คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา230จะให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดังศาลเดิมแต่ก็จำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้นส่วนมาตรา221ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็เฉพาะแก่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่จะรับประเด็นอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่าการที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ป่าไม้ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงโดยละเว้นการตรวจสอบไม้ดังกล่าวตามระเบียบของทางราชการกับกรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ในวันเดียวกันเพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 4, 5, 11, 69, 73, 74 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา90, 91, 157, 160, 162 และ ริบ ไม้ ของกลาง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง , 69 วรรคสอง (ที่ ถูก 69วรรคสอง (2)), 73 วรรคสอง (ที่ ถูก 73 วรรคสอง (2)) เรียง กระทงลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐาน ทำ ไม้หวงห้าม โดย ไม่ได้รับ อนุญาต จำคุก 3 ปี ฐาน มี ไม้หวงห้าม มิได้ แปรรูป ไว้ ใน ครอบครองโดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จำคุก 3 ปี รวม จำคุก 6 ปี ส่วน จำเลย ที่ 2มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 160, 162(1)(4) ให้ ลงโทษฐาน เป็น เจ้าพนักงาน ปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบ ซึ่ง เป็น บทหนัก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำเลย ที่ 2 กระทำ ความผิด ตาม บท มาตราดังกล่าว 3 กรรม เรียง กระทง ลงโทษ โดย ให้ จำคุก กระทง ละ 2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ริบ ไม้ ของกลาง
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ลดโทษ จำเลย ที่ 1หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก จำเลย ที่ 1มี กำหนด 4 ปี ความผิด ของ จำเลย ที่ 2 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,162(1)(4) ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ข) และ ความผิด ของ จำเลย ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 160 ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ค) เป็น ความผิดกรรมเดียว กัน ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 อันเป็น บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด เพียง บท เดียว ตาม ประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด 2 ปี ให้ยก ฟ้องโจทก์สำหรับ จำเลย ที่ 2 ใน ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,162(1)(4) ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ก) นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา ใน ศาลชั้นต้นที่ รับ ประเด็น อนุญาต ให้ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิพากษาว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา11, 69 วรรคสอง (2) 73 วรรคสอง (2) รวม 2 กระทง จำคุก กระทง ละ 3 ปีรวม จำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ลงโทษ จำคุกกระทง ละ 2 ปี รวม จำคุก 4 ปี เป็น เพียง แก้ไข เล็กน้อย ซึ่ง โทษ จำคุกแต่ละ กระทง ไม่เกิน 5 ปี คู่ความ จึง ต้องห้าม ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ส่วนจำเลย ที่ 2 ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 160, 162(1)(4) (ตาม ฟ้อง ข้อ 2 (ก)(ข) และ (ค)) ให้ลงโทษ ตาม มาตรา 157 ซึ่ง เป็น บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด รวม 3 กระทงจำคุก กระทง ละ 2 ปี รวม จำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้เป็น ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,162(1)(4) ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ก) และ มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 160 ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ค) เป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบทให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 157 อันเป็น บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด จำคุก 2 ปียกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 ใน ข้อหา ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา157, 162(1)(4) ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ก) ดังนั้น เฉพาะ ความผิด ตาม ฟ้องข้อ 2(ข) และ (ค) เป็น เพียง แก้ไข เล็กน้อย คู่ความ จึง ต้องห้าม ฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218 วรรคแรก ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา โดย มี ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณาใน ศาลชั้นต้น ที่ รับ ประเด็น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง นั้นเห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 230 ที่ ให้อำนาจศาล ที่ พิจารณา คดี ส่ง ประเด็น ให้ ศาล อื่น สืบพยาน หลักฐาน แทน นั้นแม้ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว จะ มี ข้อความ ระบุ ให้ ศาล ที่ รับ ประเด็น มีอำนาจ และ หน้าที่ ดัง ศาล เดิม และ ศาล ที่ รับ ประเด็น มีอำนาจ ส่ง ประเด็นไป ยัง ศาล อื่น อีก ต่อ หนึ่ง ได้ ก็ ตาม ความหมาย ก็ คง จำกัด อยู่ ใน ขอบ อำนาจของ การ สืบพยาน หลักฐาน แทน ตาม ที่ ได้รับ มอบหมาย ให้ ลุล่วง ไป เท่านั้นและ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ที่ ให้ อำนาจแก่ ผู้พิพากษา คนใด ซึ่ง พิจารณา หรือ ลงชื่อ ใน คำพิพากษา หรือ ทำความเห็น แย้ง ใน ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ได้ นั้น ก็ โดย มุ่งหมาย ให้ อำนาจ แก่ ผู้พิพากษา ใน ศาลที่ พิจารณา คดี นั้นเอง เพราะ เป็น ผู้ ทราบ ดี ว่า ควร จะ อนุญาต หรือไม่อนุญาต ส่วน ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา ใน ศาล ที่ รับ ประเด็น นั้นเป็น เพียง สืบ แทน เฉพาะ พยานหลักฐาน ที่ ศาล ที่ พิจารณา คดี ส่ง มา หา ได้ทราบ ถึง ข้อเท็จจริง ทั้ง สำนวน ไม่ตลอด ทั้ง การ วินิจฉัย คดี ก็ มิได้เกี่ยวข้อง ด้วย การ อนุญาต ให้ ฎีกา จึง ไม่ชอบ ด้วย บทบัญญัติ ดังกล่าวข้างต้น ผล จึง เป็น ว่า จำเลย ทั้ง สอง ยัง คง ต้องห้าม ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา โต้เถียง ดุลพินิจ การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ซึ่ง วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 รู้ อยู่ แล้วว่า ไม้ ของกลาง เป็น ไม้หวงห้าม จึง คบคิด กัน กับ จำเลย ที่ 2 กระทำ ความผิดก็ ดี จำเลย ที่ 2 ฎีกา ขอให้ รอการลงโทษ ด้วย ก็ ดี เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
