คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527มาตรา7ประกอบเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาแสดงว่าทางราชการประสงค์จะช่วยเหลือข้าราชการที่ต้องเสียค่าเช่าบ้านเมื่อต้องไปทำงานในท้องที่อื่นซึ่งมิใช่ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์รับราชการครั้งแรกที่กรุงเทพมหานครต่อมาโจทก์ย้ายที่ทำการใหม่ไปอยู่ต่างจังหวัดก็ต้องถือว่าจำเลยได้ไปรับราชการตามที่ทำการในต่างท้องที่จากที่รับราชการณที่เดิมแม้จะไม่มีคำสั่งให้จำเลยเดินทางไปประจำในที่ทำการต่างท้องที่ก็ตาม

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ตาม พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมมาธิราช พ.ศ. 2521 จำเลย เป็น ข้าราชการพลเรือน ใน มหาวิทยาลัย โจทก์ เดิม รับ ราชการ ที่ มหาวิทยาลัย มหิดล และ โอน มา รับ ราชการ ที่ มหาวิทยาลัย โจทก์ ตั้งแต่ วันที่ 30 พฤษภาคม 2523เดิม มหาวิทยาลัย โจทก์ ตั้ง อยู่ ที่ อาคาร ทบวง มหาวิทยาลัย เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร ต่อมา เดือน ธันวาคม 2527 ได้ ย้าย ที่ทำการ ไป อยู่ที่ ตำบล บางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2528 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2530 จำเลย ได้ ขอ เบิก ค่าเช่า บ้านเลขที่ 58/30 ถนน แจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี จาก โจทก์ เป็น เงิน รวม 32,330 บาท และ จำเลย ได้รับ เงิน ดังกล่าว ไป แล้วซึ่ง การ ได้รับ เงิน ดังกล่าว ไป นั้น จำเลย ไม่มี สิทธิ จะ ได้รับ เนื่องจากจำเลย เริ่ม รับ ราชการ ครั้งแรก ที่ หน่วยงาน อื่น ใน เขต อำเภอ ชั้น นอกหรือ เขต อำเภอ ชั้น ใน ของ กรุงเทพมหานคร การ ที่ โจทก์ ย้าย ที่ทำการไป อยู่ ที่ จังหวัด นนทบุรี ไม่ ถือ เป็น การ ย้าย ที่ ปฏิบัติงาน ของ ราชการแต่ เป็น การ ย้าย ที่ ตั้ง ของ สำนักงาน ใหญ่ ต่อมา วันที่ 2 พฤศจิกายน2531 โจทก์ แจ้ง ให้ จำเลย นำ เงิน ค่าเช่า บ้าน ที่ รับ ไป คืน ภายใน วันที่30 พฤศจิกายน 2531 แต่ จำเลย ไม่คืน ขอให้ บังคับ จำเลย คืน ค่าเช่า บ้านที่ เบิก ไป โดย ไม่มี สิทธิ จำนวน 32,330 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2531 ซึ่ง เป็น วัน ครบ กำหนดชำระ ถึง วันฟ้อง จำนวน 13,793 บาท รวมเป็น เงิน 46,123 บาท กับ ให้จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 32,330 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ได้รับ เงิน ค่าเช่า บ้าน จำนวน 32,330 บาทไป จาก โจทก์ จริง แต่ จำเลย ไม่ต้อง คืนเงิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ เพราะจำเลย มีสิทธิ ได้รับ เงิน ค่าเช่า บ้าน ตาม พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่า บ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา โดย ได้รับอนุญาต จาก ศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา223 ทวิ
