คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ทำสัญญาซื้อรถยนต์บรรทุกจากจำเลยโดยโจทก์ต้องจัดหาเครนและปั๊มฉีดน้ำมันไฮดรอลิกมามอบให้จำเลยเพื่อนำไปติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกเครนและปั๊มฉีดน้ำมันดังกล่าวไม่เป็นมัดจำหรือเป็นการชำระหนี้บางส่วนแล้วเมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาได้ สัญญาซื้อขายรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งระบุให้โจทก์นำเครนมามอบให้จำเลยเพื่อนำไปติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำการอย่างหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้นำเครนมามอบให้แม้จำเลยมิได้ส่งมอบรถยนต์บรรทุกตามกำหนดถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและหลังจากนั้นโจทก์ก็มิได้นำเครนไปมอบแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ให้แล้วมีหนังสือเลิกสัญญาไปยังจำเลยในเวลาต่อมาถือว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทำ สัญญา จะซื้อ รถยนต์บรรทุก ใช้ แล้วยี่ห้อ โตโยต้าและนิสสัน จำนวน 2 คัน จาก จำเลย แต่ จำเลย ผิดนัด ไม่ส่ง มอบ รถ ให้ โจทก์ ตาม กำหนด โจทก์ จึง บอกเลิก สัญญา แก่ จำเลยขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงินมัดจำ และ ค่าเสียหาย รวม จำนวน 1,159,000 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ โจทก์ ใน ประการ แรก ว่า โจทก์ ฟ้องบังคับ จำเลย ตาม สัญญาซื้อขายรถยนต์บรรทุก ยี่ห้อ โตโยต้า ได้ หรือไม่ โดย โจทก์ อ้างว่า ได้ มอบ เครน และ ปั๊ม ฉีด น้ำมัน ไฮดรอ ลิกไว้ เป็น การ ชำระหนี้ บางส่วน จึง เป็น การ ตกลงพร้อม มัดจำ การ ซื้อ ขาย รถยนต์บรรทุก ยี่ห้อ โตโยต้า แล้ว เห็นว่า ตาม ฟ้อง และ ทางนำสืบ ของ โจทก์ ฟังได้ ว่า การ ซื้อ รถยนต์บรรทุกยี่ห้อ โตโยต้า จาก จำเลย นั้น โจทก์ จะ ต้อง เป็น ผู้ จัดหา เครน และ ปั๊ม ฉีด น้ำมัน ไฮดรอ ลิกมา ให้ จำเลย เพื่อ ที่ ให้ จำเลย นำ ไป ติด ตั้งบน รถยนต์บรรทุก ดังนั้น เครน และ ปั๊ม ฉีด น้ำมัน ไฮดรอ ลิกที่ โจทก์มอบ ให้ จำเลย ยัง เป็น ทรัพย์สิน ของ โจทก์ ซึ่ง จำเลย จะ ต้อง นำ มา ติด ตั้งบน รถยนต์บรรทุก และ มอบ ให้ โจทก์ พร้อม กับ รถยนต์บรรทุก ที่ โจทก์ สั่ง ซื้อจึง ไม่มี ลักษณะ เป็น มัดจำ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 277เพราะ ไม่อาจ ริบ หรือ จัด เอา เป็น การ ใช้ เงิน บางส่วน ใน เมื่อ มี การ ละเลยไม่ชำระ หนี้ หรือ ใน เมื่อ มี การ ขอ ปฏิบัติการ ชำระหนี้ ตาม สัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 พยานหลักฐาน ของ โจทก์ฟัง ไม่ได้ ว่า โจทก์ ได้ มอบ เครน และ ปั๊ม ฉีด น้ำมัน ไฮดรอ ลิกไว้ เป็น มัดจำหรือ เป็น การ ชำระหนี้ บางส่วน แต่อย่างใด เมื่อ ไม่มี หลักฐาน เป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อ จำเลย โจทก์ จึง ไม่อาจ ฟ้องบังคับ จำเลย ตามสัญญาซื้อขาย รถยนต์บรรทุก ยี่ห้อ โตโยต้า ได้ ตาม นัย แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง และ วรรคสามฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
โจทก์ ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง ว่า จำเลย เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ซื้อ ขายรถยนต์บรรทุก ยี่ห้อ นิสสัน นั้น เห็นว่า ตาม เอกสาร หมาย จ. 9ระบุ ชัดเจน ว่า เป็น การ ซื้อ ขาย รถยนต์บรรทุก ยี่ห้อ นิสสัน ติด เครน ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 155,000 บาท โดย โจทก์ จะ เป็น ผู้นำ เครน มา มอบ ให้จำเลย โจทก์ วาง มัดจำ ไว้ 20,000 บาท และ โจทก์ จะ นำ เงิน มา ชำระ ให้ครบถ้วน ตาม ที่ ตกลง ภายใน วันที่ 25 มีนาคม 2532 อัน มี ลักษณะ เป็นสัญญาต่างตอบแทน ที่ โจทก์ ต้อง ชำระ ค่า รถยนต์บรรทุก ส่วน ที่ เหลือ ให้ แก่จำเลย และ จำเลย มี หน้าที่ ต้อง ส่งมอบ รถยนต์บรรทุก ยี่ห้อ นิสสัน ติด เครน ให้ แก่ โจทก์ แต่ ปรากฏ ข้อเท็จจริง จาก คำเบิกความ ของ โจทก์ ว่าโจทก์ นำ เครน ไป ให้ จำเลย 1 เครื่อง สำหรับ ติด ตั้ง กับ รถยนต์บรรทุกยี่ห้อ โตโยต้า เท่านั้น ส่วน เครน ที่ จะ ติด ตั้ง กับ รถยนต์บรรทุก ยี่ห้อ นิสสัน โจทก์ มิได้ นำ ไป มอบ ให้ จำเลย แต่อย่างใด ฉะนั้น เมื่อ โจทก์ ใน ฐานะ เจ้าหนี้ มี หน้าที่ ต้อง กระทำการ อย่างหนึ่ง แต่ โจทก์มิได้ กระทำการ นั้น แม้ ใน วันที่ 25 มีนาคม 2532 จำเลย จะ มิได้ ส่งมอบรถยนต์ ยี่ห้อ นิสสัน ให้ โจทก์ ก็ ตาม การ ที่ จำเลย ไม่มอบ รถยนต์บรรทุก ยี่ห้อ นิสสัน ให้ โจทก์ จึง ยัง ถือไม่ได้ว่า จำเลย เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์ ไม่มี สิทธิ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย และ หลังจาก นั้นโจทก์ ก็ มิได้ นำ เครน ไป มอบ ให้ จำเลย มี แต่ หนังสือ ทวงถาม ให้ จำเลยส่งมอบ รถยนต์ ให้ จน ต่อมา โจทก์ มี หนังสือ ลงวันที่ 13 มีนาคม 2533ขอ เลิกสัญญา ไป ยัง จำเลย ตาม เอกสาร หมาย จ. 15 และ จ. 16 พฤติการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่า โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง ฝ่าย ต่าง สมัครใจ เลิกสัญญา กันโดย ปริยาย โจทก์ จำเลย จึง ต้อง กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน เมื่อ จำเลย ไม่ได้ ผิดสัญญา ซื้อ ขาย รถยนต์บรรทุกยี่ห้อ นิสสัน แล้ว จำเลย ก็ ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ จำเลย ชดใช้ จึง ไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะ ไม่เป็น สาระ แก่ คดี ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ชอบแล้วศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share