คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พยานโจทก์ทั้งสี่ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองจำเลยที่1มาก่อนไม่มีเหตุที่จะเบิกความปรักปรำจำเลยที่1ทั้งเบิกความได้สอดคล้องเชื่อมโยงกันเชื่อได้ว่าพยานโจทก์ทั้งสี่เบิกความตามความเป็นจริงฟังได้ว่าจำเลยที่1เดินทางเข้ามาในประเทศไทยแล้วมาพักอยู่กับจำเลยที่2และที่3ตลอดจนไปไหนมาไหนด้วยกันโดยจำเลยที่1เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่าอาหารกับค่าบริการต่างๆให้จำเลยที่2และที่3ด้วยเป็นการชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่1เดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่2และที่3ตรงตามที่พยานโจทก์ได้ทราบจากสายลับก่อนแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน มี เฮโรอีน อันเป็น ยาเสพติดให้ โทษ ชนิด ร้ายแรง ใน ประเภท 1 คำนวณ เป็น สาร บริสุทธิ์ หนัก 1,380 กรัมไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ จำหน่าย และ พยายาม นำ ติดตัว ออก ไป นอก ราชอาณาจักรขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8,15, 65, 66, 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 91 และ ริบของกลางทั้งหมด
จำเลย ที่ 1 ให้การ ปฏิเสธ
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สาม มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15, 66 วรรคสองประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และ มาตรา 15, 65 วรรคสองประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 83 การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สามเป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้ โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15, 66 วรรคสอง ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ซึ่ง เป็น บทหนัก ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกตลอด ชีวิต จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 ประกอบ มาตรา 53 คง ให้ จำคุก จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 คน ละ 25 ปีริบ เฮโรอีน และ แถบ กาว พลาสติก ของกลาง
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ว่า เมื่อ วันที่ 13 กรกฎาคม 2534 จำเลย ที่ 1 ถูกจับ กุมพร้อม กับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ที่ ท่าอากาศยาน กรุงเทพ ข้อหา ร่วมกัน มีเฮโรอีน ไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ จำหน่าย และ พยายาม ส่งออก นอก ราชอาณาจักรปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 มี ว่า จำเลย ที่ 1 ได้กระทำผิด ตาม ฟ้อง หรือไม่ โจทก์ มี พัน ตำรวจ ตรี ชาตรี ไพศาลศิลป์ เป็น พยาน เบิกความ ว่า เมื่อ วันที่ 12 กรกฎาคม 2534 เวลา 8.30นาฬิกา พยาน ได้รับ แจ้ง จาก สาย ลับ ว่า มี ชาย ต้อง สงสัย เป็น ชาว จีน ฮ่องกงชื่อ นาย ฟุง แคมทู ซึ่ง เป็น จำเลย ที่ 1 จะ เดินทาง จาก เกาะฮ่องกง มา ยัง ประเทศ ไทย เที่ยวบิน ที่ ที จี 603 ถึง ท่าอากาศยาน กรุงเทพเวลา ประมาณ 10 นาฬิกา เพื่อ ควบคุม และ สั่งการ ผู้รับจ้าง ขน เฮโรอีนจาก ประเทศ ไทย เมื่อ ได้รับ แจ้ง แล้ว พยาน ได้ รายงาน ให้ ผู้บังคับบัญชาทราบ และ ได้รับ มอบหมาย ให้ สืบสวน คดี นี้ พยาน เดินทาง ไป ที่ ท่าอากาศยานกรุงเทพ ประสานงาน กับ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง พบ จำเลย ที่ 1เดินทาง จาก เกาะฮ่องกง มา ยัง ประเทศ ไทย จำเลย ที่ 1 มี กระเป๋าถือ แบบ หนี บ เพียง 1 ใบ แตกต่าง จาก ชาว ต่างประเทศ คนอื่น เพราะ ไม่มีกระเป๋า เดินทาง จำเลย ที่ 1 นั่ง รถแท็กซี่ จาก ท่าอากาศยาน กรุงเทพมา ถึง โรงแรม ไวท์ออร์คิด ที่ ถนน เยาวราช แล้ว จำเลย ที่ 1 ก็ เข้า โรงแรม ขึ้น ลิฟต์ โดย ไม่ได้ ติดต่อ กับ เจ้าหน้าที่ โรงแรม ก่อน หลังจากนั้น จำเลย ทั้ง สาม ออกจาก โรงแรม ขึ้น รถแท็กซี่ ไป ด้วยกัน จาก คำเบิกความ ของ พัน ตำรวจ ตรี ชาตรี นี้ แสดง ให้ เห็นว่า ก่อน ที่ จำเลย ที่ 1 จะ มา ประเทศ ไทย จำเลย ที่ 1 ต้อง ทราบ ล่วงหน้า มา ก่อน แล้ว ว่าจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ เข้า มา อยู่ ใน ประเทศ ไทย และ พัก อยู่ ในโรงแรม ดังกล่าว โดย ทราบ หมายเลข ห้องพัก ด้วย จำเลย ที่ 1 จึง ไป พบจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ถูกต้อง จ่าสิบตำรวจ สุชาติ บูชา พยานโจทก์ อีก ปาก หนึ่ง ก็ เบิกความ ว่า พยาน เป็น ผู้ติดตาม พฤติการณ์ ของ จำเลยทั้ง สาม ตั้งแต่ วันที่ 12 กรกฎาคม 2534 เวลา 15 นาฬิกา โดย ได้รับคำสั่ง ให้ ไป ติดตาม จำเลย ทั้ง สาม ที่ สี่แยก ราชประสงค์ พยาน เห็น จำเลย ทั้ง สาม เข้า ไป ใน ร้าน อาหาร ครัวลำภู แล้ว ขึ้น ไป ชั้นบน ซึ่ง เป็น สถาน นวด แผน โบราณ พยาน รอ ที่ บริเวณ หน้า ร้าน อาหาร นั้น ประมาณ 1 ชั่วโมงจำเลย ทั้ง สาม ก็ ออกจาก ร้าน อาหาร แล้ว ข้าม ถนน ไป ยัง ฝั่ง เวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ เพื่อ รอ เรียก รถยนต์ รับจ้าง พยาน ได้ ถ่าย ภาพ จำเลย ทั้ง สาม ไว้ ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 1 และ ได้ความ จาก พัน ตำรวจ ตรีว่า ใน วันเดียว กัน เวลา 20.30 นาฬิกา จำเลย ทั้ง สาม ออกจาก โรงแรมที่พัก ไป รับประทานอาหาร บริเวณ ใกล้ กับ โรงแรม โดย จำเลย ที่ 1 เป็นผู้จ่าย ค่า อาหาร หลังจาก นั้น จำเลย ทั้ง สาม ได้ ขึ้น รถแท็กซี่ ไป สถานอา บอบ นวด โมนาลีซ่า พัน ตำรวจ ตรี ชาตรี ได้ ตาม จำเลย ทั้ง สาม เข้า ไป เมื่อ เดิน ไป ที่ บริเวณ หน้า ตู้ แสดง หญิง บริการ เห็น จำเลย ที่ 1 จ่าย ค่าบริการ แทน จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ด้วย ประกอบ กับ วันที่ 13 เดือนเดียว กัน จำเลย ทั้ง สาม ออกจาก โรงแรม ที่พัก ไป ด้วยกัน เมื่อ ถึง ท่าอากาศยาน กรุงเทพ แล้ว จำเลย ทั้ง สาม ขึ้น ไป รับประทานอาหาร ที่ ชั้น 4ของ อาคาร ต่างประเทศ ซึ่ง จ่าสิบตำรวจ สุชาติ ได้ ถ่าย ภาพ จำเลย ทั้ง สาม ไว้ ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 2 จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ก็ เบิกความ ยอมรับว่า บุคคล ทั้ง สาม ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 1 เป็น จำเลย ทั้ง สาม ทั้ง ยัง ได้ความ จาก สิบตำรวจตรี สุรพล ชูใจ และ นางสาว มาลี ปันติ ผู้ช่วย ผู้จัดการ โรงแรม ไวท์ออร์คิด พยานโจทก์ อีก ว่า ได้ ตรวจค้น ห้อง หมายเลข 609 ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เข้า พัก หลังจาก จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3คืน ห้องพัก และ ยัง ไม่ได้ ทำ ความสะอาด แล้ว พบ ม้วน เทป กาว ใส จำนวน 1 ม้วนซึ่ง ใช้ แล้ว บางส่วน และ เศษ กระดาษกาว สี น้ำตาล จำนวน 3 ชิ้น ซึ่ง พัน ติดอยู่ กับ เทป กาว ใส โดย กระดาษกาว สี น้ำตาล และ เทป กาว ใส ดังกล่าว มีลักษณะ เช่นเดียว กับ ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ใช้ พัน เฮโรอีน ของกลางติดตัว พัน ตำรวจ ตรี ชาตรี จ่าสิบตำรวจ สุชาติ สิบตำรวจตรี สุรพล และ นางสาว มาลี พยานโจทก์ ทั้ง สี่ ไม่เคย มี สาเหตุ โกรธเคือง จำเลย ที่ 1มา ก่อน