คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพื่อสร้างโรงงานผลิตอาหารกระป๋องและรู้ว่าที่ดินพิพาทจะถูกเวนคืนบางส่วนเพื่อขุดคลองชลประทานแต่ก็ไม่แจ้งความจริงให้โจทก์ทราบเป็นการที่โจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่จะซื้อซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นโมฆียะเมื่อโจทก์ได้ไปทวงเงินคืนจากจำเลยถือว่าได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้วสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆะมาแต่แรกคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตามที่ระบุในสัญญาว่าหากจำเลยผิดสัญญาแล้วจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งได้เพราะเป็นการขอให้บังคับตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย คืนเงิน มัดจำ 270,000 บาท และชดใช้ ค่าเสียหาย 800,000 บาท กับ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับ ตั้งแต่ วันที่ 23 กันยายน 2532 ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 13,151.08 บาทรวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 1,083,151.08 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน จำนวน 1,070,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 270,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่วันที่ 23 กันยายน 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์จำนวน 800,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี ใน ต้นเงิน 1,070,000 บาท นับแต่ วันที่ 23 กันยายน 2532ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ แก่ โจทก์ แต่ ทั้งนี้ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้องต้อง ไม่เกิน 13,151.08 บาท นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่าเมื่อ วันที่ 5 กันยายน 2532 โจทก์ จำเลย ได้ ทำ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท โจทก์ เป็น ฝ่าย จะซื้อ จำเลย เป็น ฝ่าย จะขาย ใน วัน ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย นั้น โจทก์ ได้ วางเงิน มัดจำ ให้ แก่ จำเลย แล้ว เป็น เงิน270,000 บาท นัด จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ภายใน 60 วัน ตาม เอกสารหมาย จ. 2 ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย มี ว่า จำเลย จะ ต้องคืนเงิน มัดจำ และ ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ตาม ฟ้อง หรือไม่ โจทก์เบิกความ ว่า เมื่อ นาย หลอ ไป แจ้ง ข่าว ว่า จำเลย จะขาย ที่ดินพิพาท แล้ว ได้ พา โจทก์ ไป พบ นาย มนตรี สามี จำเลย และ ไป ดู ที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาท เป็น ที่นา ขณะ นั้น ต้น ข้าว ขึ้น เต็ม ทั้ง แปลง นาย มนตรี พา โจทก์ เดิน ดู รอบ คันนา โจทก์ ได้ ต่อรอง ราคา นาย มนตรี ตกลง จะขาย ให้ ไร่ ละ 83,000 บาท โจทก์ จึง ตกลง ซื้อ จาก จำเลย โดย วางเงิน มัดจำ และ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ไว้ และ ก่อน ที่ จะ ทำ สัญญา โจทก์ บอก จำเลย ด้วย ว่า จะซื้อที่ดิน เพื่อ สร้าง โรงงาน ผลิต อาหาร กระป๋อง หลังจาก ทำ สัญญา แล้วต่อมา นาย หลอ บอก ว่า ที่ดินพิพาท เก็บเกี่ยว ข้าว เสร็จ แล้ว จึง นัด กัน ไป ดู ที่ดิน อีก เพื่อ เตรียม ถม ดิน ครั้งนี้ โจทก์ เห็น ที่ดินพิพาท มีหลักเขต ของ กรมชลประทาน ปัก อยู่ ทั่วไป เพื่อ สำรวจ เวนคืน สร้างคลอง ชลประทาน ตาม พระราชกฤษฎีกา กำหนด เขต ที่ดิน ใน บริเวณ ที่ ที่ จะ เวนคืน ฯเอกสาร หมาย จ. 5 ที่ดินพิพาท มี เนื้อที่ 32 ไร่ เศษ ถูก เวนคืน 24 ไร่จะ เหลือ เพียง 8 ไร่ เศษ ไม่พอ จะ สร้าง เป็น โรงงาน วันรุ่งขึ้น โจทก์ไป ต่อว่า จำเลย ว่า หลอก ขาย ที่ดิน จำเลย ตกลง จะ คืนเงิน ให้ แต่ จำเลยก็ ไม่ยอม คืน จำเลย ไม่มี พยาน มา สืบ หักล้าง พยานโจทก์ ข้อเท็จจริงจึง ฟังได้ ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า จำเลย ทราบ แล้ว ว่า โจทก์ ซื้อ ที่ดินพิพาทเพื่อ สร้าง โรงงาน ผลิต อาหาร กระป๋อง การ ที่ จำเลย ทำ สัญญาจะขาย ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ โดย จำเลย รู้ อยู่ ก่อน ว่า ที่ดินพิพาท จะ ถูก เวนคืน บางส่วนเพื่อ ขุด คลอง ชลประทาน แต่ จำเลย ก็ ไม่แจ้ง ความจริง ให้ โจทก์ ทราบการ ซื้อ ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ เป็น การแสดง เจตนา โดย สำคัญผิดใน คุณสมบัติ ของ ทรัพย์ ที่ จะซื้อ ซึ่ง ตาม ปกติ ถือว่า เป็น สาระสำคัญสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง โจทก์ และ จำเลย จึง เป็นโมฆียะ เมื่อ โจทก์ ได้ ไป ทวง เงิน คืน จาก จำเลย ซึ่ง ถือว่า ได้ บอกล้างโมฆียะ กรรม แล้ว สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท จึง เป็น โมฆะ มา แต่ แรกคู่สัญญา ต้อง กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม จำเลย ต้อง คืนเงิน มัดจำ ให้ แก่ โจทก์พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย และ ผล แห่ง คำวินิจฉัย นี้ เอง เมื่อ คู่สัญญา ต้องกลับคืน สู่ ฐานะ เดิม แล้ว โจทก์ ก็ ไม่มี อำนาจฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย ตาม ฟ้องจาก จำเลย ได้ เพราะ เป็น การ ขอให้ บังคับ ตาม ข้อตกลง ใน สัญญา ดังกล่าวที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 800,000 บาท แก่โจทก์ นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ฟังขึ้น บางส่วนคดี ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลย ข้อ อื่น อีก ต่อไป ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 270,000 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงินดังกล่าว นับแต่ วันที่ 23 กันยายน 2532 ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน 13,151.08 บาท ตาม ที่ โจทก์ ขอ

Share