แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่1ธันวาคม2523โจทก์ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271แม้โจทก์จะได้ร้องขอให้บังคับคดีและยึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดเมื่อวันที่22เมษายน2526ก็เป็นขั้นตอนของการดำเนินการบังคับคดีแต่เมื่อเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้และโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยจึงไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น ลูกหนี้ โจทก์ ตาม คำพิพากษา จำเลยไม่มี ทรัพย์สิน ที่ จะ ยึด มา ชำระหนี้ และ ได้ หลบหนี ไป จาก เคหสถานที่ เคย อยู่ ขอให้ มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลย เด็ดขาด และ พิพากษาให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัยชี้ขาด ข้อกฎหมาย เบื้องต้น ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ เมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม 2523โจทก์ นำยึด ทรัพย์ จำเลย ขายทอดตลาด เมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2526โจทก์ ได้รับ เงิน จาก การ ขายทอดตลาด หัก แล้ว จำเลย ยัง เป็น หนี้512,204.26 บาท หลังจาก นั้น โจทก์ มิได้ บังคับคดี จำเลย สำหรับหนี้ ที่ เหลือ นับแต่ วัน พิพากษา ถึง วันฟ้อง เกินกว่า 10 ปี แล้วโจทก์ บังคับ หนี้ ที่ เหลือ ต่อไป ไม่ได้ ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 271 โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ให้ จำเลย ล้มละลายพิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ยัง ไม่ขาดอายุความโจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้อง พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้นดำเนินการ พิจารณา ต่อไป
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้ ว่า ศาล ได้ มีคำพิพากษา ตามยอม ให้ จำเลย ชำระหนี้ แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม 2523แต่ จำเลย ไม่ชำระ หนี้ โจทก์ จึง ขอให้ บังคับคดี และ ยึดทรัพย์ จำเลย ออกขายทอดตลาด เมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2526 แต่ เงิน ที่ ได้ จาก การขายทอดตลาด ไม่พอ ชำระหนี้ โจทก์ จึง ฟ้อง ขอให้ จำเลย ล้มละลาย เป็น คดี นี้เมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2534
ใน ชั้นฎีกา คง มี ปัญหา วินิจฉัย เพียง ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ เป็น เจ้าหนี้ จำเลย ตาม คำพิพากษา ตามสัญญา ประนีประนอม ยอมความ แล้ว ไม่บังคับ ชำระหนี้ นั้น ให้ เสร็จสิ้นภายใน กำหนด 10 ปี หนี้ ดังกล่าว จึง ระงับ ไป จำเลย ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ย่อม หลุดพ้น จาก หนี้ นั้น แล้ว โจทก์ จะ นำ หนี้ ดังกล่าว มา ฟ้อง เป็น คดีอีก ไม่ได้ อีก ทั้ง การ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ล้มละลาย คดี นี้ เป็น การ เอา หนี้ตาม คำพิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ซึ่ง ถึงที่สุด แล้ว มา ฟ้องบังคับ จำเลย ให้ ชำระหนี้ อีก จึง เป็น ฟ้องซ้ำ นั้น ศาลฎีกา พิจารณา แล้วเห็นว่า เมื่อ ศาลชั้นต้น ได้ พิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความให้ จำเลย ชำระหนี้ แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม 2523 โจทก์ ชอบที่ จะ ร้องขอ ให้ บังคับคดี แก่ จำเลย ภายใน สิบ ปี นับแต่ วันที่ 1 ธันวาคม2523 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แม้ ข้อเท็จจริงจะ ปรากฏว่า โจทก์ ได้ ร้องขอ ให้ บังคับคดี และ ยึดทรัพย์ ของ จำเลย ออกขายทอดตลาด เมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2526 ก็ ตาม ก็ เป็น ขั้นตอน ของการ ดำเนินการ บังคับคดี เมื่อ หนี้ ที่ โจทก์ นำ มา ฟ้องคดี นี้ โจทก์ มิได้ดำเนินการ บังคับคดี เสีย ภายใน สิบ ปี นับแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2523อันเป็น วันที่ ศาล มี คำพิพากษา โจทก์ ย่อม หมด สิทธิ ที่ จะ บังคับคดีแก่ จำเลย โจทก์ จึง ไม่อาจ นำ หนี้ ที่ พ้น กำหนด เวลา บังคับคดี ดังกล่าวแล้ว มา ฟ้อง จำเลย ให้ ล้มละลาย ได้ ฎีกา จำเลย ฟังขึ้น ไม่จำต้อง วินิจฉัยปัญหา อื่น ตาม ฎีกา จำเลย อีก ต่อไป ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา มา นั้นศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย “พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง