คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3213/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องคำให้การแล้วยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยให้โจทก์ชนะคดีเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้ก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็น ผู้สั่งจ่ายรับผิดใช้เงินตามเช็คที่นำมาแลกเงินสดไปจากโจทก์จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยออกเช็คให้โจทก์จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่ ส. เพื่อ ชำระหนี้ การพนัน โดย ส. สมคบกับน้องโจทก์ฉ้อฉลเล่นการพนันกับจำเลยและ ส. กับน้องโจทก์สมคบกับโจทก์นำเช็คมาฟ้องจำเลยเป็น คำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นและแสดงให้เห็นว่าโจทก์นำเช็คมาฟ้องจำเลยโดยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา916คดีจึงมีประเด็นที่ต้องนำสืบพยานการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้องจึงไม่ชอบ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 150,656 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 150,000 บาท นับแต่วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิเคราะห์ คำฟ้อง และ คำให้การ แล้ว เห็นว่า คดี พอวินิจฉัย ได้ ให้ งดชี้สองสถาน และ งดสืบพยาน แล้ว พิพากษา ให้ จำเลยชำระ เงิน จำนวน 150,656 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี ใน ต้นเงิน จำนวน 150,000 บาท นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายก อุทธรณ์ จำเลย
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า โจทก์ ฟ้องจำเลย ว่า จำเลย ได้ สั่งจ่าย เช็ค ของ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด รวม 3 ฉบับ จำนวนเงิน ฉบับ ละ 50,000 บาท เพื่อ แลก เงินสด ไป จาก โจทก์เมื่อ เช็ค ถึง กำหนด โจทก์ นำ เช็ค ไป เรียกเก็บเงิน แต่ ธนาคาร ตามเช็คปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน ตามเช็ค พร้อม ด้วยดอกเบี้ย จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ออก เช็ค ทั้ง สาม ฉบับ ให้ โจทก์จำเลย สั่งจ่าย เช็ค ให้ แก่ นาย สมเกียรติ เพื่อ ชำระหนี้ การพนัน โดย นาย สมเกียรติ สมคบ กับ นาย สถิต น้อง ของ โจทก์ ฉ้อฉล การ เล่น การพนัน กับ จำเลย และ ทั้ง สอง คน ได้ สมคบ กับ โจทก์ นำ เช็ค ทั้ง สาม ฉบับมา ฟ้อง จำเลย มูลหนี้ ตามเช็ค ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ จึง ไม่มี สิทธินำ เช็ค ทั้ง สาม ฉบับ อัน เกิดจาก การพนัน มา ฟ้อง จำเลย ขอให้ ยกฟ้องใน วันนัดชี้สองสถาน ศาลชั้นต้น พิเคราะห์ คำฟ้อง คำให้การ แล้ว เห็นว่าคดี พอ วินิจฉัย ได้ แล้ว จึง ให้ งดชี้สองสถาน และ งดสืบพยาน แล้ว พิพากษาว่า จำเลย มิได้ บรรยาย ให้ ชัดแจ้ง ใน คำให้การ เกี่ยวกับ การกระทำ ใดของ โจทก์ ว่า โจทก์ ทราบ ถึง มูลหนี้ ตามเช็ค พิพาท ทั้ง สาม ฉบับ ตามข้อต่อสู้ ของ จำเลย รวมทั้ง พฤติการณ์ ของ โจทก์ ใน การ รับโอน เช็คพิพาททั้ง สาม ฉบับ มาจาก นาย สมเกียรติ กับ นาย สถิต ที่ จะ แสดง ให้ เห็นว่า เป็น การ รับโอน โดย คบคิด กัน ฉ้อฉล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 916 คำให้การ จำเลย จึง ไม่ ชัดแจ้ง ถึง เหตุผล แห่ง ข้อต่อสู้จึง เป็น คำให้การ ที่ ไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 ไม่ ก่อ ให้ เกิด ประเด็น ข้อพิพาท ตาม ที่ จำเลย ยกขึ้น ต่อสู้จำเลย ไม่มี สิทธิ นำสืบ ปฏิเสธ ความรับผิด ได้ พิพากษา ให้ จำเลยชำระ เงิน ตามเช็ค พร้อม ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ จำเลย อุทธรณ์ คำสั่งของ ศาลชั้นต้น ที่ สั่ง งดสืบพยาน นั้น ว่า เป็น การ มิชอบ และ อุทธรณ์คำพิพากษา ว่า คำให้การ ของ จำเลย กล่าว ไว้ ชัดแจ้ง ถึง เหตุ และ ผลแห่ง มูลหนี้ ที่ ได้ ออก เช็ค ทั้ง สาม ฉบับ ว่า เป็น มูลหนี้ ที่ เกิดขึ้นจาก การพนัน นาย สมเกียรติ และ นาย สถิต น้องชาย โจทก์ ได้ สมคบ กัน กับ โจทก์ นำ มา ฟ้อง ใน คดี นี้ เป็น คำให้การ ที่ ชัดเจน แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัย ว่า คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ ให้ งดชี้สองสถาน และงดสืบพยาน เป็น คำสั่ง ระหว่าง พิจารณา จำเลย มี โอกาส ที่ จะ โต้แย้งคำสั่ง แต่ ไม่ได้ โต้แย้ง คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ไว้ จึง ไม่มี สิทธิอุทธรณ์ คำสั่ง ดังกล่าว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ไม่รับ วินิจฉัย พิพากษายกอุทธรณ์ จำเลย
