แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ในการ ชี้สองสถานศาล กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงสองข้อคือโจทก์มี อำนาจฟ้องหรือไม่และจำเลยสั่งลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของโจทก์หรือไม่โดยมิได้กำหนดเรื่องจำเลยขอยกเลิกการลงโฆษณาไว้หรือไม่เป็น ประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทถือว่าจำเลยได้ สละประเด็นข้อนี้แล้วทั้งประเด็นข้อที่ว่าจำเลยสั่งลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของโจทก์หรือไม่กับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยขอยกเลิกการลงโฆษณาแล้วหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่แยกต่างหากจากกันได้ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยได้สั่งลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของโจทก์หรือไม่ย่อมหมายความถึงว่าได้มีการยกเลิกการลงโฆษณาแล้วหรือไม่ด้วยแล้วหยิบยกขึ้นวินิจฉัยด้วยนั้นเป็นการ วินิจฉัยนอกประเด็น แม้คดีจะ ต้องห้ามฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อจำเลยให้การรับว่าได้สั่งลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์จริงดังที่โจทก์ฟ้องย่อมรับฟังได้โดยไม่ต้องฟังพยานหลักฐานอีกต่อไปจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ หนังสือพิมพ์ ราย สัปดาห์ ชื่อ ข่าวธุรกิจ จำเลย สั่ง ลง โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ ของ โจทก์ ฉบับ พิเศษ ชื่อ ผลิตภัณฑ์คุณภาพยอดเยี่ยม ประจำปี 2532 เป็น เงิน ค่า โฆษณา จำนวน 57,000 บาท โจทก์ ได้ ลง โฆษณา ให้ จำเลย แล้ว และ ได้ ทวงถาม จำเลยให้ ชำระ ค่า โฆษณา แต่ จำเลย ไม่ชำระ ขอ บังคับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน57,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ใช่ เจ้าของ หนังสือพิมพ์ ข่าวธุรกิจ จำเลย สั่ง ลง โฆษณา เพราะ โจทก์ แจ้ง ว่า หนังสือพิมพ์ ดังกล่าว จะ จัดทำโล่เกียรติยศ และ ใบ ประกาศ เกียรติคุณ ให้ แก่ จำเลย ต่อมา จำเลย ทราบ ว่าความจริง มิได้ มี การ ตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์ ของ สินค้า ว่า มี คุณภาพ ยอด เยี่ยมหรือไม่ อย่างไร แต่ เป็น วิธีการ จูงใจ ให้ จำเลย ไป ลง โฆษณา เท่านั้นจำเลย จึง ไม่ประสงค์ จะ ลง โฆษณา และ มี หนังสือ ถึง โจทก์ ขอ ยกเลิก การ ลงโฆษณา แล้ว จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิด ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน แต่ ไม่ ตัด สิทธิ โจทก์ ที่ จะ ฟ้อง เรียกค่าสินไหมทดแทน จาก จำเลย เป็น คดี ใหม่
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง จึง มีข้อ วินิจฉัย เฉพาะ ข้อกฎหมาย ที่ ว่า ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย นอกประเด็นข้อพิพาท หรือไม่ โจทก์ ฎีกา ว่า ศาลชั้นต้น ชี้สองสถาน กำหนด ประเด็นข้อพิพาท ไว้ เพียง สอง ข้อ คือ โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ และ จำเลยสั่ง ลง โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ ของ โจทก์ หรือไม่ จำเลย มิได้ โต้แย้งหรือ คัดค้าน ประเด็น ข้อพิพาท ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ไว้ ดังกล่าว จึง ต้องถือว่า คดี มี ประเด็น ข้อพิพาท