โจทก์ ฎีกา ใน ข้อ ต่อไป ว่า การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม ฟ้องข้อ 2(ข) และ (ค) เป็น ความผิด หลายกรรม ต่างกัน โดย คดี ฟัง เป็น ยุติว่า จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ เจ้าพนักงาน ได้ กระทำผิด ฐาน ปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ และ กรอก ข้อความ ลง ใน เอกสาร รับรอง เป็นหลักฐาน ซึ่ง ข้อเท็จจริง อัน เอกสาร มุ่ง พิสูจน์ ความจริง อันเป็นเท็จกล่าว คือ จำเลย ที่ 2 ได้ กรอก ข้อความ ลง ใน ใบเบิก ทาง นำ ไม้ เคลื่อนที่ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 อันเป็น ความเท็จ ว่า ไม้ ที่ นำ เคลื่อนที่นั้น เป็น ไม้เตียว นอก ประเภท หวงห้าม ความจริง ไม้ ที่ นำ เคลื่อนที่ นั้น เป็น ไม้จิกนม ซึ่ง เป็น ไม้หวงห้าม ประเภท ก. เพื่อ ให้ นาย สมจิตต์ ลักขณา รักษา ราชการ แทน นายอำเภอ ทุ่งใหญ่ เชื่อ ว่า เป็น ความจริง และ ออก ใบเบิก ทาง นำ ไม้ เคลื่อนที่ ดังกล่าว ให้ อันเป็น ความผิด ตาม ฟ้องข้อ 2(ข) นั้น เป็น ความผิด กรรมหนึ่ง กับ คดี ฟัง เป็น ยุติ ว่า จำเลยที่ 2 ได้ กระทำผิด ฐาน เป็น เจ้าพนักงาน ปฏิบัติ หรือ ละเว้น การ ปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ กล่าว คือ จำเลย ที่ 2 ได้ ใช้ ดวงตรา ประจำตัว”ต.5201” ของ ทางราชการ กรมป่าไม้ ตี ประทับ ที่ หน้า ตัด ไม้ซุง ของกลางบริเวณ หน้าที่ ว่าการ อำเภอ ทุ่งใหญ่ โดย ไม่ได้ ไป ตรวจสอบ ยัง สถานที่ ตัด ฟัน ไม้ ตาม ระเบียบ ของ ทางราชการ โดย ปรากฏว่า ไม้ ของกลาง เป็น ไม้จิกนม อันเป็น ไม้หวงห้าม ประเภท ก. มิใช่ ไม้เตียว ซึ่ง เป็น ไม้ นอก ประเภท หวงห้าม อันเป็น ความผิด ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ค) อีก กรรมหนึ่งแยก ต่างหาก จาก ความผิด ข้างต้น นั้น เห็นว่า ข้อ ปฏิบัติ เกี่ยวกับการ ทำ ไม้ นอก ประเภท หวงห้าม นั้น กรมป่าไม้ ได้ วาง แนว ปฏิบัติ ไว้ ตามเอกสาร หมาย จ. 11 มี ใจความ ว่าการ ตรวจสอบ ไม้ ตาม คำขอ ให้ อยู่ ใน ความรับผิดชอบ ของ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้ตรวจสอบ ชนิด จำนวน ไม้ ซึ่ง จะต้อง แน่ชัด ว่า บริเวณ ที่ ตัด ไม้ มิใช่ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติเขต รักษา พันธุ์ สัตว์ป่า บริเวณ ต้นน้ำ ลำธาร หรือ ตาม ไหล่ เขา แล้วจึง จะ รับรอง ให้ โดย ใช้ ตรา ประจำตัว เลข เรียง แสดง ท่อน และ ต้น เลข เรียงประจำ ท่อน และ ปี พ.ศ. ตี ประทับ ที่ หน้า ตัด ไม้ แต่ละ ท่อน ที่ หน้า ตอ ไม้ทุก ตอ เสร็จ แล้ว ทำ บันทึก ผล การ ตรวจสอบ บัญชี ไม้ และ แผนที่ ป่า โดย สังเขปซึ่ง จะ ใช้ เป็น หลักฐาน เพื่อ ให้ นายอำเภอ ท้องที่ ออก ใบเบิก ทาง นำ ไม้เคลื่อนที่ จาก ตอ ไม้ ต่อไป เห็น ได้ว่า การ ตรวจสอบ การ ทำ ไม้ ซึ่ง รวมทั้ง การ ใช้ ตรา ประจำตัว ประทับ ที่ ตอ ไม้ และ หน้า ตัด ตอ ไม้ เป็น ขั้นตอนต่อเนื่อง กับ การ นำ ไม้ เคลื่อนที่ ออกจาก ป่า ดังนั้น การ ที่ จำเลย ที่ 2ใช้ ตรา ประจำตัว ประทับ ที่ หน้า ตัด ไม้ซุง หน้าที่ ว่าการ อำเภอ ท้องที่โดย ละเว้น การ ตรวจสอบ ไม้ ของกลาง ตาม ระเบียบ ปฏิบัติ ข้างต้น กับการ ที่ จำเลย ที่ 2 กรอก ข้อความ อันเป็นเท็จ ลง ใน ใบเบิก ทาง นำ ไม้เคลื่อนที่ ดังกล่าว มา ข้างต้น ซึ่ง ทำ ขึ้น ใน วันเดียว กัน ก็ เพื่ออำพราง ให้ ถูกต้อง ตาม ขั้นตอน ของ ระเบียบ ที่ ทางราชการ วาง ไว้ และเพื่อ ให้ มี การ นำ ไม้ เคลื่อนที่ ไป ยัง จุดหมาย ปลายทาง ได้ สำเร็จ ลุล่วงไป การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 จึง เป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบทหาใช่ การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 เป็น สอง กรรม ต่างกัน ไม่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นเดียวกัน “

Share