คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร โจทก์ทั้งสี่เช่าตึกแถวพิพาทจาก พ. มีกำหนด10ปีเมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ทั้งสี่ให้เงินตอบแทนแก่ พ. เพื่อขอทำสัญญาเช่าต่อไปอีก10ปีโดยไม่ปรากฏว่าก่อนหรือหลังจากที่ พ. ให้โจทก์ทั้งสี่เช่าได้มีการก่อสร้างหรือต่อเติมตึกแถวพิพาทเงินดังกล่าวจึงหาใช่เงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทอันจะทำให้สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับ พ. เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ โจทก์ทั้งสี่กับ พ. ทำหนังสือสัญญาเช่ามีกำหนด10ปีโดยนำไปยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วแต่ยังมิได้จดทะเบียนการเช่าเนื่องจาก พ. ถึงแก่กรรมก่อนการจดทะเบียนสิทธิการเช่าจึงยังไม่บริบูรณ์โจทก์ทั้งสี่จะอ้างระยะเวลาเช่า10ปีมายันแก่จำเลยในฐานะทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ พ. โดยจะบังคับให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ทั้งสี่หาได้ไม่เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สี่ สำนวน ฟ้อง ขอให้ จำเลย ใน ฐานะ ทายาท และ ผู้จัดการมรดก ของ นาย พิชิต ดำเนินการ จดทะเบียน การ เช่า ตึกแถว เลขที่ 145/1,145/2, 145/3 และ 145/4 ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สี่ ตามลำดับ มี กำหนด10 ปี นับแต่ วันที่ 1 มกราคม 2531 เป็นต้น ไป หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ทั้ง สี่ สำนวน ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง โจทก์ ทั้ง สี่
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย จดทะเบียน สิทธิ การ เช่า ตึกแถว เลขที่145/1, 145/2, 145/3, และ 145/4 ตรอก นาวา ถนนบำรุงเมือง แขวง เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร แก่ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และ ที่ 4 ตามลำดับ มี กำหนด คน ละ 10 ปี นับแต่ วันที่ 1 มกราคม2531 หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ให้ ถือ คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ทั้ง สี่ สำนวน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สี่ สำนวน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่านาย พิชิต โพธิสมบัติ เป็น เจ้าของ ตึกแถว เลขที่ 145/1-4 รวม 4 คู หา ตั้ง อยู่ ที่ ตรอก นาวา ถนนบำรุงเมือง แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร นาย พิชิต ได้ ให้ โจทก์ ทั้ง สี่ เช่า มี กำหนด 10 ปี นับแต่ ปี 2520 สัญญาเช่า ครบ กำหนด ใน เดือน ธันวาคม 2530 แต่ นาย พิชิต ได้ ทำ สัญญา ให้ โจทก์ ทั้ง สี่ เช่า ต่อไป อีก 10 ปี นับแต่ วันที่1 ธันวาคม 2531 อัตรา ค่าเช่า คู หา ละ 120 บาท ต่อ เดือน หลังจาก ทำ สัญญาเช่า แล้ว ต่อมา วันที่ 8 มกราคม 2531 โจทก์ ทั้ง สี่ กับ นาย พิชิต ได้ ไป ยื่น เรื่องราว ขอ จดทะเบียน สิทธิ การ เช่า ตึกแถว ทั้ง สี่ คู หา ดังกล่าวต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ สำนักงาน เขต พระนคร ตาม เอกสาร หมาย จ. 1ถึง จ. 4 แต่ เนื่องจาก พนักงาน เจ้าหน้าที่ สอบสวน คู่กรณี ทั้ง สอง ฝ่ายเสร็จ ไม่ ทัน ใน วันที่ ยื่น คำขอ ซึ่ง เป็น วัน ศุกร์ที่ 8 มกราคม 2531จึง ได้ เลื่อน ไป เพื่อ ทำ เรื่อง ประกาศ คำขอ ใน วัน จันทร์ ที่ 11 มกราคม2531 แต่ นาย พิชิต ได้ ถึงแก่กรรม เมื่อ วันที่ 10 มกราคม 2531 โดย พนักงาน เจ้าหน้าที่ ยัง ไม่ได้ ทำการ จดทะเบียน การ เช่า ให้ แก่ โจทก์ทั้ง สี่ และ ต่อมา จำเลย เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย พิชิต ตาม คำสั่ง ศาลแพ่ง คดี หมายเลขแดง ที่ 4510/2531 คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สี่ ใน ประการ แรก ว่า ที่ จำเลย ทั้ง สี่ สำนวน ขอ ถอนอุทธรณ์ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ แต่ ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่ง ยกคำร้องขอ ถอน อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สี่ สำนวน นั้น ชอบ ด้วย กฎหมายหรือไม่ เห็นว่า การ อนุญาต ให้ ถอน อุทธรณ์ หรือไม่ นั้น เป็น ดุลพินิจ ของศาล ที่ จะ สั่ง ได้ ตาม ที่ เห็นสมควร เมื่อ ศาลอุทธรณ์ เห็นสมควร ไม่อนุญาตให้ จำเลย ทั้ง สี่ สำนวน ถอน อุทธรณ์ ใน คดี นี้ ศาลอุทธรณ์ ย่อม มีอำนาจสั่ง ไม่อนุญาต ได้ ส่วน ปัญหา ประการ ที่ สอง ที่ โจทก์ ทั้ง สี่ ฎีกา ว่าก่อน นาย พิชิต ถึงแก่กรรม นาย พิชิต ได้รับ เงิน ค่าตอบแทน จาก โจทก์ ทั้ง สี่ คน ละ 100,000 บาท จึง เป็น สัญญาต่างตอบแทน ยิ่งกว่า การ เช่า นั้นเห็นว่า โจทก์ ทั้ง สี่ ได้ เช่า ตึกแถว พิพาท จาก นาย พิชิต มี กำหนด ครั้ง ละ 10 ปี โดย ไม่ปรากฏ ว่า ก่อน หรือ หลังจาก ที่นาย พิชิต ให้ โจทก์ ทั้ง สี่ เช่า ได้ มี การ สร้าง หรือ ต่อเติม ตึกแถว พิพาท แต่อย่างใด คง ได้ความแต่เพียง ว่า โจทก์ ทั้ง สี่ ให้ เงิน ตอบแทน แก่ นาย พิชิต เพื่อ ขอ ทำ สัญญาเช่า ต่อ จาก สัญญา เดิม ไป อีก 10 ปี โดย โจทก์ แต่ละ คน ชำระ เงิน คน ละ100,000 บาท ดังนั้น เงิน ที่ โจทก์ ทั้ง สี่ อ้างว่า ให้ แก่ นาย พิชิต จึง หาใช่ เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง ตึกแถว พิพาท อัน จะ ทำให้ สัญญา ระหว่าง โจทก์ทั้ง สี่ กับ นาย พิชิต เป็น สัญญาต่างตอบแทน ยิ่งกว่า สัญญาเช่า ธรรมดา ไม่ ปัญหา ประการ ต่อไป มี ว่า จำเลย จะ ต้อง จดทะเบียน การ เช่า ตึกแถว พิพาทมี กำหนด 10 ปี ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สี่ ตาม สัญญาเช่า ที่นาย พิชิต ทำ ไว้ กับ โจทก์ ทั้ง สี่ หรือไม่ เห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 538 ได้ บัญญัติ ไว้ ว่า “ถ้า เช่า มี กำหนด กว่า 3 ปี ขึ้น ไปหาก มิได้ ทำ เป็น หนังสือ และ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ การ เช่านั้น จะ ฟ้องร้อง ให้ บังคับคดี ได้ แต่เพียง 3 ปี ” เมื่อ ข้อเท็จจริง ใน คดีฟังได้ ว่า โจทก์ ทั้ง สี่ กับ นาย พิชิต เพียงแต่ ทำ หนังสือ สัญญาเช่า มี กำหนด 10 ปี โดย นำ ไป ยื่น คำขอ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ แล้วแต่ ยัง มิได้มี การ จดทะเบียน การ เช่า ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ เนื่องจาก นาย พิชิต ถึงแก่กรรม เสีย ก่อน การ จดทะเบียน สิทธิ การ เช่า ราย พิพาท นี้จึง ยัง ไม่บริบูรณ์ จนกว่า จะ ได้ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ดังนี้ข้อตกลง เช่า กัน ใหม่ อีก 10 ปี จึง ไม่สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย โจทก์ ทั้ง สี่จะ อ้าง ระยะเวลา เช่า 10 ปี มา ใช้ ยัน แก่ จำเลย หาได้ไม่ เพราะ ต้องห้ามตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว เมื่อ สิทธิ และ หน้าที่ ตาม สัญญาเช่า ซึ่งเป็น การ เช่า ธรรมดา อัน มิใช่ สัญญาต่างตอบแทน และ สัญญาเช่า ดังกล่าวก็ ยัง มิได้ จดทะเบียน การ เช่า ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์ ทั้ง สี่ จะ บังคับให้ จำเลย ใน ฐานะ ทายาท หรือ ผู้จัดการมรดก ของ นาย พิชิต จดทะเบียน การ เช่า ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สี่ หาได้ไม่ สำหรับ ประเด็น ข้อ อื่น ๆ ตาม ฎีกาของ โจทก์ ทั้ง สี่ ก็ ไม่จำต้อง วินิจฉัย อีก ต่อไป เพราะ ไม่ ก่อ ให้ เกิดผล เปลี่ยนแปลง แก่ คดี อย่างไร ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สี่ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share