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ใน ปัญหาว่า จำเลย ซึ่ง รับ ราชการ ครั้งแรก ที่ หน่วยงาน อื่น ใน เขต อำเภอ ชั้น นอกหรือ ใน เขต อำเภอ ชั้น ใน ของ กรุงเทพมหานคร และ ได้ โอน ไป รับ ราชการ ที่มหาวิทยาลัย โจทก์ ขณะที่ ตั้ง อยู่ ที่ อาคาร ทบวง มหาวิทยาลัย เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร ไม่มี สิทธิ เบิก ค่าเช่า บ้าน ได้ เมื่อ มหาวิทยาลัยโจทก์ ย้าย ที่ทำการ ไป อยู่ จังหวัด นนทบุรี ตาม พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่า บ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 นั้น ตาม พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่า บ้าน ข้าราชการพ.ศ. 2527 มาตรา 7 บัญญัติ ว่า “ภายใต้ บังคับ มาตรา 16 และ มาตรา 17ข้าราชการ ผู้ใด ได้รับ คำสั่ง ให้ เดินทาง ไป ประจำ สำนักงาน ใน ต่าง ท้องที่มีสิทธิ ได้รับ ค่าเช่า บ้าน ข้าราชการ เท่าที่ ต้อง จ่าย จริง ตาม ที่สมควร แก่ สภาพ บ้าน เว้นแต่ ผู้ นั้น
(1) ทางราชการ ได้ จัด ที่พักอาศัย ให้ อยู่ แล้ว
(2) มี เคหสถาน ของ ตนเอง หรือ ของ สามี หรือ ภริยา ที่ พอ อาศัย อยู่ร่วมกัน ได้ ใน ท้องที่ ที่ ไป ประจำ สำนักงาน ใหม่
(3) ได้รับ คำสั่ง ให้ เดินทาง ไป ประจำ สำนักงาน ใหม่ ใน ท้องที่ที่ เริ่ม รับ ราชการ ครั้งแรก หรือ ท้องที่ กลับ เข้า รับ ราชการ ใหม่
(4) เป็น ข้าราชการ วิสามัญ ”
เมื่อ พิจารณา ข้อ บัญญัติ ของ มาตรา 7 ประกอบ กับ เหตุผล ใน การประกาศ ใช้ พระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้ แล้ว เห็น ได้ว่า ทางราชการ ประสงค์จะ ช่วยเหลือ ข้าราชการ ที่ ต้อง เสีย ค่าเช่า บ้าน เมื่อ ต้อง ไป ทำงานใน ท้องที่ อื่น ซึ่ง มิใช่ ท้องที่ ที่ เริ่ม รับ ราชการ ครั้งแรก เมื่อข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า จำเลย รับ ราชการ ครั้งแรก ที่ มหาวิทยาลัย มหิดล ซึ่ง อยู่ ใน กรุงเทพมหานคร แล้ว โอน มา รับ ราชการ ที่ มหาวิทยาลัย โจทก์ ซึ่ง ขณะ นั้น อยู่ ใน กรุงเทพมหานคร เช่นกัน แต่ ต่อมา มหาวิทยาลัยโจทก์ ได้ ย้าย ที่ทำการ ใหม่ ไป อยู่ ที่ ตำบล บางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี กรณี เช่นนี้ ต้อง ถือว่า จำเลย ได้ ไป รับ ราชการ ตามที่ทำการ ใน ต่าง ท้องที่ จาก ที่ รับ ราชการ ณ ที่ เดิม แม้ จะ ไม่มี คำสั่งให้ จำเลย เดินทาง ไป ประจำ ใน ที่ทำการ ต่าง ท้องที่ แต่ เป็น เพราะ เหตุมหาวิทยาลัย โจทก์ ย้าย ที่ทำการ ใหม่ ก็ ตาม ศาลฎีกา เห็นว่า ไม่มี ผลแตกต่าง กัน เพราะ ที่ทำการ ใหม่ ของ มหาวิทยาลัย โจทก์ ไม่ใช่ ท้องที่ ที่จำเลย เข้า รับ ราชการ ครั้งแรก ทั้ง การ ตีความ ตาม มาตรา 7 ต้อง คำนึงถึง เจตนารมณ์ ของ กฎหมาย ไม่ให้ ขัดแย้ง ต่อ เหตุผล และ ความ เป็น จริงเพราะ มิฉะนั้น ข้าราชการ ที่ รับ ราชการ ครั้งแรก ใน กรุงเทพมหานคร หากโอน ไป รับ ราชการ ที่ มหาวิทยาลัย โจทก์ ก่อน โจทก์ ย้าย ที่ทำการ ใน เดือนธันวาคม 2527 ไม่มี สิทธิ เบิก ค่าเช่า บ้าน แต่ ถ้า โอน ไป ภายหลัง กลับเบิก ค่าเช่า บ้าน ได้ และ ข้าราชการ ซึ่ง ไม่มี สิทธิ เบิก ค่าเช่า บ้านได้ ดังกล่าว นั้น หาก ได้รับ คำสั่ง ให้ เดินทาง ไป ประจำ ที่ทำการ หรือโอน ไป รับ ราชการ ใน หน่วยงาน อื่น นอก เขต จังหวัด นนทบุรี แล้ว ต่อมาย้าย กลับ ไป ประจำ หรือ โอน กลับ ไป รับ ราชการ ใน มหาวิทยาลัย โจทก์ กลับ มีสิทธิ เบิก ค่าเช่า บ้าน ได้ ย่อม ไม่เป็นธรรม แก่ ข้าราชการ ทั้งปวงมิใช่ แต่ จำเลย เพียง ผู้เดียว ศาลชั้นต้น พิพากษา มา ชอบแล้ว อุทธรณ์ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share