คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ผู้ร้องและจำเลยกับพวกเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยยังมิได้มีการแบ่งส่วนเช่นนี้โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดไปได้ทั้งแปลงเพราะกรณีระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมถ้าไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์กันอย่างไรแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ก็ต้องขายไปทั้งแปลงโจทก์ทั้งหกขอขายทั้งแปลงผู้ร้องจึงขอให้กันส่วนของผู้ร้องออกจากการขายทอดตลาดหาได้ไม่

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ทั้ง หก ฟ้อง จำเลย ขอ แบ่ง มรดก จำเลยขาดนัด ยื่นคำให้การ ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ทั้ง หก และ จำเลย ทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความ กัน ว่า จำเลย ยอม ตาม ฟ้องโจทก์ ทั้ง หกโดย จำเลย ตกลง นำ ที่ดิน ตาม โฉนด ที่ 280 ตำบล ชนะสงคราม อำเภอ พระนคร จังหวัด พระนคร (กรุงเทพมหานคร ) เนื้อที่ 197 ตารางวา (ซึ่ง เป็นที่ดิน บางส่วน ของ ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว ) แบ่ง ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง หก1 ใน 7 ส่วน คิด เป็น เนื้อที่ 28 ตารางวา และ หาก จำเลย ไม่อาจดำเนินการ แบ่งปัน โดย ดำเนินการ แบ่งแยก ที่ดิน จำนวน เนื้อที่ 28 ตารางวาให้ แก่ โจทก์ ทั้ง หก ได้ ก็ ตกลง ให้ นำ โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ข้างต้น ออกขายทอดตลาด เพื่อ นำ เงิน มา แบ่งปัน กัน ศาลชั้นต้น พิพากษา ตามยอมคดีถึงที่สุด ต่อมา โจทก์ ทั้ง หก ยื่น คำขอ ว่า โจทก์ ทั้ง หก และ จำเลย ตลอดจนทายาท อื่น ไม่อาจ จะ ตกลง วิธีการ แบ่งปัน ทรัพย์มรดก ตาม สัญญา ประนีประนอมยอมความ ได้ ขอให้ ออกหมาย บังคับคดี และ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดียึด ที่ดิน โฉนด ที่ 280 เพื่อ ขายทอดตลาด นำ เงิน มา แบ่งปัน กัน ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง มี ชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์รวม อยู่ ในที่ดิน โฉนด ที่ 280 ดังกล่าว และ ได้ ครอบครอง เฉพาะ ส่วน ของ ผู้ร้องไว้ ชัดแจ้ง คือ แนว ที่ดิน ทาง ทิศตะวันออก ด้าน ติด คลอง วัด รังศรี ผู้ร้อง ไม่มี ความ ประสงค์ ที่ จะ ทำการ ขายทอดตลาด เฉพาะ ส่วน ที่ดินและ อาคาร กรรมสิทธิ์รวม ของ ผู้ร้องร่วม กับ โจทก์ ทั้ง หก ขอให้ ศาลมี คำสั่ง งด การ ขายทอดตลาด ไว้ ชั่วคราว ก่อน และ กัน ส่วน เฉพาะ ส่วน ของผู้ร้อง ออกจาก การ ขายทอดตลาด ครั้งนี้ ด้วย กับ ขอให้ โจทก์ ทั้ง หกร่วมกัน เสีย ค่าธรรมเนียม การ บังคับคดี ด้วย
โจทก์ ทั้ง หก ยื่น คำแถลง คัดค้าน ว่า โจทก์ ทั้ง หก ร่วมกัน นำยึดที่ดิน แปลง พิพาท โดยชอบ ด้วย กฎหมาย และ ไม่เคย ตกลง กับ ผู้ร้อง ว่าจะ แบ่ง ที่ดินพิพาท กัน ที่ดิน ที่ ผู้ร้อง ครอบครอง อยู่ เป็น เพียงครอบครอง ไป ก่อน เพื่อ รอ การ รังวัด แบ่งแยก ระหว่าง เจ้าของรวม ด้วยกันเท่านั้น เมื่อ การ ตกลง ใน การ แบ่ง ที่ดิน ใน ระหว่าง เจ้าของรวม ไม่อาจตกลง กัน ได้ การ ขายทอดตลาด ตาม คำสั่งศาล จึง ชอบ ด้วย กฎหมาย ขอให้ยกคำร้อง และ ดำเนินการ ขายทอดตลาด ต่อไป
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ผู้ร้อง มี ชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ ในที่ดินพิพาท ร่วม กับ โจทก์ และ พวก การ ที่ ผู้ร้อง ไม่ได้ ดำเนินการ รังวัดขอ แบ่งแยก โฉนด ให้ เป็น ส่วนสัด ของ ตน และ ใน โฉนด ก็ ไม่ได้ ระบุ ว่าผู้ร้อง มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ส่วน ใด ผู้ร้อง จึง ไม่มี สิทธิที่ จะ ขอให้ งด การ ขายทอดตลาด ที่ดินพิพาท ไว้ ชั่วคราว ก่อน ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ ใน เบื้องต้น ว่า ที่ดินโฉนด ที่ 280 ตำบล ชนะสงคราม อำเภอในพระนคร กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบัน ตั้ง อยู่ ที่ แขวง วัด ชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร )เนื้อที่ 3 งาน 97 ตารางวา โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว มี ชื่อ ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม คือ ผู้ร้อง นาย หยะ นิลพาณิช นาย อรุณ ดำรงผล และ จำเลย โจทก์ ทั้ง หก เป็น ทายาท ผู้มีสิทธิ รับมรดก ที่ดิน โฉนด ที่ 280เฉพาะ ส่วน ของ นาย อรุณ เนื้อที่ ประมาณ 28 ตารางวา ผู้ร้อง นำสืบ ไม่ได้ ว่า ได้ มี การ แบ่ง ที่ดิน เป็น ส่วนสัด แล้ว เมื่อ ยัง มีกรรมสิทธิ์รวม ยัง มิได้ แบ่ง ส่วน เช่นนี้ โจทก์ ทั้ง หก ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา ย่อม มีสิทธิ นำยึด และ ขายทอดตลาด ไป ได้ ทั้ง แปลง เพราะกรณี ระหว่าง เจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม ถ้า ไม่ ตกลง กัน ว่า จะ แบ่ง ทรัพย์ กันอย่างไร แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ก็ ต้อง ขาย ไปทั้ง แปลง คดี นี้ โจทก์ ทั้ง หก ขอให้ ขาย ไป ทั้ง แปลง ผู้ร้อง จึง จะ ขอให้กัน ส่วน ของ ผู้ร้อง ออกจาก การ ขายทอดตลาด หาได้ไม่
พิพากษายืน

Share