คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

รถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกชนได้รับความเสียหายทั้งคันไม่สามารถจะซ่อมแซมได้ โจทก์ย่อมสามารถพิจารณาจ่าย ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยเต็มวงเงินที่ ประกันภัยไว้ได้หาจำต้องโต้แย้งค่าเสียหายไม่และเมื่อจ่ายแล้วโจทก์ย่อม รับช่วงสิทธิมาเรียกร้องจากผู้กระทำละเมิดและผู้ที่จะต้องร่วมรับผิดด้วยได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน 695,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ ให้ โจทก์ เสร็จสิ้น
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน 595,000 บาทให้ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่า เมื่อ วันที่9 กันยายน 2531 จำเลย ที่ 3 ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์โดยสารคัน หมายเลข ทะเบียน 10-1372 นครสวรรค์ ของ จำเลย ที่ 1 ไป ใน ทางการที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ด้วย ความประมาท เลินเล่อ ของ จำเลยที่ 3 เป็นเหตุ ให้ ชน กับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน ม-4133 เชียงใหม่ของ บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด ได้รับ ความเสียหาย โจทก์ เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์ คัน ดังกล่าว ได้ ชดใช้ ค่าเสียหายให้ กับ บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด ผู้เอาประกันภัย แล้ว เป็น เงิน 695,000 บาท จึง ได้รับ ช่วง สิทธิ ที่ จะ เรียกร้อง ให้จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชดใช้ เงิน ให้ โจทก์ มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่าจำเลย ที่ 1 จะ ต้อง ร่วมรับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ เพียงใดจำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า รถ คัน ที่พิพาท ได้รับ ความเสียหาย ก็ จริง แต่สามารถ ที่ จะ ซ่อมแซม ให้ มี สภาพ ดี ดัง เดิม ได้ และ จะ เสีย ค่าซ่อมแซมไม่เกิน 200,000 บาท โจทก์ ชำระ ค่าเสียหาย ให้ ผู้เอาประกันภัยเต็ม ตาม วงเงิน ที่ เอา ประกันภัย โดย ไม่โต้แย้ง จึง เรียกร้อง ให้ ชดใช้ส่วน ที่ โจทก์ จ่าย เกิน ไป จาก จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ จำเลย ที่ 1 ควร รับผิดเพียง ไม่เกิน 200,000 บาท เท่าที่ เสียหาย จริง ตาม ที่ จำเลย ที่ 1ให้การ ต่อสู้ ไว้ เท่านั้น เห็นว่า โจทก์ มี นาย ประวิทย์ อัครชิโนเรศ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด กับ นาย สุวิทย์ เอมหฤทัย ผู้จัดการ บริษัท โจทก์ สาขา เชียงใหม่ มา เบิกความ ได้ความ ต้อง กัน ว่า รถ คัน พิพาท เป็น รถ ที่ ใช้ สำหรับ การรักษา พยาบาล โดยเฉพาะ ประกอบ มาจาก ประเทศ เยอรมันนี เพิ่ง ซื้อ มา เมื่อ ต้น ปี 2531 ใน ราคา 695,000 บาท ขณะ เกิดเหตุ รถ ชนิด เดียว กัน นี้ราคา คัน ละ 790,000 บาท นาย