คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ม.ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อมา ม. ยกที่ดินตามน.ส.3ซึ่งรวมที่ดินพิพาทอยู่ด้วยให้แก่ ป. จึงถือว่า ม.ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความตั้งใจแล้วข้อกำหนดพินัยกรรมที่ระบุยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมเป็นอันเพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1696วรรคหนึ่ง การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382จะมีได้เฉพาะที่ดินที่มีโฉนดที่ดินเท่านั้นที่ดินพิพาทเพิ่งออกโฉนดที่ดินเมื่อวันที่30กรกฎาคม2530การที่โจทก์ครอบครองก่อนหน้านี้แม้จะเกิน10ปีก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ เมื่อ นับระยะเวลาตั้งแต่วันออกโฉนดที่ดินพิพาทถึงวันฟ้องโจทก์ครอบครองยังไม่ครบ10ปีโจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ ต้น ปี 2515 นาง มี ได้ ยก ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 157 เนื้อที่ ประมาณ3 ไร่ 73 ตารางวา ให้ แก่ โจทก์ และ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา โดย มิได้ ไป จดทะเบียน การ ยกให้ แต่ ได้ ส่งมอบ ที่ดิน ให้ โจทก์ และ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา ครอบครอง ตาม ส่วน โจทก์ ได้ ครอบครอง ที่ดิน ส่วน ของ โจทก์ โดย ความสงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ตลอดมา เป็นเวลา เกือบ 20 ปี ไม่มี ผู้ใด โต้แย้ง ขัดขวาง เมื่อ วันที่ 27 กรกฎาคม2515 นาง มี ทำ พินัยกรรม แสดง เจตนา เกี่ยวกับ ที่ดิน ดังกล่าว เพื่อ ยืนยัน การ ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ และ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา ต่อมา วันที่ 18 มีนาคม 2524 ร้อยตำรวจตรี ปรีชา หลอกลวง นาง มี ให้ จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อ ใน น.ส. 3 ดังกล่าว จาก ชื่อ ของ นาง มี มา เป็น ชื่อ ของ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา นาง มี หลงเชื่อ จึง ได้ จดทะเบียน การ ให้ และ เปลี่ยน ชื่อ นาง มี ใน น.ส. 3 มา เป็น ชื่อ ของ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา เมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน 2524 ต่อมา วันที่ 24 เมษายน 2526 นาง มี ถึงแก่กรรม โจทก์ ไป ติดต่อ ขอรับ โอน ที่ดิน ที่ โจทก์ มีสิทธิ ได้รับจึง ทราบ ว่า ได้ มี การ เปลี่ยน ชื่อ ใน น.ส. 3 มา เป็น ชื่อ ของ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา โจทก์ จึง แจ้ง ให้ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา จดทะเบียน แบ่งแยก ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ตาม ส่วน แต่ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา ขอให้ โจทก์ รอ โฉนด ที่ดิน ก่อน ต่อมา ร้อยตำรวจตรี ปรีชา ถึงแก่กรรม ส่วน โฉนด ที่ดิน ออก เมื่อ วันที่ 30 กรกฎาคม 2530 เป็น โฉนด เลขที่ 2555 โจทก์ ได้ ติดต่อจำเลย ทั้ง แปด ซึ่ง เป็น ทายาท ของ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา เพื่อ ให้ จดทะเบียน แบ่งแยก โฉนด ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ แต่ จำเลย ทั้ง แปด ไม่ยอม โจทก์ ครอบครองที่ดิน นับแต่ ได้รับ การ ยกให้ จาก นาง มี ตลอดมา เป็น เวลา เกือบ 20 ปี โดย ความสงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ไม่มี ผู้ใด โต้แย้งขอให้ พิพากษา ว่า ที่ดิน ส่วน ที่อยู่ ทาง ด้าน ทิศตะวันตก โดย แบ่ง ตาม แนว จากทิศเหนือ จด ทิศใต้ ของ ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 2555 ตำบล โชคชัย อำเภอ โชคชัย จังหวัด นครราชสีมา เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ โดย การ ครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ให้ จำเลย ทั้ง แปด ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรม ผู้มีสิทธิรับมรดก ของ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา ไป จดทะเบียน แบ่งแยก โฉนด ที่ดิน ตาม ส่วน ข้างต้น และ โอน ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 