เพียง สอง ข้อ ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์เห็นพ้อง ด้วย กับ ศาลชั้นต้น ที่ วินิจฉัย ว่า จำเลย สั่ง ลง โฆษณา ในหนังสือพิมพ์ ของ โจทก์ แต่ จำเลย ได้ ยกเลิก สัญญา ที่ ทำ กับ โจทก์ แล้วจึง เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็นข้อพิพาท นั้น พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่าจำเลย ให้การ รับ ว่า ได้ สั่ง ลง โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ ของ โจทก์ แต่ ได้ มีหนังสือ ยกเลิก การ ลง โฆษณา กับ โจทก์ แล้ว ที่ จำเลย ให้การ ดังกล่าวจึง มี ประเด็น ว่า จำเลย ได้ ยกเลิก การ ลง โฆษณา แล้ว หรือไม่ ด้วยแต่ ศาลชั้นต้น มิได้ กำหนด ประเด็น ข้อ นี้ ไว้ โดย จำเลย มิได้ โต้แย้งหรือ คัดค้าน ดังนี้ ถือว่า จำเลย ได้ สละ ประเด็น ข้อ นี้ จึง ไม่มี ประเด็นข้อ ที่ ว่า จำเลย ได้ ยกเลิก การ ลง โฆษณา แล้ว หรือไม่ ใน คดี นี้ ดังนั้นที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ประเด็น ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ไว้ ว่า จำเลยได้ สั่ง ลง โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ ของ โจทก์ หรือไม่ ย่อม หมายความ ถึง ว่าได้ มี การ สั่ง ยกเลิก การ ลง โฆษณา แล้ว หรือไม่ ด้วย จึง ไม่ต้อง ด้วยความเห็น ของ ศาลฎีกา เพราะ ข้อเท็จจริง ที่ ว่า จำเลย สั่ง ลง โฆษณาใน หนังสือพิมพ์ ของ โจทก์ หรือไม่ กับ ข้อเท็จจริง ที่ ว่า จำเลย ได้ ยกเลิกการ ลง โฆษณา แล้ว หรือไม่ เป็น ข้อเท็จจริง ที่ แยก ต่างหาก จาก กันดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ เห็นพ้อง ด้วย กับ ศาลชั้นต้น ที่ วินิจฉัย ว่าจำเลย มีสิทธิ ยกเลิก สัญญา ที่ ทำ ไว้ กับ โจทก์ ได้ โดย ถือว่า ไม่เป็น การวินิจฉัย นอกประเด็นข้อพิพาท นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกาเพราะ การ ที่ ศาลชั้นต้น จะ วินิจฉัย ว่า จำเลย มีสิทธิ ยกเลิก สัญญา ที่ ทำ ไว้กับ โจทก์ ได้ หรือไม่ ต้อง มี ประเด็น ที่ ว่า จำเลย ได้ ยกเลิก การ ลง โฆษณาแล้ว หรือไม่ เป็น สำคัญ ซึ่ง ประเด็น ข้อ นี้ ถือว่า ไม่มี ใน คดี เพราะจำเลย ได้ สละ แล้ว ดัง ได้ วินิจฉัย ข้างต้น ดังนี้ จึง ฟังได้ ว่าศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย นอกประเด็นข้อพิพาท ดัง ที่ โจทก์ ฎีกาฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น
ส่วน จำเลย จะ ต้อง ชำระ เงิน ให้ แก่ โจทก์ ตาม ฟ้อง หรือไม่ เห็นว่าแม้ คดี จะ ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง แต่เมื่อ จำเลย ให้การ รับ ว่าได้ สั่ง ลง โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ จริง ดัง ที่ โจทก์ ฟ้อง แล้ว ดังนี้จึง รับฟัง ได้ ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง โดย ไม่ต้อง ฟัง พยานหลักฐาน อีก ต่อไปคดี ฟังได้ ว่า จำเลย ได้ สั่ง ลง โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ ของ โจทก์ และโจทก์ ได้ ลง โฆษณา ให้ จำเลย ตาม ที่ จำเลย สั่ง ถูกต้อง ครบถ้วน แล้ว ตาม ฟ้องศาลฎีกา จึง มีอำนาจ พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์ ได้ ตาม ที่โจทก์ ฟ้อง ”
พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน 57,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วยดอกเบี้ย