ประวิทย์ ต้องการ ให้ จำเลย ที่ 1 ซื้อ รถ คัน ใหม่ ให้ เพราะ รถ คัน เดิม ได้รับ ความเสียหาย ทั้ง คัน รวมทั้ง อุปกรณ์ทางการ แพทย์ ที่ ติด ตั้ง ไว้ ใน รถ ก็ ได้รับ ความเสียหาย ดังนี้ เห็นว่านอกจาก พยานโจทก์ ทั้ง สอง จะ ได้ เบิกความ ยืนยัน ถึง ความเสียหาย ของรถ คัน เกิดเหตุ ว่า ไม่สามารถ ซ่อมแซม ให้ คืน สภาพ เดิม ได้ แล้ว โจทก์ยัง มี ภาพถ่าย แสดง ความเสียหาย ของ รถยนต์ คัน พิพาท ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 6ปจ. 7 (ศาลจังหวัด เชียงใหม่ ) มา ประกอบ คำเบิกความ ของ พยาน อีก ด้วยเมื่อ พิจารณา ภาพถ่าย ดังกล่าว แล้ว เห็น ได้ว่า บริเวณ ส่วน หัว ของรถยนต์ คัน พิพาท ซึ่ง เป็น ส่วน สำคัญ ที่สุด ของ รถยนต์ ถูก ชน พัง ยับเยินจึง เชื่อ ว่า รถยนต์ คัน เกิดเหตุ ไม่สามารถ ซ่อมแซม ให้ กลับคืน สภาพ เดิมได้ ดัง ที่ พยาน ทั้ง สอง เบิกความ ที่ จำเลย ที่ 1 ต่อสู้ และ ฎีกา ว่ารถยนต์ คัน พิพาท สามารถ ซ่อมแซม ได้ ใน วงเงิน ไม่เกิน 200,000 บาทโดย มี นาย วิสูตร บุญช่วยชูศักดิ์ เจ้าของ อู่ วิสูตรยนต์ กับ นาย ชำนาญ พันธุวงศ์ มา เบิกความ สนับสนุน นั้น ก็ ได้ความ จาก นาย วิสูตร เพียง ว่า ได้ ตรวจ ดู สภาพ รถยนต์ พิพาท จาก ภาพถ่าย หมาย จ. 6และ ล. 1 เห็นว่า สามารถ ซ่อมแซม ได้ ใน ราคา ค่าซ่อม ไม่เกิน 200,000บาท โดย ไม่มี รายละเอียด ประกอบ ว่า เหตุใด จึง สามารถ ซ่อมแซม ได้ใน ราคา ดังกล่าว และ โดย วิธี ใด เป็น การ ประเมิน ค่าซ่อมแซม ที่ เลื่อนลอยไม่น่าเชื่อถือ ส่วน ที่นาย ชำนาญ เบิกความ ว่า สามารถ ซ่อมแซม ได้ ใน วงเงิน ไม่เกิน 170,000 บาท หรือ 180,000 บาท ก็ ปรากฏว่านาย ชำนาญ เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 และ เคย มี อาชีพ รับจ้าง เคาะ ซ่อม ตัวถัง รถยนต์ เมื่อ 10 ปี มา แล้ว คำของ นาย ชำนาญ จึง เลื่อนลอย ไม่มี น้ำหนัก ที่ จะ รับฟัง เช่นเดียวกัน ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่ารถ คัน พิพาท ได้รับ ความเสียหาย ทั้ง คัน ไม่สามารถ จะ ซ่อมแซม ได้ และกรณี เช่นนี้ โจทก์ ย่อม สามารถ พิจารณา จ่าย ค่าเสียหาย ให้ แก่ผู้เอาประกันภัย เต็ม วงเงิน ที่ ประกันภัย ไว้ ได้ หา จำเป็น จะ ต้องโต้แย้ง ค่าเสียหาย ไม่ เพราะ ความเสียหาย เป็น ที่ เห็น เป็น ที่ ประจักษ์อยู่ แล้ว ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ใช้ ดุลพินิจ ให้ จำเลย ที่ 1 ร่วมรับผิดชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ โดย หัก ค่า ซาก รถยนต์ ออก เป็น เงิน 100,000บาท คง ให้ จำเลย ที่ 1 ร่วมรับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย กับ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 เพียง 595,000 บาท นับ ว่า เหมาะสม แก่ พฤติการณ์ และ ความร้ายแรง แห่ง ละเมิด ทั้ง เป็น ผล ดี แก่ จำเลย ที่ 1 อยู่ แล้ว ไม่มี เหตุที่ จะ ศาลฎีกา จะ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share