5 ถึง ที่ 8 ให้การ ว่า นาง มี ไม่เคย ยก ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ และ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา จำเลย ที่ 5 ถึง ที่ 8 และ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา ได้ ครอบครอง อยู่อาศัย มา โดย ตลอด ถึง ปัจจุบัน ไม่เคย มี ผู้ใด โต้แย้ง หรือ เกี่ยวข้อง รวมทั้ง โจทก์ พินัยกรรม หาก มี อยู่ จริง ก็ ไม่มีผลบังคับ เพราะ นาง มี ได้ ยก ที่ดินพิพาท ตาม พินัยกรรม ให้ แก่ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา แล้ว ที่ดินพิพาท เพิ่ง ออก โฉนด ที่ดิน เมื่อ วันที่ 30 กรกฎาคม 2530 โจทก์ ฟ้องคดี ปี 2534 โจทก์ จึง ยัง ไม่ได้สิทธิ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นอกจาก นี้เมื่อ โจทก์ ทราบ ว่า สิทธิ ของ โจทก์ ถูก คัดค้าน จาก การ เปลี่ยน ชื่อ จากนาง มี มา เป็น ชื่อ ของ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา โจทก์ ไม่ได้ โต้แย้ง ภายใน 1 ปี จึง ขาดอายุความ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง แปด ใน ฐานะ ทายาทของ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา แต่ โจทก์ ฟ้องคดี เกินกว่า 1 ปี นับแต่ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา ตาย ฟ้องโจทก์ จึง ขาดอายุความ เช่นกัน ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง แปด จดทะเบียน แบ่งแยกโฉนด ที่ดิน ส่วน ที่อยู่ ด้าน ทิศตะวันตก โดย แบ่ง ตาม แนว จาก ทิศเหนือจด ทิศใต้ เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน ของ ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 2555ตำบล โชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัด นครราชสีมา ตาม แผนที่ สังเขป เอกสาร หมาย จ. 2 และ โอน ส่วน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ณ สำนักงานที่ดิน จังหวัด นครราชสีมา สาขา โชคชัย ภายใน 30 วัน หาก ไม่ไป ให้ ถือ เอา ตาม คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา
จำเลย ที่ 5 ถึง ที่ 8 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นรับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ระหว่าง พิจารณา นาง สุภีร์ สุบงกช จำเลย ที่ 5 ถึงแก่กรรม นางสาว นิลวรรณ สุบงกช ทายาท ของ จำเลย ที่ 5 ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลฎีกา อนุญาต
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้ว่า โจทก์ กับ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา สุบงกช เป็น บุตร ของ นาง มี สุบงกช จำเลย ที่ 5 เป็น ภรรยา ของ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา จำเลย ที่ 6 ถึง ที่ 8 เป็น บุตร ของ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา กับ จำเลย ที่ 5เมื่อ วันที่ 27 กรกฎาคม 2515 นาง มี สุบงกช ได้ ทำ พินัยกรรม เป็น เอกสาร ฝ่าย เมือง ยก ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. 3) เลขที่ 157 ตำบล กระโทก (โชคชัย) อำเภอโชคชัย จังหวัด นครราชสีมา เนื้อที่ ประมาณ 3 ไร่ 73 ตารางวา ให้ แก่ โจทก์และ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา โดย ให้ โจทก์ ได้ เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน อันเป็น ที่ดินพิพาท ส่วน ที่ดิน ที่ เหลือ ยกให้ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา รายละเอียด ปรากฏ ตาม พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 3 ต่อมา วันที่ 9 มิถุนายน 2524นาง มี ได้ ยก ที่ดิน ตาม น.ส. 3 เลขที่ 157 ดังกล่าว ทั้ง แปลง ให้ แก่ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา โดย ทำ เป็น หนังสือ และ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตาม สำเนา ภาพถ่าย หนังสือ สัญญา ให้ เอกสาร หมาย จ. 4 ต่อมาวันที่ 24 เมษายน 2526 นาง มี ถึงแก่กรรม ครั้น ปี 2530ร้อยตำรวจตรี ปรีชา ได้ นำ ที่ดิน น.ส. 3 เลขที่ 157 ไป ขอ ออก โฉนด ที่ดิน แต่ การ ออก โฉนด ที่ดิน ยัง ไม่ เสร็จ เรียบร้อย ร้อยตำรวจตรี ปรีชา ก็ ถึงแก่กรรม เสีย ก่อน เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2530 ต่อมา วันที่30 กรกฎาคม 2530 ทางราชการ ได้ ออก โฉนด สำหรับ ที่ดินดังกล่าว เป็น โฉนด ที่ดิน เลขที่ 2555 ตำบล โชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัด นครราชสีมา ตาม เอกสาร หมาย จ. 6
