คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่ศาลออกหมายอายัดชั่วคราวไปยังเจ้าพนักงานที่ดินและจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยทั้งสองโอนขายยักย้ายหรือจำหน่ายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา254(2)เป็นเพียงการสั่งห้ามชั่วคราวยังไม่มีกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเข้ามาอายัดที่ดินพิพาทไม่อยู่ในบังคับของตาราง5ที่โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีโจทก์จึงมีสิทธิถอนเงินประกันค่าเสียหายที่วางไว้ได้ทันทีเมื่อศาลมีคำสั่งถอนหมายอายัดชั่วคราวซึ่งมีผลเท่ากับถอนคำสั่งห้ามชั่วคราวแล้ว

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้องบังคับ จำเลย ทั้ง สอง ให้ ปฏิบัติ ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 4632 เนื้อที่ 352.9 ตารางวาราคา 74,109,000 บาท และ โจทก์ ยื่น คำร้องขอ คุ้มครอง ประโยชน์ใน ระหว่าง พิจารณา ศาลชั้นต้น อนุญาต และ ให้ โจทก์ วางเงิน ประกัน500,000 บาท ต่อมา คู่ความ ตกลง กัน ได้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ตาม สัญญาประนีประนอม ยอมความ ฉบับ ลงวันที่ 11 มีนาคม 2534 ให้ จำเลย ที่ 1โอน ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ และ โจทก์ จะ ต้อง ชำระ ค่าที่ดิน ให้ แก่จำเลย ที่ 1 เป็น เงิน 72,660,000 บาท กับ ชำระ ค่าเสียหาย ให้ อีก2,462,452 บาท ต่อมา โจทก์ ยื่น คำร้องขอ คืนเงิน ประกัน ค่าเสียหาย จำนวน500,000 บาท และ ขอ ชำระ ค่าธรรมเนียม ถอน การ อายัด ใน จำนวน เนื้อที่ดินที่ ถูก อายัด 47 ตารางวา ราคาประเมิน ตารางวา ละ 40,000 บาท และ ขอวางเงิน ค่า ถอน อายัด 18,800 บาท
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า ที่ดินพิพาท ซึ่ง โจทก์ ขอให้ อายัด ไว้ ก่อนมี คำพิพากษา มี ราคา 74,109,000 บาท ที่ ศาล มี คำสั่ง ไว้ เมื่อ วันที่ 1พฤษภาคม 2534 ผิดพลาด ไป ให้ยก เลิก คำสั่ง ดังกล่าว แล้ว มี คำสั่ง ใหม่ว่า ให้ โจทก์ ชำระ ค่าธรรมเนียม ถอน การ อายัด ร้อยละ 1 ของ ทุนทรัพย์74,109,000 บาท ก่อน แล้ว จึง จะ อนุญาต ให้ ถอนเงิน ที่ วาง ประกันค่าเสียหาย 500,000 บาท ให้
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ว่า โจทก์ จะ ต้อง เสีย ค่าธรรมเนียม ถอน การ อายัด อัตรา ร้อยละ 1 จาก ราคาที่ดิน เนื้อที่ 47 ตารางวา หรือ จาก ราคา ที่ดิน เนื้อที่ 352.9 ตารางวาและ โจทก์ มีสิทธิ ถอนเงิน ประกัน ค่าเสียหาย จำนวน 500,000 บาท ไป ได้ ทันทีโดย ไม่ต้อง ชำระ ค่าธรรมเนียม ถอน การ อายัด ก่อน ได้ หรือไม่ สำหรับ ฎีกาข้อ แรก ได้ความ ว่า โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 1 โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 4632เนื้อที่ 352.9 ตารางวา ราคา 74,109,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ใน ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ยื่น คำร้องขอ คุ้มครอง ประโยชน์ ชั่วคราว ก่อนพิพากษา ซึ่ง ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง อายัด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 4632 ไป ยังเจ้าพนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร สาขา พระโขนง เมื่อ วันที่ 27พฤศจิกายน 2533 และ ปรากฏว่า เมื่อ วันที่ 3 กรกฎาคม 2533 จำเลย ที่ 1ได้ นำ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 4632 ไป จดทะเบียน แบ่งแยก เป็น ที่ดิน แปลง ย่อยรวม 6 โฉนด โดย มี ชื่อ จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ทุก แปลงสำหรับ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 4632 คง มี เนื้อที่ เพียง 47 ตารางวา เท่านั้นเห็นว่า กรณี นี้ โจทก์ ขอ คุ้มครอง ชั่วคราว ก่อน พิพากษา ซึ่ง เป็น การ ขอให้ศาล มี คำสั่ง ห้าม ชั่วคราว มิให้ จำเลย ทั้ง สอง โอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่าย ที่ดินพิพาท ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2) ดังนั้น การ ที่ ศาลชั้นต้น ออกหมาย อายัด ชั่วคราว ลงวันที่27 พฤศจิกายน 2533 ไป ยัง เจ้าพนักงาน ที่ดิน และ จำเลย ทั้ง สอง จึง เป็นเพียง การ สั่ง ห้าม ชั่วคราว เท่านั้น ยัง ไม่มี กรณี ที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี เข้า มา อายัด ที่ดินพิพาท แต่ ประการใด ค่าธรรมเนียม ตาม ตาราง5 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็น ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงาน บังคับคดี เมื่อ คดี นี้ การ อายัด ของ ศาลชั้นต้น เป็น เพียงการ ห้าม ชั่วคราว เท่านั้น กรณี จึง ไม่อยู่ ใน บังคับ ของ ตาราง 5ที่ โจทก์ จะ ต้อง เสีย ค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงาน บังคับคดี เงิน ที่ โจทก์ชำระ ไว้ แล้ว จะ ต้อง คืน ให้ แก่ โจทก์ ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า โจทก์ มีสิทธิถอนเงิน ประกัน ค่าเสียหาย จำนวน 500,000 บาท ไป ได้ ทันที โดย ไม่ต้องชำระ ค่าธรรมเนียม ถอน การ อายัด ก่อน นั้น เห็นว่า กรณี นี้ โจทก์ ไม่ต้องเสีย ค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงาน บังคับคดี ตาม ตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์ จึง มีสิทธิ ถอนเงิน ประกันค่าเสียหาย จำนวน ดังกล่าว ได้ ทันที เมื่อ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ถอนหมายอายัด ชั่วคราว ซึ่ง มีผล เท่ากับ ถอน คำสั่ง ห้าม ชั่วคราว แล้ว ที่ศาลล่าง ทั้ง สอง สั่ง ให้ โจทก์ ชำระ ค่าธรรมเนียม ถอน การ อายัด ร้อยละ1 ของ ราคา ที่ดิน ที่ อายัด ก่อน แล้ว จึง จะ อนุญาต ให้ ถอนเงิน ประกันค่าเสียหาย นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ว่า ให้ คืน ค่าธรรมเนียม ที่ โจทก์ ชำระ ไว้ จำนวน18,800 บาท เงิน ประกัน ค่าเสียหาย จำนวน 500,000 บาท ให้ แก่ โจทก์

Share