จำเลย ฎีกา เป็น ประการ แรก ว่า จำเลย มีสิทธิ ที่ จะ โต้แย้ง คำสั่งของ ศาลชั้นต้น ได้ ภายใน 8 วัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่าการ ให้ เวลา เพียง 2 วันเพียงพอ แล้ว ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกา พิเคราะห์ แล้ว เห็นสมควร วินิจฉัยเสีย ก่อน ว่า คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ ให้ งดชี้สองสถาน และ งดสืบพยานโจทก์ จำเลย เป็น คำสั่ง ระหว่าง พิจารณา ที่ คู่ความ จะ ต้อง โต้แย้งไว้ ก่อน จึง จะ อุทธรณ์ คำสั่ง นั้น ได้ ดัง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1วินิจฉัย หรือไม่ เห็นว่า คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิเคราะห์ จาก คำฟ้องของ โจทก์ และ คำให้การ ของ จำเลย แล้ว ยก ปัญหาข้อกฎหมาย ขึ้น วินิจฉัยให้ โจทก์ ชนะคดี หาใช่ มี การ สืบพยาน แล้ว ฟัง ข้อเท็จจริง จากพยานหลักฐาน ใน สำนวน ไม่ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ดังกล่าว จึง เป็น คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้น ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่ง ทำให้ คดี เสร็จ ไปทั้ง เรื่อง ไม่ใช่ คำสั่ง ระหว่าง พิจารณา ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 24, 227 ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 เห็นว่าคำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ดังกล่าว เป็น คำสั่ง ระหว่าง พิจารณา จำเลย ไม่ได้โต้แย้ง คำสั่ง ไว้ จึง ไม่รับ วินิจฉัย ให้ จึง หา เป็น การ ถูกต้อง ไม่ทั้ง ใน คดี นี้ จำเลย ก็ ได้ อุทธรณ์ คัดค้าน คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น ว่าคำให้การ ของ จำเลย ยก ข้อต่อสู้ คำฟ้อง ของ โจทก์ ไว้ ชัดแจ้ง แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 มิได้ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย ใน ข้อ นี้ จึง ไม่เป็นการ ถูกต้อง อีก เช่นกัน และ เมื่อ จำเลย ฎีกา ใน ประเด็น ดังกล่าว แล้วศาลฎีกา จึง เห็นสมควร วินิจฉัย ไป เสีย ทีเดียว ซึ่ง ใน ปัญหา ดังกล่าวโจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ซึ่ง เป็น ผู้สั่งจ่าย ให้ รับผิด ใช้ เงิน ตามเช็คที่ จำเลย นำ มา แลก เงินสด ไป จาก โจทก์ จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคยออก เช็ค ให้ โจทก์ จำเลย สั่งจ่าย เช็ค ให้ แก่ นาย สมเกียรติ เพื่อ ชำระหนี้ การพนัน โดย นาย สมเกียรติ สมคบ กับ นาย สถิต น้อง ของ โจทก์ ฉ้อฉล การ เล่น การพนัน กับ จำเลย และ นาย สมเกียรติ กับ นาย สถิต สมคบ กับ โจทก์ นำ เช็ค ทั้ง สาม ฉบับ มา ฟ้อง จำเลย ใน คดี นี้ โจทก์ จึงไม่มี สิทธิ ที่ จะ นำ เอา เช็ค ทั้ง สาม ฉบับ อัน เกิดจาก การพนัน มา ฟ้องจำเลย ได้ เพราะ เป็น การ ออก เช็ค ที่ มิได้ เกิดจาก หนี้ ที่ชอบ ด้วย กฎหมายตาม คำให้การ ของ จำเลย ดังกล่าว แสดง ว่า จำเลย ให้การ ต่อสู้ ว่า เช็คทั้ง สาม ฉบับที่ โจทก์ นำ มา ฟ้อง มีมูล หนี้ อัน เกิดจาก การพนัน ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย จำเลย ไม่ได้ ออก เช็ค ให้ โจทก์ แต่ โจทก์ร่วม คบคิด กับนาย สมเกียรติและนายสถิต น้องชาย ของ โจทก์ ผู้ที่ จำเลย ออก เช็ค ชำระหนี้ การพนัน ให้ นำ เช็ค ทั้ง สาม ฉบับ มา ฟ้อง เรียกเงิน จาก จำเลยโดย ไม่สุจริต และ รู้ อยู่ แล้ว ว่า เช็ค ทั้ง สอง ฉบับ ไม่มี มูลหนี้นั่นเอง คำให้การ ของ จำเลย จึง เป็น คำให้การ ที่ แสดง โดยชัดแจ้ง ว่าจำเลย ปฏิเสธ ข้ออ้าง ของ โจทก์ รวมทั้ง เหตุ แห่ง การ นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้วและ เป็น คำให้การ ที่ แสดง ให้ เห็นว่า โจทก์ นำ เช็ค มา ฟ้อง จำเลย โดยคบคิด กัน ฉ้อฉล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 คดี จึง มีประเด็น ที่ จะ ต้อง นำสืบ พยาน กัน ต่อไป ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง งดสืบพยาน มา นั้น จึง ไม่ชอบ คำวินิจฉัย ของ ศาลล่าง ทั้ง สอง ไม่ต้อง ด้วยความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ฟังขึ้น ”
พิพากษายก คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนิน กระบวนพิจารณา ต่อไป แล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี “

Share