ไม่มี สาเหตุ ที่ จะ เบิกความ ปรักปรำ จำเลย ที่ 1 เชื่อ ได้ว่าพยานโจทก์ ทั้ง สี่ เบิกความ ตาม ความ เป็น จริง เชื่อ ได้ว่า จำเลย ที่ 1เดินทาง เข้า มา ใน ประเทศ ไทย แล้ว มา พัก อยู่ กับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ตลอดจน ไป ไหน มา ไหน ด้วยกัน โดย จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่ายค่า อาหาร กับ ค่าบริการ ต่าง ๆ ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ด้วย จึง เป็น การชี้ ให้ เห็นว่า จำเลย ที่ 1 เดินทาง เข้า มา ใน ประเทศ ไทย โดย มี วัตถุประสงค์ ร่วม กระทำผิด กับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ตรง ตาม ที่ พัน ตำรวจ ตรี ชาตรี ได้ ทราบ จาก สาย ลับ ก่อน แล้ว และ ข้อเท็จจริง ได้ความ อีก ว่า ระหว่าง ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เดิน ไป ที่ เคาน์เตอร์ เพื่อ ให้เจ้าหน้าที่สายการบิน ตรวจ ตั๋ว โดยสาร และ ออก บัตร เลขที่ นั่ง ที่ ท่าอากาศยาน กรุงเทพ นั้น จำเลย ที่ 1 เหลียว ซ้าย แลขวา คอย จับ ตา ดู ว่าจะ มี ผู้ใด สังเกตุดู จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 หรือไม่ แม้ ขณะที่ จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ยื่น ตั๋ว เครื่องบิน ให้ ตรวจ จำเลย ที่ 1 ยัง ยืน คุม เชิงคอย ดู เหตุการณ์ โดย เดิน ไป เดิน มา แต่ ก็ อยู่ ห่าง จาก จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 ประมาณ 5 ถึง 10 เมตร เท่านั้น ที่ จำเลย ที่ 1 อ้างว่าวันที่ ถูกจับ จำเลย ที่ 1 ไป ที่ ท่าอากาศยาน กรุงเทพ เพราะ จะ ขึ้นเครื่องบิน ไป เกาะ ฮ่องกง คน ละ สายการบิน กับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3จะ เดินทาง ไป เมือง ไทเป นั้น เห็นว่า เครื่องบิน ที่ จะ ไป เมือง ไทเป ออก เวลา 10.30 นาฬิกา ส่วน เครื่องบิน จะ ไป เกาะ ฮ่องกง ออก เวลา 10.40 นาฬิกา ไล่เลี่ย กับ เครื่องบิน ที่ จะ ไป เมือง ไทเป ฉะนั้น ขณะ ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 นำ ตั๋ว โดยสาร ไป ตรวจสอบ จำเลย ที่ 1 ก็ น่าจะ นำ ตั๋ว โดยสาร ของ จำเลย ที่ 1 ไป ตรวจสอบ ที่ เคาน์เตอร์ ตรวจ ตั๋วโดยสาร ของ สายการบิน ที่ จะ ไป เกาะ ฮ่องกง ไม่มี เหตุผล ที่ จะ ไป เดิน ดู จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จึง เป็น พิรุธ ไม่มี น้ำหนัก หักล้าง พยานหลักฐานของ โจทก์ ได้ พยานหลักฐาน โจทก์ สอดคล้อง เชื่อม โยง กัน มี น้ำหนักมั่นคง เชื่อ ได้ โดย ปราศจาก ข้อสงสัย ใด ๆ ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ร่วมกับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 กระทำผิด ตาม ฟ้อง ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่าการ สอบสวน คดี นี้ ไม่ชอบ เพราะ ไม่ได้ จัดหา ล่าม แปล ให้ จำเลย ทั้ง สามนั้น ก็ ปรากฏว่า พนักงานสอบสวน ได้ จัด ให้ นาย ธวัช เฟื่องสวัสดิ์ เป็น ล่าม แปล ภาษา จีน กวาง ตุ้งซึ่ง เป็น ภาษา ที่ ใช้ กัน ใน เกาะ ฮ่องกง โดย พนักงานสอบสวน ได้ แจ้ง ข้อหา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ทราบ นาย ธวัช เป็น ผู้ แปล ข้อกล่าวหา เป็น ภาษา จีน กวาง ตุ้งให้ จำเลย ทั้ง สาม ฟังเมื่อ จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ปฏิเสธ นาย ธวัช ก็ แปล เป็น ภาษา ไทย ให้ พนักงานสอบสวน บันทึก ไว้ ซึ่ง ใน ข้อ นี้ นาย ธวัช เฟื่องสวัสดิ์ ได้ มา เบิกความ เป็น พยานโจทก์ ยืนยัน การ เป็น ล่าม แปล ดังกล่าว ด้วยการ สอบสวน จึง ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share