แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เมื่อจำเลยให้การรับว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้โจทก์จำเลยจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คและที่จำเลยให้การว่ามิได้มอบเช็คเพื่อชำระหนี้เงินยืมเพราะให้โจทก์นำไปแลกเงินแล้วโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนโจทก์แลกเงินไม่ได้ก็ไม่คืนเช็คจำเลยไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทเพราะไม่มีมูลหนี้ต่อกันฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเอกสารใดๆที่จะนำมายันโจทก์อีกทั้งจำเลยยังได้ยืนยันไว้ในฎีกาด้วยว่าควรที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่จำต้องฟังพยานจำเลยคดีจึงไม่มีพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีตามป.วิ.พ.มาตรา87(2)การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพราะพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตจึงชอบแล้ว
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย เช็ค ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ลงวันที่ 31 มีนาคม 2533 จำนวนเงิน 500,000 บาท มอบ ให้ โจทก์ เพื่อ ชำระหนี้ เงิน ยืม เมื่อ เช็ค ถึง กำหนด เรียกเก็บเงินโจทก์ เรียกเก็บเงิน ตาม วิธีการ ของ ธนาคาร แต่ ธนาคาร ปฏิเสธ การใช้ เงิน ตามเช็ค ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน พร้อม ดอกเบี้ย รวม528,957 บาท และ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน500,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า ได้ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เป็น ผู้ กรอก รายการ ลง ใน เช็ค แล้ว เป็นผู้ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย ใน เช็ค จำเลย มอบ เช็ค ให้ โจทก์ แต่ มิได้มอบ เช็ค ให้ เพื่อ เป็น การ ชำระหนี้ เงิน ยืม เช็ค ดังกล่าว ไม่มี มูลหนี้เพราะ ขณะ จำเลย ออก เช็ค ให้ โจทก์ โจทก์ จำเลย เป็น สามี ภริยา ที่ไม่ได้ สมรส กัน ตาม กฎหมาย จำเลย ตกลง ให้ โจทก์ นำ เช็ค ไป แลก เงินแล้ว โจทก์ จะ ได้รับ ค่าตอบแทน หาก โจทก์ แลก เงิน ไม่ได้ ต้อง คืน เช็คให้ จำเลย เมื่อ จำเลย มอบ เช็ค ให้ โจทก์ แล้ว โจทก์ ไม่อาจ แลก เงินได้ตาม ที่ ตกลง กัน จน ระยะเวลา ล่วงเลย สำหรับ การ เรียกเก็บเงินตามเช็ค จำเลย ขอ เช็ค คืน แต่ โจทก์ ไม่คืน ให้ และ อ้างว่า ได้ ฉีก เช็คทิ้ง ไป แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง สืบพยานโจทก์ จำเลย ยื่น คำร้องขอ อนุญาต ยื่น บัญชีระบุพยาน เพราะ พ้น ระยะเวลา ที่ กฎหมาย กำหนด ศาลชั้นต้น สั่ง ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 500,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 4 พฤษภาคม 2533 จนกว่าได้ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ที่ จำเลย ฎีกา คำสั่ง ของศาลชั้นต้น ที่ ไม่อนุญาต ให้ จำเลย ยื่น บัญชีระบุพยาน โดย ขอให้ สั่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ที่ ว่า ถ้า ศาล เห็นว่าเพื่อ ประโยชน์ แห่ง ความยุติธรรม จำเป็น ต้อง สืบพยาน หลักฐาน อัน สำคัญซึ่ง เกี่ยวกับ ประเด็น ข้อสำคัญ ใน คดี โดย ฝ่าฝืน ต่อ บทบัญญัติ ของ อนุมาตรานี้ ให้ ศาล มีอำนาจ รับฟัง พยานหลักฐาน เช่นว่า นั้น ได้ ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อ จำเลย ให้การ รับ ว่า จำเลย เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ สั่งจ่ายเช็คพิพาท มอบ ให้ โจทก์ จำเลย จะ ต้อง รับผิด ตาม เนื้อความ ใน เช็คพิพาทเพราะ จำเลย สั่ง ธนาคาร ให้ ใช้ เงิน จำนวน หนึ่ง เมื่อ ทวงถาม ให้ แก่โจทก์ และ ที่ จำเลย ให้การ ว่า มิได้ มอบ เช็ค เพื่อ ชำระหนี้ เงิน ยืมเพราะ ให้ โจทก์ นำ ไป แลก เงิน แล้ว โจทก์ จะ ได้รับ ค่าตอบแทน โจทก์แลก เงิน ไม่ได้ ก็ ไม่คืน เช็ค จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ใช้ เงิน ตามเช็คพิพาท เพราะ ไม่มี มูลหนี้ ต่อ กัน ตาม ข้อต่อสู้ ดังกล่าว ของ จำเลยฟังได้ ว่า จำเลย ไม่มี เอกสาร ใด ๆ ที่ จะ นำ มา ยัน โจทก์ อีก ทั้ง จำเลยยัง ได้ ยืนยัน ไว้ ใน ฎีกา ด้วย ว่า ควร ที่ จะ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ โดยไม่จำต้อง ฟัง พยาน จำเลย แต่อย่างใด คดี จึง ไม่มี พยานหลักฐานอัน สำคัญ ซึ่ง เกี่ยวกับ ประเด็น ข้อสำคัญ ใน คดี ที่ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ไม่อนุญาต ให้ จำเลย ยื่น บัญชีระบุพยาน นั้น ชอบแล้วฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน