ ขับ ไป ทำ ธุระ ใน กรุงเทพมหานคร 2-3 แห่ง จน กระทั่ง เวลา ประมาณ22.30 นาฬิกา ขณะที่ รถ แล่น อยู่ บน ถนน พญาไท ได้ เกิด ไฟลุก ไหม้ ที่ เครื่องยนต์ รถ ใต้ ฝาก ระโปรงหน้า นาน ประมาณ 15 นาที จึง ดับ ไฟได้ เจ้าพนักงาน ตำรวจ สถานีตำรวจนครบาล พญาไท ได้ นำ รถ ไป จอด ไว้ ที่ สถานีตำรวจ และ ได้ ลง บันทึก ประจำวัน คำ แจ้งความ ของ บุตรชาย โจทก์ซึ่ง เป็น คนขับ รถ คัน พิพาท ขณะ เกิดเหตุ ไว้ ว่า กรณี ที่ เกิด ไฟลุก ไหม้ขึ้น ดังกล่าว ไม่ทราบ ว่า เป็น เพราะ เหตุใด เพราะ ผู้แจ้ง เพิ่ง รับรถยนต์ พิพาท จาก อู่ รถยนต์ มหานคร เมื่อ เวลา ประมาณ 13 นาฬิกา ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 ดังนั้น จึง ฟังได้ ใน เบื้องต้น ว่า เหตุ ที่ เกิดไฟลุก ไหม้ รถยนต์ คัน พิพาท มิได้ เกิดจาก การ ที่ บุตรชาย โจทก์ ขับ รถโดยประมาท เลินเล่อ ชน กับ รถ คัน อื่น หรือ วัตถุ สิ่งของ อื่น ใน ถนน จึงฟัง ไม่ได้ ว่า มี อุบัติเหตุ เกิดขึ้น ใน ขณะ กำลัง ใช้ รถยนต์ คัน พิพาทเหตุ ที่ เกิด ไฟลุก ไหม้ ขึ้น ที่ เครื่องยนต์ ของ รถยนต์ คัน พิพาท ได้ความจาก นาย ทศม ฐิตินันท์พร หัวหน้า ช่าง แผนก รถยนต์ ของ จำเลย ทั้ง สอง ว่า เกิดจาก ไฟฟ้า ลัดวงจร เนื่องจาก บริษัท ผู้ผลิต รถยนต์ รุ่น ดังกล่าวใช้ สายไฟฟ้า เส้น เล็ก ต่าง จาก รถยนต์ รุ่น อื่น เมื่อ นำ มา ใช้ ใน ประเทศ ไทยซึ่ง มี สภาพ อากาศ ร้อน ต้อง ติด เครื่องปรับอากาศ วิทยุ เทป ทำให้สายไฟฟ้า รับ กระแส ไฟ มาก เกิน ไป เปลือก หุ้ม สายไฟฟ้า จึง ละลาย ทำให้เกิด ไฟฟ้า ลัดวงจร ได้ แสดง ว่า สาเหตุ ไฟลุก ไหม้ เกิดจาก สายไฟฟ้า ซึ่งเป็น อุปกรณ์ ของ ระบบ ไฟ ชำรุด บกพร่อง ไม่อยู่ ใน สภาพ ที่ ใช้ งาน ได้ตาม ปกติ ไฟ จึง ได้ ลุกไหม้ เครื่องยนต์ ซึ่ง รวม อยู่ ใน ที่ เดียว กันด้วย ความ ชำรุด บกพร่อง ของ ระบบ ไฟ ดังกล่าว เป็นเหตุ ทำให้ เครื่องยนต์ของ รถยนต์ คัน พิพาท ได้รับ ความเสียหาย จำเลย ทั้ง สอง จึง ต้อง รับผิดตาม สัญญา ที่ รับประกัน ไว้ ใน รายการ ที่ 1 และ ที่ 3 ตาม เอกสาร หมายจ. 3 แผ่น แรก แม้ จะ เป็น เรื่อง นอกเหนือ ความ คาดหมาย ของ โจทก์ และ จำเลยทั้ง สอง สาเหตุ ไฟลุก ไหม้ ดังกล่าว จึง ไม่ใช่ เกิดจาก อุบัติเหตุดัง ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา เมื่อ ได้ความ ว่า เครื่องยนต์ ของ รถยนต์คัน พิพาท เกิด ไฟลุก ไหม้ ภายใน กำหนด ระยะเวลา 15 วัน นับแต่ วันที่จำเลย ทั้ง สอง ส่งมอบ รถยนต์ คัน พิพาท ตาม สัญญาประกัน จำเลย ทั้ง สองจึง ต้อง รับผิด
ศาล มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ข้อ 2 ว่า จำเลย ทั้ง สองต้อง รับผิด ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เป็น เงิน 304,963 บาท พร้อมดอกเบี้ย ตาม คำพิพากษา ของ ศาลล่าง ทั้ง สอง หรือไม่ เห็นว่า การ ที่จำเลย ทั้ง สอง ออก บัตร รับประกัน ซ่อม โดย ไม่ คิด ค่า อะไหล่ และ ค่าแรงใน 15 วัน นับแต่ วัน ส่งมอบ รถ ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 แผ่น แรก นั้นถือได้ว่า จำเลย ทั้ง สอง ตกลง ยินยอม รับผิด เพื่อ ความ ชำรุด บกพร่องอันเป็น เหตุ ให้ เสื่อม ความเหมาะสม แก่ ประโยชน์ ใน การ ใช้ รถ ตาม รายการและ กำหนด เวลา ที่ ระบุ ไว้ แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา472 วรรคแรก แม้ ใน บัตร รับประกัน ดังกล่าว จะ ระบุ ไว้ ว่า โจทก์ จะต้อง นำ รถ มา ซ่อม แก้ไข ที่ ห้าง จำเลย ที่ 1 เท่านั้น แต่เมื่อ ได้ความว่า โจทก์ นำ รถยนต์ คัน พิพาท ที่ ถูก ไฟไหม้ ไป จอด ไว้ ที่ ห้าง จำเลย ที่ 1เพื่อ ซ่อม จำเลย ทั้ง สอง ปฏิเสธ ไม่ยอม รับผิด อ้างว่า เป็น อุบัติเหตุโจทก์ จึง ต้อง นำ รถยนต์ คัน พิพาท ไป จ้าง บริษัท อื่น ซ่อม จำเลย ทั้ง สองจึง ต้อง รับผิด ใช้ ค่าซ่อม แก่ โจทก์ สภาพ รถ คัน พิพาท ที่ ปรากฏ ตามภาพถ่าย หมาย จ. 7 (10 ภาพ ) แสดง ว่า รถยนต์ คัน พิพาท ได้ ถูก ไฟไหม้สิ้นเชิง ที่ เครื่องยนต์ หน้า รถ แล้ว ลุกลาม ไป ถึง ที่นั่ง คนขับ ด้านหน้ารวมทั้ง ประตู ด้วย จึง เห็น ได้ว่า รถยนต์ คัน พิพาท ได้ ถูก ไฟไหม้ ไปครึ่ง คัน ดังนั้น ทุก ชิ้นส่วน อุปกรณ์ ที่ ประกอบ เป็น เครื่องยนต์และ ส่วน หน้า รถ ตลอด ถึง ที่นั่ง คนขับ รวมทั้ง ช่วง ล่าง ของ ตัว รถ ด้านหน้าด้วย จึง ต้อง ซ่อม และ เปลี่ยน ใหม่ ทั้งหมด ทุก รายการ เพื่อ ให้ รถ อยู่ใน สภาพ ที่ เหมาะสม แก่ ประโยชน์ อัน มุ่ง จะ ใช้ เป็น ปกติ เห็นว่าค่า ยกเครื่อง ค่า เปลี่ยน ฝาก ระโปรงหน้า ค่า เคาะ พ่นสี ค่า ยก รถและ ทุก ชิ้นส่วน อุปกรณ์ ที่ มี การ ซ่อม และ เปลี่ยน ใหม่ ซึ่ง จำเลย ทั้ง สองยกขึ้น กล่าว ใน ฎีกา ข้อ 2(1) และ (2) ทุก รายการ ล้วน เป็น ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ที่ จำเป็น ใน การ ติด ตั้ง เครื่องยนต์ และ เป็น ส่วนประกอบ ของหน้า รถ ตลอดจน ใน ที่นั่ง คนขับ ทั้งสิ้น ดังนั้น ที่ จำเลย ทั้ง สองฎีกา ว่า ชิ้นส่วน อุปกรณ์ รายการ ต่าง ๆ ดังกล่าว อยู่ นอก เงื่อนไขของ การ รับประกัน จึง ไม่อาจ รับฟัง ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ กำหนด ค่าซ่อมเพิ่ม ให้ โจทก์ อีก 150,000 บาท เมื่อ รวม ค่าซ่อม ที่ ศาลชั้นต้น กำหนดแล้ว น้อยกว่า ที่ โจทก์ ฟ้อง เป็น ผล ดี แก่ จำเลย ทั้ง สอง อยู่ แล้ว ฎีกาจำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share