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ มี ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของโจทก์ หรือไม่ ข้อ นี้ โจทก์ อ้างว่า เมื่อ ต้น ปี 2515 นาง มี ได้ ยก ที่ดิน พิพาท ให้ โจทก์ และ ส่งมอบ การ ครอบครอง ให้ โจทก์ แล้ว ขณะ ยกให้ ที่ดินพิพาทมี หลักฐาน เป็น น.ส. 3 โจทก์ จึง ได้ สิทธิ ครอบครอง โดย สมบูรณ์ แล้วเห็นว่า รูปคดี มี โจทก์ แต่เพียง ผู้เดียว ยืนยัน ว่า นาง มี ยก ที่ดิน พิพาท ให้ ส่วน พยานโจทก์ ทุกคน ล้วน เบิกความ ว่า โจทก์ เป็นผู้ทำ กิน ใน ที่ดินพิพาท แต่ ไม่มี พยาน คนใด ยืนยัน ว่า นาง มี ได้ ยก ที่ดินพิพาท ให้ เป็น สิทธิ แก่ โจทก์ แต่เพียง ผู้เดียว นอกจาก นั้น จากข้อเท็จจริง ยัง ได้ความ ว่า นาง มี ได้ ทำ พินัยกรรม แบ่ง ที่ดิน ซึ่ง รวมทั้ง ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ และ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา ด้วย ซึ่ง หาก นาง มี ประสงค์ ที่ จะ ยก ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ จริง แล้ว ก็ ไม่มี เหตุผล อย่างใด ที่นาง มี จะ ต้อง ทำ พินัยกรรม เกี่ยวกับ ที่ดินพิพาท แปลง นี้ อีก ทั้ง ๆ ที่ ได้ ยกให้ โจทก์ ไป แล้ว การ ที่ โจทก์ ได้ เข้า ทำประโยชน์ ในที่ดินพิพาท เชื่อ ได้ว่า นาง มี เพียงแต่ ให้ โจทก์ ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน พิพาท เท่านั้น มิได้ มี เจตนา จะ ยก สิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ให้ แก่โจทก์ แต่อย่างใด และ ถือได้ว่า โจทก์ ครอบครอง ที่ดินพิพาท แทน นาง มี ตลอดมา ดังนั้น ที่ดิน ตาม น.ส. 3 เลขที่ 157 จึง ยัง เป็น ของ นาง มี อยู่ และ การ ที่นา ง มี ได้ ทำ พินัยกรรม ยก ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 แต่ ต่อมา เมื่อ นาง มี ได้ ยก ที่ดิน ตาม น.ส. 3เลขที่ 157 ซึ่ง รวม ที่ดินพิพาท อยู่ ด้วย ให้ แก่ ร้อยตำรวจตรี ปรีชา แล้ว จึง ถือว่า นาง มี ผู้ทำพินัยกรรม ได้ โอน ไป โดย สมบูรณ์ ซึ่ง ทรัพย์สิน อันเป็น วัตถุ แห่ง ข้อกำหนด พินัยกรรม ด้วย ความ ตั้งใจ แล้วข้อกำหนด พินัยกรรม ที่ ระบุ ให้ยก ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ ย่อม เป็น อันเพิกถอน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696 วรรคหนึ่งส่วน ที่ โจทก์ อ้างว่า ได้ ครอบครอง ที่ดินพิพาท มา ตั้งแต่ ปี 2515จน กระทั่ง มี การ ออก โฉนด ที่ดิน สำหรับ ที่ดินพิพาท เมื่อ วันที่30 กรกฎาคม 2530 โดย ความสงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของติดต่อ กัน เป็น เวลา เกิน 10 ปี แล้ว โจทก์ จึง ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น เห็นว่า การ ได้กรรมสิทธิ์ โดย การ ครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 จะ มี ได้ แต่ เฉพาะ ที่ดิน ที่ มี โฉนด ที่ดิน เท่านั้น ที่ดินพิพาท เพิ่ง ออก โฉนด ที่ดิน เมื่อ วันที่ 30 กรกฎาคม 2530 กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาท จึง เริ่ม มี ได้ ตั้งแต่ วันที่ 30 กรกฎาคม 2530 เป็นต้น ไปดังนั้น การ ครอบครอง ก่อนหน้า นี้ แม้ จะ เกิน 10 ปี ก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์การ ครอบครอง ที่ จะ ได้ มา ซึ่ง กรรมสิทธิ์ ต้อง เริ่ม นับ ระยะเวลาการ ครอบครอง ตั้งแต่ วันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ติดต่อ กัน ไป จน ครบ10 ปี ซึ่ง เมื่อ นับ ระยะเวลา ตั้งแต่ วัน ออก โฉนด ที่ดินพิพาท ถึง วันฟ้องคดี นี้ โจทก์ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ติดต่อ กัน ยัง ไม่ครบ 10 ปี โจทก์จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ที่ดินพิพาท จึง มิได้ เป็น ของ โจทก์ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษามา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Share